ดนตรีไทยมีคุณอดุลย์ค่า








zansab philharmonic orchestra

The image “http://baannapleangthai.com/57/images/57-03_clip_image002.jpg” cannot be displayed, because it contains errors.

The image “http://sport.teenee.com/sport/imr0/1274328.jpg” cannot be displayed, because it contains errors.

สี่แผ่นดิน เป็นเพลงประกอบละครจากบทประพันธ์ ของ  ศ. พลตรี  ม.ร.ว.  คึกฤทธิ์  ปราโมช ที่กำกับการแสดงโดย  มล. พันธุ์เทวนพ  เทวกุล(หม่อมน้อย) ประกอบด้วยนักดนตรี ดังต่อไปนี้

๑  ชัยภัค  ภัทรจินดา  ตำแหน่ง :-  ซออู้ ซอด้วง และ ขิม ประวัติและผลงาน เครื่องดนตรีชิ้นแรก คือ ขิม และ ซอด้วง

                พ.ศ. ๒๕๒๔ ได้รับรางวัลชนะเลิศประเภทขิมและวง  ในนามวงขิงโรงเรียนวชิราวุธฯ จากการประกวดดนตรีไทยภาคใต้ครั้งที่ ๒

                พ.ศ. ๒๕๒๖ ได้รับรางวัลชนะเลิศบรรเลงซอด้วงและประเภทวงทุกเครื่องมือ ในนามวง “กอไผ่” จากการประกวดดนตรีไทยเพื่อความมั่นคง

                พ.ศ. ๒๕๓๑ ได้รับรางวัลชนะเลิศ จากการประกวดดนตรีโฟล์คซองของสยามกรการ

งานร่วมบรรเลงกับศิลปินอื่น อาทิเช่น งานร่มสมัยชุด อุบะมาลี, วงกอไผ่(ทุกชุด) งานประพันธ์เพลงประกอบภาพยนตร์ เรื่อง ขุนแผน, สุริโยทัย,  ๑๕ค่ำเดือน๑๑,  โหมโรง ฯลฯ ประพันธ์เพลงประกอบละครต่างต่าง

เป็นนักดนตรีรับเชิญ : วงฟองน้ำ,  BSO, อ. ธนิสน์  ศรีกลิ่นดี, Zansab Philharmonic Orchestra,     เอกรงค์

 เพลงหวานวันวาน Nostalgia (ความคิดถึงบุคคลหรือสถานการณ์ต่างๆที่ล่วงมาแล้ว)ผลงานอีกหนึ่งชุดจาก ค่าย“แสนแสบ”(www.zansab.com) โดย ซุปเปอร์หมู ชุดนี้เป็นผลงานต่อจากชุด “สี่แผ่นดิน” หากท่านประทับใจในน้ำเสียงของ คุณ ดวงพร  ผาสุก จากเพลง “ลาวคำหอม” ใน CD ชุด  “สี่แผ่นดิน” คราวนี้นี้จะได้รับฟังเสียงของเธออย่างเต็มอิ่ม จาก CD ชุดนี้ เพลงไทยที่บรรพบุรุษเราบรรจงสร้างสรรค์ตกทอดมาถึงเราในเวลานี้มีความไพเราะทั้งภาษาและท่วงทำนองเหมาะสมกับการฟังเพื่อผ่อนคลาย เมืองไทยอากาศร้อนครับ ฟังเพลงแล้วหลับก็ถือว่าเป็นการผ่อนคลายก็แล้วกัน นักร้องท่านนี้ก็หน้าตาน่ารักและยังศึกษาอยู่ที่ คณะ คุรุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เสียงน้องเขาไพเราะจริงจริงครับ

๑ เขมรไทรโยค ผลงานของสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์(พ.ศ. ๒๔๐๖-๒๔๙๐) พระน้องยาเธอในสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ เพลงนี้ทรงพระนิพนธ์ไว้เมื่อคราวตามเสด็จรัชกาลที่ ๕ ไปตำบลไทรโยค ครั้งที่ ๒ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๑ ทรงเล่าถึงความงามของป่าเขาลำเนาไพรผ่านบทเพลงอันแสนไพเราะให้ผู้รับฟังได้ซาบซึ้งกับธรรมชาติ ณ ที่นั้น ไม่ว่าจะผ่านมานานแล้วสักเพียงใดความไพเราะของเพลงนี่ก็ยังคงอยู่

117 ปี เพลงเขมรไทรโยค                                                                                                     

ในบรรดาเพลงไทยเดิมที่เป็นอมตะ มีเนื้อร้องบรรยายถึงสถานที่ท่องเที่ยวเป็นเพลงแรกของไทย นั่นก็คือ "เพลงเขมรไทรโยค" ซึ่งในวันที่ 20 กันยายน 2548 ที่ผ่านมามีอายุครบ 117 ปี

เพลงเขมรไทรโยค ประพันธ์โดยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ซึ่งได้เคยตามเสด็จประพาสไทรโยคกับพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ที่โปรดเสด็จประพาสต้นที่เมืองกาญจนบุรีถึง 4 ครั้ง (ไม่นับรวมที่ตามเสด็จพระราชบิดาเมื่อปี พ.ศ.2408) ทำให้เกิดบทพระราชนิพนธ์ "ประพาสไทรโยค" ที่ได้ทรงบรรยายถึงการเดินทางมายังน้ำตกไทรโยคที่เมืองกาญจนบุรี

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ เสด็จพระราชดำเนินประพาสต้นมาเมืองกาญจนบุรีครั้งแรก ในปี พ.ศ.2416 โดยเรือกลไฟทางทะเลไปเมืองราชบุรี แล้วเสด็จทางชลมารคไปลงเรือพระที่นั่งที่ท่าสะคร้อ

เสด็จมายังเมืองกาญจนบุรี ครั้งที่ 2 ในปี พ.ศ.2420 เสด็จทางชลมารคไปตามลำน้ำแควน้อย แล้วเสด็จมาประทับที่เมืองราชบุรีในครั้งนี้ที่สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ได้ติดตามมาด้วย ขณะที่มีพระชนมพรรษาเพียง 14 พรรษา ด้วยทรงมีนิสัยโปรดทางดนตรีปี่พาทย์ ได้นำเอาผืนระนาดม้วนใส่เรือไปด้วยเวลามีพระประสงค์จะทรงตี ก็คลี่ผืนระนาดผูกกับกราบเรือแทนรางระนาด ไม่ว่าขึ้นพักที่ใดมีเวลาว่างก็ทรงตีระนาดเสมอ จนสมเด็จพระบรมวงศ์เธอ กรมขุนพิทยาลาภพฤติธาดา ซึ่งประทับอยู่เรือลำเดียวกัน รับสั่งบ่นว่า "องค์จิตรนี้แหละตีระนาดหนวกหูพิลึก"

จากการตามเสด็จในครั้งนี้ ได้ชมความงามตามธรรมชาติของเมืองกาญจนบุรี โดยเฉพาะลำน้ำแควน้อยซึ่งไหลคดเคี้ยวสภาพสองฝั่งลำน้ำมีสภาพเป็นป่าที่อุดมสมบูรณ์ มีน้ำที่ใสไหลเย็น มีเกาะแก่ง เรี่ยว โขดหิน ภูเขาที่สลับซับซ้อน และน้ำตก รวมทั้งสิงสาราสัตว์นานาชนิด โดยเฉพาะนกยูงและนกต่างๆ ส่งเสียงร้องก้องป่าในยามวิกล

อีกทั้งมีอากาศที่เย็นสบายชื่นใจทำให้ผู้ตามเสด็จประทับใจที่ได้มีโอกาสมาเยือนกาญจนบุรี

ต่อมาในเดือนกันยายน พ.ศ.2431 สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยาภาณุพันธุ์วงศ์วรเดช ผู้บัญชาการกรมยุทธนาธิการ ทรงจัดให้มีการรื่นเริงถวายเนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในงานนี้จะมีการบรรเลงเพลงต่อหน้าพระพักตร์โดยวงดุริยางค์ทหารที่เพิ่งจัดตั้งขึ้นใหม่ มีเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ รับทำหน้าที่อำนวยการเพลงทั้งหมด

กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ฯ ทราบว่าในปลายปี พ.ศ.2431 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯจะเสด็จประพาสไทรโยคที่กาญจนบุรีอีก จึงทรงพระนิพนธ์เพลงขึ้นมาใหม่ มีบทร้องเกี่ยวกับสภาพความงามตามธรรมชาติของลำน้ำแควน้อยและน้ำตกไทรโยค ที่พระองค์ได้เคยตามเสด็จ ได้ปรับปรุงทำนองจากเพลงเขมรกล่อมลูก มีการใส่เนื้อร้องและดนตรีใหม่ เพลงเขมรกล่อมลูกเป็นเพลงไทยเดิม เป็นเพลง 2 ชั้น ทรงขยายเป็น 3 ชั้น ปรับปรุงวงมโหรีโดยเพิ่มซอฝรั่งผสม มีผู้ขับร้องทั้งชายหญิงแต่ยังคงเรียกว่าเพลงเขมรกล่อมลูกเหมือนเดิมเพลงนี้ได้บรรเลงเป็นครั้งแรกในพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2431 เป็นที่พอพระราชหฤทัยและได้รับความนิยมจากผู้ที่ได้รับฟังมีความประทับใจมาก จากการที่ได้ฟังเนื้อร้องที่กล่าวถึงความงามตามธรรมชาติของน้ำตกไทรโยค ทำให้ข้าราชบริพารในราชสำนักยิ่งเกิดอยากจะตามเสด็จกันมากขึ้น

ต่อมาเพลงเขมรไทรโยคนี้ ได้รับแก้ไขเปลี่ยนแปลงทำนองจังหวะจากต้นฉบับเดิมหลายครั้ง มีผู้นำไปเป็นเพลงประกอบละครหลายเรื่อง อาจารย์มนตรี ตราโมช ได้นำไปบันทึกแผ่นเสียงราว ปี พ.ศ.2492
และหลวงประดิษฐ์ไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) ได้นำมาดัดแปลงใหม่จนเป็นเพลงเขมรไทรโยคที่เราได้รับฟังกันมาจนปัจจุบันนี้

น้ำตกไทรโยค ปัจจุบันมีชื่อเรียกว่า "น้ำตกไทรโยคใหญ่" เป็นน้ำตกแห่งเดียวที่มีน้ำตกไหลลงสู่แม่น้ำ คือแม่น้ำแควน้อย ที่มีต้นกำเนิดมาจากเทือกเขาชายแดนไทย-พม่า ตั้งอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติไทรโยค อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี
            เดิมน้ำตกนี้เรียกว่า "น้ำโจน" เพราะมีน้ำตกหรือกระโจนลงมาจากหน้าผาลงสู่แม่น้ำ พบหลายแห่งตามริมลำน้ำแควน้อย แต่บริเวณนี้มีโขดหินหน้าผา และมีทางน้ำซึ่งต้นน้ำไหลมาจากใต้ดินบริเวณอุทยานแห่งชาติเอราวัณ โผล่ทะลุขึ้นในบริเวณถ้ำแก้ว ที่อยู่เหนือน้ำตกประมาณ 200 เมตร แล้วไหลลงมาตรงบริเวณน้ำตกเป็นชั้นๆ มีความสูงประมาณ 8 เมตรทำให้เกิดความสวยงาม โดยเฉพาะสามารถลงเล่นน้ำในแม่น้ำแควน้อยบริเวณหน้าน้ำตกได้ หรือสามารถล่องเรือล่องแพผ่าน จะเห็นน้ำตกบริเวณด้านหน้าอย่างชัดเจน

เพื่อไม่ให้คนไทยหลงลืมการเสด็จประพาสต้นของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ และเพลงเขมรไทรโยคเพลงอมตะ บริเวณนี้น่าจะมีการปรับภูมิทัศน์ให้สวยงาม จัดสร้างอนุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ หรืออนุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ และการบรรเลงเพลงเขมรไทรโยคโดยเจ้าฟ้าฯ นักอนุรักษ์มรดกไทย แม้กระทั่งการประกวดดนตรีไทย ฯลฯ จะทำให้คนไทยประทับใจไปอีกนานแสนนาน
เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ที่ยั่งยืนโดยที่จะไม่ลืมน้ำตกไทรโยคที่กาญจนบุรี

เพลงเขมรไทรโยค

(ได้มีการแก้ไขดัดแปลง ถ้อยคำในบทร้องบางคำ เป็นที่นิยมกันมาจนทุกวันนี้)

บรรยายความตามไท้เสด็จยาตร ยังไทรโยคประพาสพนาสณฑ์
น้องเอย เจ้าไม่เคยเห็น
ไม้ไล่หลายพันธุ์คละขึ้นปะปน ที่ชายชลเขาชะโงกเป็นโตรกธาร
น้ำพุพุ่งซ่า ไหล่ฉ่าฉาดฉาน
เห็นตระการ มันไหลจ้อกจ้อกโครมโครม
มันดังจ้อกจ้อก จ้อกจ้อกโครมโครม
น้ำใสไหลจนดูหมู่มัศยา กี่เหล่าหลายว่ายมาก็เห็นโฉม
น้อยเอย เจ้าไม่เคยเห็น
ยินปักษาซ้องเสียงเพียงประโคม เมื่อยามเย็นพลับโพยมร้องเรียกรัง
เสียงนกยูงทอง มันร้องโด่งดัง
หูเราฟัง มันดังกระโต๊งห่ง
มันดังก้อกก้อก ก้อกก้อกกระโต๊งห่ง

โดย วรวุธ สุวรรณฤทธิ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี

๒ ลาวเสียงเทียน เป็นเพลงอัตรา ๒ ชั้น ทำนองเก่าสำเนียงลาว ประเภทหน้าทับสองไม้ไม่ทราบนามผู้แต่งทำนอง มีเพียงท่อนเคียว ไม่มีชื่ออยู่ในเพลงลูกบท(ลูกหมด ออกลูกหมด-เพลงสั้นๆใช้บรรเลงต่อท้ายเพลงใหญ่) ต่อมาในสมัยรัชการที่ ๕ วงการละครในสมัยนั้นได้นำทำนองไปบรรเลงขับร้องประกอบการแสดงละครเฉพาะท่อนแรก โดยบรรจุบทร้องว่า “เจ้าสาวโคมเวียนเสี่ยงเทียนถวาย  ขอน้อมกายก้มเกล้าเข้าหา” คนทั่วไปได้ยินจึงเรียกชื่อตามเนื้อร้องว่า เพลงลาวเสี่ยงเทียน  ท่านครู หลวงประดิษฐ์ไพเราะ(ศร  ศิลปบรรเลง)ได้นำมาปรุงเป็นเพลงเถา สำเร็จเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๖ โดยแต่งทำนองให้เป็นสำเนียงภาคเหนือและแต่งทำนองทางเปลี่ยนทั้ง ๒ ท่อน ของอัตราจังหวะสามชั้นและสองชั้น บทร้องนำมาจากบทละครเรื่อง พระลอ นรลักษณ์ พระราชนิพนธ์ ในกรมพระราชวังบวรมหาศักดิพลเสพ คุณ ดวงพร ขับร้องได้ไพเราะจริงจริงตรับ

ธูปเทียนทองสองมือถือไว้ตั้งใจวันทา (ซ้ำ)
น้อมเคารพบูชาพระ
ศาสดาของชาวพุทธ (ซ้ำ)

พระปัญญาเลิศล้นทรงค้นพบสัจธรรม
พระการุณเลิศล้ำทรงน้อมนำสู่มนุษย์
พระองค์เลิศล้วนบริสุทธิ์สอนคนให้หลุดพ้นความทุกข์ทน (ซ้ำ)

๓ ลาวควงเดือน ผู้ทรงนิพนธ์เพลงนี้คือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นพิชัยมหินทโรดม พระนามเดิม พระองค์เจ้าชายเพ็ญพัฒน์พงศ์ ในขณะที่มีพระชนมพรรษา ๒๑ พรรษา  พระองค์ทรงเป็นพระเจ้าลูกยาเธอในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ในปี พ.ศ. ๒๔๔๖ พระองค์ทรงจบการศึกษาจากประเทศอังกฤษและได้เสด็จประพาสเชียงใหม่ ได้รับการต้อนรับจากเจ้าหลวงอินทวโรรสสุริวงศ์ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่และเจ้าแม่ทิพย์เนตร มีการจัดงานเลี้ยงต้อนรับขึ้น ในงานเลี้ยงครั้งนี้มี เจ้าราชสัมพันธวงศ์(ธรรมลังกา) และเจ้าแม่คำย่น ณ ลำพูน พร้อมธิดาคนโต  คือ เจ้าหญิงชมชื่น ซึ้งมีอายุเพียง ๑๖ ปี

เจ้าหญิงชมชื่น(พระธิดาของเจ้าธรรมลังกา)

ที่ทำให้พระองค์เจ้าชายเพ็ญพัฒน์พงษ์ ถึงกับตะลึงในแบบรักแรกพบ ในวันรุ่งขึ้นพระองค์ได้ทรงให้ พระยานริศราชกิจ ข้าหลวงใหญ่มณฑลพายัพ นำพระองค์ไปเยี่ยมคุ้มเจ้าราชสัมพันธวงศ์(คุ้มหน้าวัดบ้านปิง ปัจจุบันคือบ้านใบเมียงที่ฝรั่งเช่าทำเป็นที่สอนศาสนา) และกลายเป็นแขกประจำคุ้ม ต่อมาได้ทรงให้พระยานริศราชกิจเป็นเถ้าแก่ไปเจรจาสู่ขอเจ้าหญิงชมชื่นแต่ทางบิดาฝ่ายหญิงผู้ซี่งเป็นผู้เชี่ยวชาญในด้านกฎหมายนั้นได้ทัดทาน(มิได้ปฏิเสธ)ไว้ โดยมีเงื่อนไขไว้ ๒ เงื่อนไขคือ

                   ๑ ขอให้รอจนเจ้าหญิงชมชื่นอายุ ๑๘ ปี เสียก่อน                                                                                     

                   ๒ ต้องทำให้ถูกต้องตามขนบธรรมเนียม คือ พระองค์จะอภิเษกสมรสต้องได้รับพระบรมราชานุญาต

                        เป็นสะใภ้หลวง

พระบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเพ็ญพัฒนพงษ์  กรมหมื่นพิไชยมหินทโรดม

เหตุที่ ทัดทานครั้งนี้เกิดจากเรื่องความรักระหว่างพระองค์เจ้าโสณบัณฑิตกับเจ้าหญิงข่ายแก้ว ซึ้งเกิดขึ้นใน พ.ศ. ๒๔๓๓  คือ พระองค์เจ้าโสณบัณฑิต พระราชโอรสในสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔  พระน้องยาเธอใน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชการที่ ๕ ได้เสด็จมาปราบปรามพวกยางแดง แถวแม่น้ำสาละวิน(คง)   และได้พบรักกับ เจ้าหญิงข่ายแก้ว ธิดาเจ้าทักษิณนิเกตน์(มหายศ) และทรงสู่ขอจากเจ้าทักษิณนิเกตน์(มหายศ) แต่ไม่ได้รับพระบรมราชานุญาตในการเสกสมรส และไม่มีพระโอรสและพระธิดาด้วยกัน ครั้นพระองค์เจ้าโสณบัณฑิตเสด็จกลับกรุงเทพก็ไม่ได้เพาเจ้าหญิงข่ายแก้วลงมาด้วยเพราะมีหม่อมเอมอยู่แล้ว ทำให้เจ้าหญิงข่ายแก้ว กลายเป็น “แม่ร้าง” ที่จะไปร้องเรียนกับใครก็ไม่ได้ เจ้าราชสัมพันธ์วงศ์(ธรรมลังกา) จึงไม่ปรารถนาให้ประวัติศาสตร์ซ้ำรอยจึงได้ทัดทานไว้ และพระองค์จึงเสด็จกลับกรุงเทพเพื่อปรึกษาญาติผู้ใหญ่ซึ้งก็ได้รับการทัดทานอย่างหนักหน่วง เมื่อไม่สมหวังก็ทรงหันเข้าหาความเยือกเย็นแห่งดนตรีไทยดับความรุ่มร้อนในหัวอก และก็ทรงนิพนธ์เพลงนี้จากบทร้องจากวรรณคดีเรื่อง “พระลอ”ขึ้นมาทำให้เกิดตำนานรักเพลง “ลาวดวงเดือน”

โอ้ละหนอ ดวงเดือนเอย
พี่มาเว้ารักเจ้าสาวคำดวง
โอ้ว่าดึกแล้วหนอพี่ขอลาล่วง
อกพี่เป็นห่วงรักเจ้าดวงเดือนเอย

ขอลาแล้วเจ้าแก้วโกสุม
พี่นี้รักเจ้าหนอสาวคำเรียม
จะหาไหนมาเทียมโอ้เจ้าดวงเดือนเอย (ซ้ำ)

หอมกลิ่นเกสร เกสรดอกไม้
หอมกลิ่นคล้ายคล้ายเจ้าสูเรียมเอย (ซ้ำ)
หอมกลิ่นกรุ่นครันหอมนั้นยังบ่เลย
เนื้อหอมทรามเชยเอ๋ยเราละเน้อ

๔ นางครวญ(เนื้อที่๑)  ขับร้องในทำนอง ๓ ชั้น และ ๒ ชั้นตามลำดับ บทขับร้องเพลงนี้เป็นเพลงในละครเรื่องอิเหนา ตอน  อุณากรรณครวญถึงอิเหนา  เพลงนี้มาจาก “เพลงมอญรำดาบ ๒ ชั้น”หรือมิฉะนั้นก็มาจากเพลง”นางรำ ๒ ชั้น” ในตับนเรศวร์ชนช้างตามตำรา มโหรี ผู้แต่งคงจะเป็นคนเดียวกับคนแต่งเพลง”สุดสงวน” เพื่อให้มีสำนวนทำนองคู่กันและแต่งในระยะเวลาใกล้เคียงกัน ลีลาเพลงก็แสดงความหมายตามชื่อเพลง                   (หมายเหตุ:-  ครู แก้ว    อัจฉริยกุล ได้นำทำนองเพลงนี้มาใส่คำร้องและบรรเลงในแนวเพลงไทยสากลและใช้ชื่อ “นางครวญ” ตามเดิมขับร้องโดย  คุณ วรนุช อารีย์

โอ้ว่าป่านฉะนี้พระพี่เจ้า
จะโศกเศร้ารัญจวนครวญหา
ตั้งแต่พระไปแก้สงสัยมา
มิได้พบขนิษฐาในถ้ำทอง
พระจะแสนเศร้าสร้อยละห้อยไห้
หฤทัยทุกข์ทนหม่นหมอง
จะดั้นด้นค้นคว้าเที่ยวหาน้อง
ทุกข์ประเทศเถื่อนท้องพนาลี

๕ ราตรีประดับดาว เป็นพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ใน ปี พ.ศ. ๒๔๗๒ ได้ทรงนำเพลงมอญดูดาว ๒ ชั้น มาแต่งขยายขึ้นเป็น ๓ ชั้น แล้วตัดลงเป็นชั้นเดียว จนครบเถา พร้อมทั้งทรงพระราชนิพนธ์บทร้องด้วย ในเพลงนี้ขับร้องในช่วงทำนอง ๓ ชั้น

วันนี้แสนสุดยินดีพระจันทร์วันเพ็ญ
ขอเชิญสายใจเจ้าไปนั่งเล่น
ลมพัดเย็นเย็นหอมกลิ่นมาลีเอย
หอมดอกหอมดอกราตรี
แม้ไม่สดสีหอมดีน่าดม
เหมือนงามน้ำใจแม้ไม่ขำขม
กิริยาน่าชมสมใจจริงเอย

ชมแต่ดวงเดือนที่ไหนจะเหมือนได้ชมหน้าน้อง
พี่อยู่แดเดียวเปลี่ยวใจหม่นหมอง
เจ้าอย่าขุ่นข้องจงได้เมตตาเอย
หอมดอกหอมดอกชมนาด
กลิ่นไม่ฉูดฉาดแต่หอมยวนใจ
เหมือนน้ำใจดีปรานีปราศัย
ผูกจิตสนิทได้ให้รักจริงเอย

๖ ลาวเจริญศรี มี ๒ ข้อมูล

                      ๑) เพลงตับ บทร้องเพลงตับลาวเจริญศรี ตอนต้นปรับปรุงจากบทละครเรื่อง “พระลอ” ฉบับของเจ้าพระยาเทเวศรวงษ์วิวัฒน์(ม.ร.ว. หลาน  กุญชร) ตอนกลางมีผู้แต่งบทแทรกโดยอาศัย บทภาษาของการแสดงละครเรื่อง พระอภัยมณี ตอนศึกเก้าทัพ และแต่งเสริมบ้าง ส่วนตอนท้ายปรับปรุงมาจากบทละครเรื่อง พระลอ ฉบับพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรวรรณกร กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ ที่เรียกตับลาวเจริญศรี  เนื่องจากบทร้องในเพลงลาวเล็กตัดสร้อยมีบทว่าเจริญศรี ทำนองตกเสียงสูงเด่นกว่าคำอื่นจึงเรียกเป็นชื่อตับ ตับชุดนี้เรียกอีกชื่อว่าตับพระลอ เพลงในตับนี้มีตามลำดับดังนี้ เกริ่นลาวเล็กตัดสร้อย ลาวเล่นน้ำ ลาวกระตุกกี่ กระแตเล็ก(กราวกระแซ) ดอกไม้เหนือ ลาวเฉียง เกริ่นลาวครวญ และลาวกระแซ

                      ๒) เพลงเถา นาย เฉลิม บัวทั่ง นำมาทำเป็นเถา โดยรวมเพลงลาวเล็กตัดสร้อยที่มี ๒ ท่อน ใช้เป็นท่อนที่ ๑ และนำเพลงลาวเล่นน้ำที่เป็นท่อนเดียว มาใช้เป็นเพลงท่อนที่ ๒ แต่งเสร็จเมื่อวันที่ ๑๗ กรกฎาคม ๒๕๑๙

อายุเยาวเรศรุ่นเจริญศรี
พระเพื่อนพี่แพงน้องสองสมร

เอ๋ยงามองค์งามทรงอ่อนซ้อน
ดังอัปสรหยาดฟ้าลงมาเอย

๗ ลาวคำหอม เพลงนี้มี ๒ ข้อมูล

                      ๑) เพลงลาวคำหอมสองชั้น เดิมเพลงนี้มีเฉพาะทางร้องที่เรียกว่า “ทางสักวา” จ่าเผ่นผยองยิ่ง(จ่าโคม) แต่งขึ้นโดยไหวพริบปฎิภาณ ทั้งบทร้องและทำนองทางร้อง ต่อมาพระยาประสานดุริยศัพท์(แปลก  ประสานศัพท์) ได้แต่งทางรับใช้ในวงเครื่องสายปี่ชวาก่อน แต่ภายหลังจึงมีผู้นิยมนำไปบรรเลงและขับร้องในวงปี่พาทย์ วงมโหรี จนแพร่หลายเพลงนี้มีความหมายในเชิงรักอย่างอ่อนหวาน บางท่านเรียกชื่อเพลงนี้ว่า “ลาวประทุมมาลย์”

                     ๒) เพลงเถา ท่านครู หลวงประดิษฐไพเราะ(ศร  ศิลปบรรเลง) ไดนำมาทำเป็นเพลงเถาแต่ได้สูญหายไป นาย เจริญ  แรงเพ็ชร ได้อธิบายโดยอ้างอิงถึง ครู พิมพ์ ครู เผือด นักดนตรีมีชื่อ ซึ่งเป็นคนระนาด เคยได้ไว้และลืม  ต่อมา พ.ศ. ๒๕๐๒ นาย เจริญ  แรงเพ็ชร จึงแต่งเป็นเถาใหม่โดยยึดทำนองเพลงลาวคำหอม ของจ่าเผ่นผยองยิ่ง(จ่าโคม) ส่วนบทร้องทั้งเถา ยังคงใช้บทเดิมของเนื้อร้องของ ท่านครู หลวงประดิษฐไพเราะ(ศร  ศิลปบรรเลง)

 เพลงนี้ใช้ประกอบละครทางโทรทัศน์ช่อง ๙ อสมท. เรื่อง”สี่แผ่นคิน” บทประพันธ์โดย ศ.  พลตรี มรว. คึกฤทธิ์  ปราโมช กำกับการแสดงโดย  มล. พันเทวนพ  เทวกุล

๘ นกจาก เป็นเพลงอัตรา ๒ ชั้นเป็นเพลงท่อนเดียว ทำนองเก่าประเภทหน้าปรบไก่มี ๔ จังหวะ อยู่ในเพลงเรื่องลีลากระทุ่ม ตอน ต่อจากปลายเพลงยาว หลวงบำรุงจิตรเจริญ(ธูป  สาตรวิลัย)ได้ปรุงเป็นเพลงเถาในปี พ.ศ. ๒๔๙๕ ส่วนทางร้องในอัตราสามชั้นและชั้นเดียว นาง ท้วม  ประสิทธิกุลเป็นผู้แต่ง เพลงนี้เคยใช้เป็นเพลงประกอบละครเรื่อง “ลูกทาส” ที่กำกับโดย มล. พันธุ์เทวนพ  เทวกุล เพลงนี้ออกจะหาฟังได้ยากแต่ค่ายแสนแสบก็ได้มานำเสนอเพลงดีที่มีคุณค่า

พระโหยหวนครวญเพลงวังเวงจิต
ให้คนคิดถึงถิ่นถวิลหวัง
ว่าจากเรือนเหมือนนกที่จากรัง
อยู่ข้างหลังก็จะแลชะแง้คอยเอย
ถึงยามค่ำย่ำฆ้องจะร้องไห้
ร่ำพิไรรัญจวนหวนละห้อย
เมื่อยามดึกดาวก็เคลื่อนเดือนก็คล้อย
น้ำค้างย้อยเย็นฉ่ำที่อัมพร

๙ นกจาก ใน บันไดเสียง E Major เรียบเรียงแบบ Contemporary(ดนตรีร่มสมัย) และ บรรเลงโดย Zansab Philharmonic Orchestra

ดวงพร ผาสุข

ดวงพร ผาสุข สาวเสียงหวานกับงานนอกกรอบ

ชื่อชั้นนักร้องหญิงเสียงหวาน ดวงพร ผาสุข กับวงการเพลงในบ้านเรา ถือว่ายังใหม่แกะกล่อง นักฟังเพลงรุ่นใหม่น้อยคนที่จะรู้จักตัวตนที่แท้จริงของเธอแต่กับนักฟังเพลงที่โหยหางานเพลงคุณภาพแล้ว ปุ้ย-ดวงพร ผาสุข คือนักร้องในดวงใจเบอร์ต้นๆ ของพวกเขาเลยทีเดียว วันนี้ดวงพรแจ้งเกิดในวงการเพลงไทย ด้วยการเป็นนักร้องนำของวง Bangkok Acoustic ซึ่งเป็นวงดนตรีที่ผลิตชิ้นงานศิลปะทางด้านดนตรี ที่นับวันจะถูกกลืนหายไปกับกระแสเพลงตลาด ที่ถูกเปิดกรอกหูให้ฟังกันแถบจะ 24 ชั่วโมง 

"ปุ้ยเริ่มทำงานเกี่ยวกับดนตรีไทยตั้งแต่ตอนเรียนอยู่ชั้น ม.5 ที่โรงเรียนบดินทร       
เดชา 2 (สิงห์ สิงหเสนี) แล้วค่ะ" เธอย้อนถึงจุดเริ่มต้นการทำงานด้านดนตรีโดยเธอรับหน้าที่เป็นครูสอนดนตรีไทยพิเศษอยู่ที่โรงเรียนดนตรีจุไรรัตน์ โดยสอนตั้งแต่ขั้นพื้นฐานไปจนถึงขั้นสูงสุด มีลูกศิษย์ตั้งแต่วัยเด็กไปจนถึงผู้ใหญ่วัย 60 ปี ซึ่งความสามารถทางดนตรีไทยของเธอนั้น ส่วนหนึ่งคงต้องยกประโยชน์ให้กับการเลี้ยงดูของพ่อและแม่ รวมถึงลุงที่ถือเป็นครูดนตรีคนแรกของเธอ       

"ปุ้ยว่าเครื่องดนตรีไทยมีเสน่ห์นะ เวลาที่จับเครื่องดนตรีแล้วมีความสุข ยิ่งเวลาที่ได้เล่นอยู่ในวง ปุ้ยว่าเป็นอะไรที่มีเกียรติที่สุดแล้วคะ" เธอเผยความรู้สึก  ทั้งนี้ พรสวรรคด้านดนตรีไทยของดวงพร เริ่มชัดเจนขึ้นเมื่อเธอมีโอกาสเดินสายประกวดดนตรีไทยในหลายๆ เวที จนมีแมวมองในวงการเพลงสนใจตัวเธอ  จนกระทั่งมีโอกาสเข้ามาทำงานเบื้องหลังให้กับนักร้องดัง ๆ ด้วยการขับร้องคอรัส       
และร้องไกด์อยู่ช่วงเวลาหนึ่ง ก่อนที่จะจับผลัดจับผลูมาร้องเพลงประกอบละครบ้างเป็นครั้งคราว       

"ปุ้ยเข้ามาเป็นนักร้องแบบเต็มตัว ก็ตอนที่มาทำงานร่วมกับวง Bangkok  Acoustic โดยการชักชวนของอาจารย์ปอง-ณรงค์ฤทธิ์ โตสง่า (ขุนอิน) ในงานประชันดนตรีไทยจากสังคีตศาลา       

"ซึ่งก็เป็นเรื่องบังเอิญ เพราะวันนั้น ปุ้ยไปร้องเพลงไทยเดิมแทนรุ่นพี่ที่จุฬาฯ  ซึ่งกำลังจะไปเรียนต่อที่อเมริกา เรียกว่าไปในฐานะตัวสำรองนั่นแหละค่ะ" เธอเล่าถึง ก้าวแรกของการเป็นนักร้องอาชีพให้ฟัง  โดยหลังจากที่อาจารย์ณรงค์ฤทธิ์ โตสง่า กับทีมงานโปรดิวเซอร์ มองเห็นแวว  จึงเปิดโอกาสให้เธอเข้ามาลองอัดเพลง ก่อนจะตอบรับเธอในฐานะนักร้องนำของวง Bangkok Acoustic 

จากนั้นไม่นาน งานคุณภาพชิ้นแรกของเธอกับวง Bangkok Acoustic ที่ใช้ชื่อ อัลบั้มว่า "เพ้อ" ก็ทำ

ให้คอเพลงที่ถวิลหาความแปลกใหม่ทางดนตรี เพ้อไปกับน้ำเสียงที่แสนหวานของเธอและยิ่งนำมาผสมผสานกับแนวดนตรีร่วมสมัยของอาจารย์ณรงค์ฤทธิ์ด้วยแล้ว "เพ้อ" จึงเป็นงานเพลงที่งดงาม และลงตัวทั้งเนื้อร้องและดนตรี ที่คอเพลงการันตีว่า ดีที่สุดในปัจจุบัน  "เพ้อ คืองานเพลงที่บอกความเป็นปุ้ยได้ดีที่สุด คือจะเป็นแนวเพลงไทยผสมกับสากลค่ะ" เธอขยายภาพการทำงานที่วันนี้ความน่าสนใจของเธอ ไม่ได้จำกัดอยู่แค่คนฟังกลุ่มเล็กๆ หากแต่ยังรวมไปถึงค่ายเพลงยักษ์ใหญ่ ที่หวังจะได้เธอไปเป็นนักร้องในสังกัด

"ก็มีค่ายใหญ่ๆ มาจีบเหมือนกัน แต่ปุ้ยคิดว่า ตรงนั้นไม่ใช่ตัวเรา เธอไม่ปฏิเสธ       

"แต่ตรงนั้นปุ้ยคิดว่า ไม่ใช่ตัวเรา ที่สำคัญงานที่พวกเราทำกัน คืองานที่เป็นอาร์ตจริงๆ เราอยากให้คุณภาพขายตัวมันเองมากกว่า" ขณะเดียวกัน ในยุคที่สื่อมีอำนาจเหนือการตัดสินใจของผู้บริโภค นักร้องหลายคนดังขึ้นมาได้ด้วยกลยุทธ์ทางการตลาดของค่ายเพลงยักษ์ใหญ่ ที่เปิดกรอกหูคน       
ฟังแทบจะทุกหน้าปัดวิทยุซึ่งเรื่องนี้ นักร้องสาวแสดงทัศนะว่า ครั้งหนึ่งเคยคิดไปอยู่กับค่ายเพลงใหญ่ๆ เหมือนกัน แต่เมื่อได้สัมผัสกับงานเพลงที่เป็นอาร์ตจริงๆ จึงรู้สึกหลงรัก พร้อมล้ม       
เลิกความคิดดังกล่าวทันที     

ส่วนอัลบัมชุดใหม่ที่แฟนเพลงถามถึง เธอบอกว่า ตอนนี้อยู่ระหว่างการเตรียม       
งาน ซึ่งแนวเพลงนั้นคงไม่ต่างไปจากอัลบัม "เพ้อ" เท่าไหร่นัก ถ้าคุณเป็นอีกคนที่รู้สึกเอียนกับงานเพลงตลาดจากคอกเพลงนายทุน "เพ้อ" น่าจะเป็นอัลบัมที่สามารถสะท้อนให้เห็นได้ว่า งาน Art Music นั้นเป็นอย่างไร

 
โดย ผู้จัดการรายสัปดาห์
   
18 มิถุนายน 2547 14:27 น.

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์