10 ภาพลวงที่คุณไม่ควรเชื่อสายตาตัวเอง

10 ภาพลวงที่คุณไม่ควรเชื่อสายตาตัวเอง


























  “อย่าเชื่อในสิ่งที่ตาเห็น" เป็นคำอธิบายดีที่สุดสำหรับ 10 "ภาพลวงตา" ที่ไซแอนทิฟิกอเมริกันคัดมานำเสนอจากภาพดีที่สุด 169 ภาพ
       












       ความสว่างและสีสันมีผลอย่างมากต่อการรับรู้ สำหรับภาพนี้สร้างขึ้นโดย เอ็ดวาร์ด เอช.อเดลสัน (Edward H. Adelson) จากสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเสตต์ส (Massachusetts Institute of Technology) ซึ่งสี่เหลี่ยม A และ B เป็นสีเทาเฉดเดียวกัน แต่หากใครไม่เชื่อสามารถปริ้นท์นี้ออกมา แล้วตัดสี่เหลี่ยมทั้งสองมาเทียบเฉดสีกันได้ เหตุที่เราเห็นเฉดสีสี่เหลี่ยมทั้งสองต่างกัน เพราะสมองของเราไม่ได้รับรู้ความสว่างและสีที่แท้จริงของสี่เหลียมแต่ละอัน หากแต่เราประเมินความสว่างและสีของสี่เหลี่ยม A และ B จากการเปรียบเทียบกับสี่เหลี่ยมอื่นที่อยู่รอบๆ











       ภาพหอเอียงเป็นหนึ่งในภาพลวงตาอย่างง่ายๆ และเป็นหนึ่งในภาพที่ทำให้เราเข้าใจเรื่องการรับรู้ความลึกได้มากที่สุด โดยเมื่อ 3 ปีที่แล้ว เฟรเดอริก คิงดอม (Frederick Kingdom) อาลี ยูนเนสซี (Ali Yoonessi) และ เอลีนา เจออร์กิว (Elena Gheorghiu) จากมหาวิทยาลัยแมคกิลล์ (McGill University) สังเกตว่าภาพหอเอนเมืองปิซาที่เหมือนกันทุกกระเบียดนั้น ดูคล้ายเอนในมุมที่แตกต่างกัน ที่เราเห็นเช่นนี้ เพราะหอเอนในสองภาพไม่เอนเข้าหากันและไม่เอนห่างออกจากกัน สมองจึงเกิดการรับรู้ที่ผิดพลาดว่า หอเอนทั้งสองไม่ขนานกันและกำลังแยกห่างจากกัน











       เมื่อเราจ้องไปที่ภาพนี้ เส้นประสาทที่จอเรตินาจะปรับเข้ากับสิ่งกระตุ้นที่ไม่เปลี่ยนแปลงนี้และจะหยุดตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้น หากเราเบือนสายตาไปที่อื่นเรายังจะได้เห็นภาพหัวกะโหลกไปสักพัก ก่อนที่เส้นประสาทของจอเรตินาจะเปลี่ยนไปตอบสนองต่อสภาวะกระตุ้นใหม่ ทั้งนี้ลองจ้องที่ตัว x ตรงดวงตาขวาของหัวกะโหลกนาน 30 วินาที แล้วมองไปที่กระดาษเปล่าหรือผนังว่างๆ เราจะเห็นภาพหัวกะโหลกปรากฏขึ้น











       บางครั้งเรามองเห็นสีที่ไม่ได้ปรากฏอยู่ อย่างภาพนี้บริเวณที่กากบาทเล็กๆ สีสันต่างๆ ปรากฏเหมือนมีสีสันกระจายรอบๆ ที่ว่างซึ่งกากบาทตัดกัน เป็นปรากฏการณ์ที่รู้จักว่า "การกระจายสีนีออน" เพราะคล้ายกับเปล่งแสงของนีออน ซึ่งมีการรายงานการค้นพบนี้โดย ดาริโอ วาริน (Dario Varin) จากมหาวิทยาลัยมิลาน (University of Milan) อิตาลี เมื่อปี 1971 และมีการค้นพบอีกครั้งหลังจากนั้นไม่กี่ปีโดย แฮร์รี วาน ทุยจ์ล (Harrie van Tuijl) จากมหาวิทยาลัยนิจเมเกน (University of Nijmegen) เนเธอร์แลนด์ แต่สาเหตุโดยธรรมชาตินั้นยังเป็นที่ทราบ











       สมองของเราถูกปรับให้รับรู้ ระลึกและจดจำใบหน้าไปอย่างประหลาด จากการศึกษาภาพที่บ่งบอกเพศของ ริชาร์ด รัสเซลล์ (Richard Russell) นักจิตวิทยาจากมหาวิทยาลัยเกตตีเบิร์ก (Gettysburg College) นั้น ภาพใบหน้าด้านซ้ายถูกรับรู้ว่าเป็นภาพของผู้หญิง ขณะที่ภาพด้านขวาถูกรับรู้ว่าเป็นภาพของผู้าย ทั้งๆ ที่สองภาพนี้เหมือนกัน ยกเว้นการปรับความต่างของแสงระหว่างตาและปาก และส่วนอื่นของภาพหน้าด้านขวาที่เข้มกว่าภาพหน้าด้านซ้าย ภาพนี้แสดงให้เห็นว่าความต่างของแสงมีความสำคัญต่อการตีความเพศบนใบหน้า และอาจจะอธิบายได้ว่าเหตุใดเครื่องสำอางจึงทำให้ผู้หญิงดูเป็นหญิงมากขึ้น











       ในฐานะที่เป็นสัตว์สังคมมนุษย์มีความสนใจจดจ่อต่อจุดที่คนอื่นกำลังมอง ปวัน สิงห์ (Pawan Sinha) นักวิจัยด้านการมองจากสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเสตต์ส (Massachusetts Institute of Technology) แสดงให้เราเห็นด้วยภาพนี้ว่า สมองของเราประเมินทิศทางการจ้องมองจากการเปรียบส่วนที่มืดของดวงตา ซึ่งเป็นม่านตาและตาดำกับส่วนที่เป็นสีขาวของดวงตา ในภาพซ้ายซึ่งเป็นสีปกติเราเห็นชายในภาพมองไปด้านซ้ายของเขาเอง แต่อีกภาพที่ปรับสีตรงกันข้าม เราเห็นเขามองในทิศทางตรงกันข้าม แม้ว่าหน้าเขาจะหันไปทางซ้ายของเขาเองก็ตาม ถึงเราทราบว่าท่านม่านตาของภาพขวานั้นคือตาขาวจากการกลับสีของภาพ แต่เราก็ไม่อาจเปลี่ยนแปลงการรับรู้ของเราได้











       วิธีที่เรามองสิ่งต่างๆ นั้นขึ้นอยู่กับกรอบความคิดของเรา ในภาพ "ข้อความรักจากโลมา" นี้ หากให้ผู้ใหญ่มอง เขาจะเห็นคู่รักเปลือยกอดกันอย่างรักใคร่ แต่หากให้เด็กๆ มองแล้วพวกเขาจะเห็นแต่โลมาเท่านั้น











       ศิลปะ "ออพอาร์ต" (op art) เป็นภาพเคลื่อนไหวของโครงสร้างที่หยุดนิ่ง ซึ่งทำให้เกิดการรับรู้ของการเคลื่อนไหว ในภาพนี้เป็นภาพ "อินิกมา" (Enigma) อันโด่งดังของ อิเซีย เลอเวียงท์ (Isia Léviant) ศิลปินฝรั่งเศส ซึ่งถูกนำมาตีความอีกครั้งโดย จอร์จ โอเตอโร-มิลลัน (Jorge Otero-Millan) นักประสาทวิทยาและวิศวกรจากสถาบันประสาทวิทยาแบร์โรว์ (Barrow Neurological Institute) ในฟีนิกซ์ สหรัฐฯ ซึ่งวงแหวนสีเขียวเหมือนกำลังเคลื่อนที่อย่างรวดเร็ว ราวกับรถยนต์เล็กๆ นับล้านกำลังขับเลี้ยวหักศอก การเคลื่อนไหวของดวงตาอย่างรวดเร็วนี้ซึ่งเรียกว่า "ไมโครแซคเคดส" (microsaccades) นี้ตอบสนองกับภาพนี้











       ภาพที่ไม้น่าจะเป็นไปได้อย่างภาพสามเหลี่ยม "เพนโรส" (Penrose) นี้ให้ภาพ 3 มิติที่ฝืนกฎของธรรมชาติ โดยแต่ละมุมของสามเหลี่ยมดูน่าจะเป็นจริง ดังนั้นสมองจึงยอมรับวัตถุนี้ทั้งหมด แม้จะไม่สามารถเป็นจริงได้
       
       อยางไรก็ดี เบรน แมคเกย์ (Brian McKay) ศิลปินรายหนึ่งได้สร้างสามเหลี่ยมที่ไม่น่าจะมีอยู่จริงที่ว่านี้ขึ้นมา ณ เมืองเพิร์ธ ออสเตรเลีย ด้วยความร่วมมือกับอาหมัด อาบัส (Ahmad Abas) ซึ่งเป็นสถาปนิก แต่มีบางมุมเท่านั้นที่จะมองเห็นสถาปัตยกรรมนี้เป็นรูปสามเหลี่ยม











       สมองของเรานั้นค่อยพัฒนาให้ตรวจตราสิ่งต่างๆ ได้รวดเร็วซึ่งมีความสำคัญต่อการอยู่รอด ในภาพ "ฟูดสเคป" (foodscape) ที่สร้างขึ้นโดยคาร์ล วอร์เนอร์ (Carl Warner) นั้น มีเนื้อและขนมปังที่กระตุ้นวงจรในสมองของเราให้ระลึกถึงอาหาร ขณะเดียวกันก็นึกถึงภูมิทัศน์อื่นๆ เ่น ต้นไม้ถนน และสิ่งก่อสร้าง เป็นต้น
       
       ยังมีภาพลวงตาที่น่าทึ่งรวม 169 ภาพที่ไซแนทิฟิกอเมริกันรวบรวมไว้ในวารสาร "มายด์" (MIND) ในฉบับพิเศษ "169 สุดยอดภาพลวงตา" (169 Best Illusions)










เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์