ข้อข้องใจ "กฏอัยการศึก"

กฎอัยการ หรือ กฎพระอัยการ คือกฎหมาย


ศึก แปลว่า สงคราม หรือภาวะสงคราม

กฎอัยการศึก จึงแปลว่า กฎหมายยามศึกหรือกฎหมายในภาวะสงคราม เป็นมาตรการทางกฎหมายอย่างหนึ่งของทหาร และเป็นกฎหมายที่เวลาปกติมีอยู่แต่ไม่ได้ใช้บังคับ เวลาจะใช้ต้องประกาศและกำหนดเขตพื้นที่ที่จะใช้ เป็นพื้นที่ใช้กฎอัยการศึก

กฎอัยการศึก


เป็นสิ่งสากลจำเป็นสำหรับทหารในประเทศ เมื่อประกาศใช้เหนือเขตพื้นที่ใดเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารจะมีอำนาจเหนือเจ้าหน้าที่ฝ่ายพลเรือนในบางเรื่องที่กำหนด ประชาชนต้องถูกรอนสิทธิ์เสรีภาพในบางเรื่อง จึงเป็นกฎหมายที่ถูกรังเกียจ แต่จำเป็นต้องใช้ในการรักษาชาติประเทศให้อยู่รอดในภาวะวิกฤต


บางประเทศไม่มีเป็นลายลักษณ์อักษร เช่น อังกฤษ สหรัฐอเมริกา แต่บางประเทศก็ยอมรับและตราเป็นลายลักษณ์อักษรโดยเปิดเผย เช่น ฝรั่งเศส ไทย

พระราชบัญญัติกฎอัยการศึก พุทธศักราช 2457 ฉบับนี้ ใช้อยู่จนปัจจุบัน มีสาระสำคัญ คือ

1.การประกาศกฎอัยการศึก


จะเป็นไปโดยพระบรมราชโองการ หรือผู้บังคับบัญชาทหารที่มีกำลังอยู่


ใต้บังคับบัญชา ไม่น้อยกว่า 1 กองพัน ประกาศใช้ก็ได้ แต่การยกเลิกใช้กฎอัยการศึกจะเป็นไปได้ต่อเมื่อมีพระบรมราชโองการประกาศเลิกใช้เท่านั้น

2.ในเขตที่ประกาศใช้กฎอัยการศึกษา


ให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารมีอำนาจเหนือเจ้าหน้าที่ฝ่ายพลเรือน


ในส่วนที่เกี่ยวกับการยุทธ การระงับปราบปราม หรือการรักษาความสงบเรียบร้อย และเจ้าหน้าที่ฝ่ายพลเรือนต้องปฎิบัติตามความต้องการของเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหาร(มาตรา6)

3.เมื่อประกาศใช้กฎอัยการศึกในตำบลใด


เมืองใด มณฑลใด เจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารมีอำนาจเต็มที่จะ ตรวจค้น ที่จะเกณฑ์ ที่จะห้าม ที่จะยึด ที่จะเข้าอาศัย ที่จะทำลายหรือเปลี่ยนแปลงสถานที่ และที่จะขับไล่ (มาตรา8)



4.ความเสียหายที่จะเกิดขึ้นอย่างหนึ่งอย่างใด


ในเรื่องอำนาจที่เจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารตามข้อ3. บุคคล หรือบริษัทใดจะร้องขอค่าเสียหายหรือค่าปรับอย่างหนึ่งอย่างใดแก่เจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารไม่ได้เลย(มาตรา 16)



"มาตรา 222 พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจในการประกาศใช้และเลิกใช้กฎอัยการศึกตามลักษณะและวิธีการตามกฎหมายว่าด้วยกฎอัยการศึก"



ในกรณีที่มีความจำเป็นต้องประกาศใช้กฎอัยการศึกเฉพาะแห่งเป็นการรีบด่วน เจ้าหน้าที่ ฝ่ายทหารย่อมกระทำได้ตามกฎหมายว่าด้วยกฎอัยการศึก"


เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์