ดวงใจแห่งชนทั้งผอง











เพลงชาติอินเดีย หรือเพลงชนะ คณะ มนะ (อักษรเทวนาครี: जन गण मन, แปลว่า "ดวงใจแห่งชนทั้งผอง") 5 วรรคแรกเขียนเป็นภาษาเบงกาลี แต่งโดยรพินทรนาถ ฐากูร นักเขียนรางวัลโนเบล


เพลงนี้นำมาร้องเป็นครั้งแรก ในปี พ.ศ. 2454 ภายหลังมีการปรับแก้เป็นภาษาฮินดีโดยสภารัฐธรรมนูญ และรับเป็นเพลงชาติของประเทศอินเดีย เมื่อวันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2493


สำหรับทำนองเพลงนั้น แต่งโดยรพินทรนาถ เช่นเดียวกัน ความยาวของเพลงประมาณ 52 วินาที สำหรับเพลงชาติฉบับย่อ จะร้องเฉพาะวรรคแรกและวรรคสุดท้าย เวลาประมาณ 20 วินาที โดยร้องบ้างเป็นบางโอกาส

ชน คณ มน อธินายก ชย เห
ภารต ภาคฺย วิธาตา
ปํชาพ สินฺธ คุชราต มราฐา
ทราวิฑ อุตฺกล พํค
วินฺธฺย หิมาชล ยมุนา คํคา
อุจฺฉล ชลธิ ตรํค
ตว ศุภ นาเม ชาเค
ตว ศุภ อาศิษ มาเค
คาเห ตว ชย คาถา
ชน คณ มํคลทายก ชย เห
ภารต ภาคฺย วิธาตา
ชย เห, ชย เห, ชย เห
ชย ชย ชย, ชย เห



ท่านคือผู้ครองใจชนทั้งผอง

ผู้ประสาทโชคชะตาแก่ภารต (ประเทศอินเดีย)

ชื่อของท่านปลุกเร้าหัวใจแห่งปัญจาบ สินธุ คุชราต และมราฐ

แห่งทราวิฑ และโอริสสา (อุตกัล) และเบงกอล (พํค)

ย่อมสะท้อนในขุนเขาวินธยะและหิมาลัย

ผสานในดนตรีแห่งยมุนาและคงคา

ที่พร่ำท่องโดยกระแสคลื่นแห่งทะเลภารต

ชนทั้งผองร้องสรรเสริญและอวยชัย

จงปลอดภัยอยู่ในหัตถ์ของท่านเทอญ

ท่านผู้ประสาทชะตาแก่ภารต

ชโย ชโย ขอท่านจงมีชัยเทอญฯ

http://th.wikipedia.org




มหาตมา คานธี (อังกฤษ: Mahatma Gandhi) เป็นผู้นำและนักการเมืองที่มีชื่อเสียงชาวอินเดียและศาสนาฮินดู มีชื่อเต็มว่า โมหันทาส กรรมจันท คานธี (คุชราต: મોહનદાસ કરમચંદ ગાંધી; อังกฤษ: Mohandas Karamchand Gandhi) เกิดเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม ค.ศ. 1869 ในแคว้นคุชราตทางทิศตะวันตกของอินเดีย มารดาของคานธี เป็นภรรยาคนที่ 4 ของบิดาของคานธี


ใน ค.ศ. 1883 เดือนพฤษภาคม คานธีมีอายุ 13 ปี ได้สมรสกับเด็กหญิงชื่อกัสตูรบา ซึ่งอายุมากกว่าคานธีประมาณ 6 เดือน ซึ่งสาเหตุที่คานธีสมรสเร็วนั้น มาจากประเพณีท้องถิ่นที่นิยมให้เด็กแต่งงานกันเร็วๆ คานธี มีความสุขกับชีวิตคู่มาก คานธีและกัสตูรบามีบุตร-ธิดา รวมกันทั้งสิ้น 5 คน แต่คนหนึ่ง ได้เสียชีวิตลงตั้งแต่ยังเป็นทารกทำให้เหลือ 4 คน


ใน ค.ศ. 1888 เป็นปีที่บุตรคนแรก (ไม่นับคนที่เสียชีวิตขณะเป็นทารก) ของคานธีได้ถือกำเนิดขึ้น และเป็นปีที่ทางครองครัว ได้ส่งคานธีไปศึกษาวิชากฎหมายที่อังกฤษ โดยก่อนจะเดินทาง คานธีได้ให้สัญญากับมารดาว่า จะไม่รับประทานเนื้อสัตว์และสุรา และจะไม่ยุ่งเกี่ยวเกาะแกะกับสตรี เพื่อให้มารดาได้อุ่นใจ แล้วเดินทางไปอังกฤษ


เมื่อไปถึงอังกฤษ คานธีพบปัญหาใหญ่ในการดำเนินชีวิตในอังกฤษ นั่นคือ วัฒนธรรม มารยาท สิ่งปลูกสร้างต่างๆ ในอังกฤษนั้นไม่เหมือนอินเดีย คานธีต้องระวังตนในเรื่องมารยาทซึ่งจะมาทำตามคนอินเดียเหมือนเดิมไม่ได้ คานธีต้องปรับตัวบุคลิกต่างๆให้เข้ากับคนอังกฤษให้ได้ และนอกจากนี้ อาหารในอังกฤษที่ไม่ใช่เนื้อสัตว์นั้นในสมัยนั้นรสชาติจะจืดมาก จะกินเนื้อสัตว์ก็ไม่ควรเพราะได้ให้สัญญากับมารดาไว้แล้ว


ปัญหาด้านอาหารนั้นทุเลาลงเมื่อคานธีได้รู้จักอาหารมังสวิรัติ และได้ซื้อหนังสือคู่มือสำหรับนักมังสวิรัติเข้า คานธีจึงได้มีวิธีรับประทานมังสวิรัติอย่างเป็นสุขในอังกฤษ ส่วนมารยาทและวัฒนธรรมก็ต้องค่อยๆปรับตัวไป และในที่สุด คานธีก็สำเร็จการศึกษาและสอบได้เป็นเนติบัณฑิต และเมื่อได้เป็นเนติบัณฑิตแล้ว คานธีก็เดินทางกลับสู่อินเดียใน ค.ศ. 1892 เพื่อประกอบอาชีพ


ในปีเดียวกันคานธีกลับมา ลูกคนที่สองของคานธีก็กำเนิดขึ้น แต่ในด้านอาชีพ แม้จะประสบความสำเร็จในการศึกษา แต่การประกอบอาชีพในช่วงแรกของคานธีนั้นประสบความยากลำบากตะกุกตะกัก แต่แล้ว ไม่นานต่อมา คานธีก็ได้งานชิ้นหนึ่งซึ่งเป็นตัวแปรสำคัญ ที่ทำให้คานธี กลายเป็นนักการเมืองที่มีชื่อเสียงโด่งดังในเวลาต่อมา


งานนั้นคือ ให้ไปเป็นทนายว่าความให้ลูกความในประเทศแอฟริกาใต้ ดังนั้น ใน ค.ศ. 1893 คานธีได้เดินทางไปประเทศแอฟริกาใต้ โดยเมื่อเดินทางไปถึง คานธีได้ซื้อตั๋วรถไฟชั้น First Class (ชั้นที่หรูหราสะดวกสบายที่สุด ค่าตั๋วแพงที่สุด) ไปยังเมืองที่ลูกความต้องการ แต่ทว่า ผู้โดยสารชั้น First Class ที่ผิวขาว ไม่พอใจที่คนผิวคล้ำอย่างคานธีมาอยู่ร่วมชั้น First Class กับพวกเขา จึงไปประท้วงบอกเจ้าหน้าที่ เจ้าหน้าที่จึงเดินมาสั่งให้คานธีย้ายตู้โดยสารไปโดยสารตู้ของ Third Class (ชั้นไม่สะดวก ไม่หรูหรา แต่ค่าตั๋วถูกที่สุด) ทั้งๆที่คานธีเสียเงินซื้อตั๋ว First Class มาอย่างถูกต้อง คานธีจึงปฏิเสธ ทำให้ความขัดแย้งในรถไฟชั้น First Class รุนแรงขึ้นเรื่อยๆ จนในที่สุด คานธีก็ถูกเจ้าหน้าที่รุมทำร้าย และคานธีถูกผู้โดยสารผิวขาวโยนออกมาจากรถไฟ โดยเจ้าหน้าที่ต่างอ้างว่า รถไฟชั้นหนึ่งนี้สร้างสำหรับผู้โดยสารผิวขาวเท่านั้น


เหตุการณ์นี้ทำให้คานธีเศร้าเสียใจเป็นอย่างยิ่ง และยิ่งเศร้ามากยิ่งขึ้นเมื่อรู้ว่าชาวผิวคล้ำเกือบทุกคนถูกเหยียดหยามจากชนผิวขาวในแอฟริกาใต้ นับแต่นั้น คานธีก็ได้เข้าต่อสู้เรียกร้องสิทธิมนุษยชนของชาวผิวคล้ำในแอฟริกาใต้ และเมื่อคานธีรู้ว่าการต่อสู้ครั้งนี้ไม่จบง่ายๆ จึงได้เดินทางไปอินเดียใน ค.ศ. 1896 เพื่อพาครอบครัวมาอยู่ด้วยกันที่แอฟริกาใต้ และกลับสู่อินเดียใน ต้นปี ค.ศ. 1897 และใช้ชีวิตครอบครัวต่อจนมีลูกกับภรรยาต่ออีก 2 คน


ใน ค.ศ. 1901 คานธีเดินทางกลับอินเดียเพื่อกลับไปประกอบอาชีพต่อ แต่มีเสียงเรียกร้องจากชาวอินเดียในแอฟริกาใต้ให้มาช่วยด้วย คานธีเดินทางกลับไปยังแอฟริกาใต้เพื่อต่อสู้กับปัญหานี้ต่อใน ค.ศ. 1902 แต่ว่า การต่อสู้ของคานธีเมื่อครั้งก่อนนั้นให้ผลไม่ดีเท่าไรนัก ดังนั้นในครั้งนี้ คานธีใช้วิธี "สัตยาเคราะห์" ซึ่งคือ การไม่ร่วมมือในกฎที่ไม่ยุติธรรม โดยไม่มีการใช้กำลัง ซึ่งวิธีนี้ได้ผลดีมาก ทำให้คานธีรู้ว่าการประท้วงโดยไม่ใช้กำลังนั้นให้ผลดีกว่าที่คิด จึงพบวิธีที่แน่นอนและได้ผลดีในการเรียกร้องความยุติธรรม โดยคานธีได้อยู่เรียกร้องความยุติธรรมนี้จนถึง ค.ศ. 1914 ก็เดินทางออกจากแอฟริกาใต้


คายธีเดินทางกลับมาถึงอินเดียที่เมืองบอมเบย์ใน ค.ศ. 1915 คานธีตัดสินใจละทิ้งการแต่งกายแบบตะวันตกดังที่เคย และหันมาแต่งกายด้วยเสื้อผ้าแบบดั้งเดิมของแคว้นคุชราต และเมื่อเดินทางกลับมาถึง ชาวอินเดียจำนวนมากไปชุมนุมต้อนรับคานธีกลับบ้านอย่างล้นหลาม ไม่กี่วันต่อมา คานธีเดินทางไปหา รพินทรนาถ ฐากุร มหากวีแห่งอินเดีย และรพิทรนาถนี้เอง ได้ขนานนามคานธีว่า "มหาตมา" อันแปลว่า ผู้มีจิตใจสูงส่งให้แก่คานธี เป็นคนแรก และหลังจากนั้น คานธี ได้เดินทางไปทั่วประเทศอินเดีย เพื่อจะได้ไปรู้เห็นความเป็นจริงในอินเดียอย่างรู้จริงเป็นเวลารวม 1 ปี


ค.ศ. 1916 คานธีเริ่มก่อกลุ่มเคลื่อนไหวเรียกร้องสิทธิเสรีภาพให้แก่ประชาชนอินเดีย และเรียกร้องโดยวิธีขอความร่วมมือผนึกกำลังคนละเล็กคนละน้อยจนเป็นพลังที่สั่นประเทศได้ ประกอบกับในช่วงนั้น อินเดียเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษ ทำให้ต้องมีการเรียกร้องสิทธิที่อังกฤษพยายามกดขี่ชาวอินเดีย ตัวอย่างเช่น ใน ค.ศ. 1919 ได้มีการประกาศกฎหมาย Rowlatt ซึ่งเป็นกฎหมายที่กดขี่ชาวอินเดีย คานธีจึงประกาศขอความร่วมมือว่าในวันที่ 30 มีนาคม ค.ศ. 1919 ขอความร่วมมือให้คนอินเดียหยุดงาน แล้วประชาชนเป็นล้านๆ คนก็หยุดงานในวันนั้น สั่นคลอนอำนาจรัฐบาลอังกฤษอย่างชัดเจน คานธีรู้สึกอัศจรรย์ แต่ไม่นานก็พบข้อเสียของการใช้วิธีสัตยาเคราะห์ กับสังคมขนาดใหญ่ๆ อย่างอินเดีย


ข้อเสียนั้นคือ มีบางแห่งที่บานปลายเกิดการต่อสู้ใช้กำลัง รัฐบาลอังกฤษจึงใช้เป็นข้ออ้างในการจับกุมตัวคานธีไป แต่เมื่อคานธีถูกจับกุม เมืองต่างๆก็เกิดความเคียดแค้นและวุ่นวายจนเกือบกลายเป็นเหตุจราจลระดับประเทศ ซึ่งหลังคานธีได้รับอิสระในวันที่ 13 เมษายน ค.ศ. 1919 และได้รับรู้เหตุการณ์ที่เกิดบานปลายนี้ คานธีรู้สึกเสียใจมาก จึงประกาศอดอาหารตนเอง 3 วัน


แต่ในวันนั้นเอง เป็นวันนักขัตฤกษ์ของอินเดีย ประชาชนนับพันคนไปรวมตัวสังสรรค์กันที่สวนสาธารณะชัลลียันวาลา เมืองอมฤตสระ แต่ว่า ในวันนั้น นายพล Dyer ผู้บังคับบัญชากองทหารอังกฤษในอมฤตสระ รู้สึกเคียดแค้นชาวอินเดีย และต้องการให้ชาวอินเดียรู้ถึงอานุภาพอังกฤษ จึงออกคำสั่งให้กองทัพรัวปืนใส่กลุ่มประชาชนในชัลลียันวาลา ทำให้มีผู้เสียชีวิตประมาณ 1,500 ศพ บาดเจ็บประมาณ 3,000 คน เป็นปฏิบัติการทางทหารที่ทำให้รัฐบาลอังกฤษเสื่อมเสียเกียรติยศอย่างยากจะฟื้นตัว


การต่อสู้เพื่อคนอินเดียดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง แต่ใน ค.ศ. 1922 ได้เกิดเหตุใช้กำลังต่อสู้กันอีกครั้ง คานธีถูกจับกุมอีกครั้งในฐานะผู้ก่อความไม่สงบ และถูกศาลตัดสินจำคุก 6 ปี แต่ถูกปล่อยตัวออกมาก่อนกำหนดเพราะเหตุผลทางสุขภาพใน ค.ศ. 1924 และตั้งแต่ถูกปล่อยตัว คานธีก็หันไปแก้ไขปัญหาที่เกิดจากภายในประเทศก่อน เช่น ฟื้นฟูเศรษฐกิจชนบท แก้ไขปัญหาการถือชนชั้นวรรณะในอินเดีย ปัญหาความขัดแย้งระหว่างศาสนาฮินดูกับมุสลิม ปัญหาความไม่เสมอภาคของสตรี และปัญหาต่างๆ ที่ไม่ได้เกิดจากการกดขี่จากต่างประเทศ


แต่ใน ค.ศ. 1930 คานธีหวนกลับสู่สังเวียนการเมืองอันเร่าร้อน เพราะต้องการประท้วงกฎหมายอังกฤษที่ห้ามคนอินเดียทำเกลือกินเอง เป็นสิ่งที่ไม่สมควรที่จะไม่ให้คนอินเดียใช้ทรัพยากรของอินเดีย โดยในวันที่ 12 มีนาคม คานธีได้เริ่มการเดินทางไปยังชายทะเลในตำบลฑัณฑี พร้อมกับประชาชนนับแสนคนที่เต็มใจไปกับคานธี คานธีเดินทางเป็นเวลา 24 วัน 400 กิโลเมตร ก็ไปถึงชายทะเล คานธีบอกประชาชนนับแสนให้ร่วมกันทำเกลือกินเอง ดังนั้น ในวันนั้น คานธีและประชาชนนับแสนได้ทำเกลือจากทะเลกินเอง เป็นการฝ่าฝืนกฎหมายที่อังกฤษตั้งไว้


ทางการอังกฤษ ได้ดันทุรังจับกุมคานธีและประชาชนนับแสนคนในวันที่ 4 พฤษภาคม ค.ศ. 1930 ทำให้จำนวนแรงงานอาชีพในอินเดียหายไปเป็นจำนวนมาก ทำให้ระบบเศรษฐกิจและระบบบริหารงานของรัฐบาลอังกฤษเกิดความปั่นป่วนอย่างใหญ่หลวง จนกระทั่งต้องปล่อยตัวประชาชนออกมาเรื่อยๆ และรัฐบาลอังกฤษได้ปล่อยตัวคานธีใน ค.ศ. 1931 และในปีนั้น คานธีถูกเชิญตัวไปร่วมประชุมหารือกับรัฐบาลอังกฤษ โดยมีนายกรัฐมนตรีอังกฤษในขณะนั้นเป็นประธาน การประชุมครั้งนี้ไม่ได้ผลอะไรมากนัก


เมื่อคานธีกลับอินเดีย ก็ถูกจับอีก และก็ถูกปล่อยตัวอีก และหลังถูกปล่อย ก็ใช้เวลาไปพัฒนาชนบทอีก จนเมื่อ ค.ศ. 1939 ได้เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ก็กลับเข้าสู่วงการเมืองอีก มีการเดินขบวนรณรงค์ แล้วก็ถูกจับใน ค.ศ. 1942 อีก แต่ครั้งนี้ ระหว่างอยู่ในคุก กัสตูรบา ภรรยาคานธีได้เสียชีวิตลงใน ค.ศ. 1944 แล้วสักพักก็ถูกปล่อยตัว


ใน ค.ศ. 1945 ได้มีการเลือกตั้งทั่วไปในอังกฤษ นายกรัฐมนตรีคนใหม่ประกาศจะให้อินเดียได้ปกครองตนเอง นับเป็นการที่อิสระของอินเดียอยู่แค่เอื้อมแล้ว แต่ว่า ก่อนจะให้อิสระอินเดีย อังกฤษต้องหารัฐบาลชาวอินเดีย ที่จะปกครองอินเดียต่อจากอังกฤษในช่วงแรกๆของการมีอิสระครั้งของอินเดียในยุคแห่งเทคโนโลยี แต่ทว่า ไม่สามารถตกลงกันได้ว่าระหว่างพรรคคองเกรส (ที่นับถือศาสนาฮินดู) กับสันนิบาตมุสลิม ใครจะมาปกครอง การให้อิสระอินเดียจึงต้องล่าช้าออกไป


แต่ใน ค.ศ. 1946 ได้เกิดความขัดแย้งระหว่างชาวมุสลิมและฮินดูในอินเดีย จนเกิดเป็นเหตุนองเลือดรุนแรงไปทั่วทุกหัวระแหง คานธีรู้สึกเสียใจมาก ที่อิสรภาพของอินเดียอยู่แค่เอื้อม แต่ยังไม่ทันได้อิสรภาพ ชาวอินเดียก็ทะเลาะกันเองเสียนี่ คานธีจึงได้หอบสังขารวัย 77 ปี ลงเดินเท้าไปยังภูมิภาคต่างๆในอินเดีย เพื่อขอร้องให้ชาวอินเดียหันมาสามัคคีกัน หยุดทะเลาะกันเสียที ประชาชนอินเดียเห็นคานธีทำเช่นนี้ก็รู้สึกตัว เลิกทะเลาะกัน ทำให้เกิดความสงบสามัคคีในชนบทได้


เดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1947 ได้มีการเจรจาตกลงระหว่างพรรคคองเกรสกับสันนิบาตมุสลิม โดยได้ผลสรุปคือ เมื่ออินเดียได้รับเอกราช จะแบ่งประเทศเป็น 2 ส่วน โดยให้พื้นที่ที่คนส่วนใหญ่เป็นคนฮินดู เป็นประเทศอินเดียของพรรคคองเกรส แล้วพื้นที่ที่คนส่วนใหญ่เป็นคนมุสลิม ให้เป็นประเทศปากีสถาน ปกครองโดยสันนิบาตมุสลิม


ในที่สุด 15 สิงหาคม ค.ศ. 1947 อินเดียเป็นอิสระจากอังกฤษโดยสมบูรณ์ และในวันนั้น อินเดีย ก็แตกเป็น 2 ประเทศ คืออินเดียของชาวฮินดู กับปากีสถานของมุสลิม แต่ว่า ท้องที่ๆ คนส่วนใหญ่เป็นศาสนาหนึ่ง ก็ใช่ว่าจะไม่มีคนอีกศาสนาหนึ่งอาศัยอยู่เลย ดังนั้น ผู้ที่อยู่ในอาณาเขตประเทศที่เป็นท้องที่ที่คนส่วนใหญ่นับถือศาสนาตรงข้าม ก็ต้องอพยพ กล่าวคือ ผู้ที่เป็นมุสลิมในอินเดีย ก็ต้องอพยพไปปากีสถาน และผู้ที่เป็นฮินดูในปากีสถาน ก็ต้องอพยพมาอินเดีย ในวันนั้น ทั้งสองประเทศ จัดงานฉลองอิสรภาพครั้งใหญ่ แต่คานธีไม่เข้าร่วมพิธีฉลองอิสรภาพ แต่ได้เดินทางไปยังกัสกัตตา เพราะได้ข่าวว่ามุสลิมและฮินดูยังรบสู้กันอยู่ คานธีเดินทางไปถึงที่กัลกัตตา และขอร้อง แต่ไม่เป็นผล จึงประกาศอดอาหารอีก ครั้งนี้ได้ผล มุสลิมและฮินดูในกัลกัตตาเลิกรบกันทันที และให้สัญญาว่าจะไม่มีการรบแบบนี้เกิดอีก คานธีจึงเดินทางกลับเมืองหลวงนิวเดลฮี


ในวันที่ 13 มกราคม ค.ศ. 1948 คานธีต้องการไปปากีสถาน เพื่อสมานฉันท์กับชาวมุสลิม ทั้งๆที่คานธีเป็นฮินดู สันนิบาตมุสลิมจึงคัดค้านการเข้าปากีสถานของคานธี เพราะเกรงจะเกิดอันตราย คานธีจึงประกาศอดอาหารอีกครั้ง เพื่อสมานฉันท์ระหว่างมุสลิมกับฮินดู


ในวันที่ 18 มกราคม ค.ศ. 1948 องค์กรประชาชนในนิวเดลฮีให้คำมั่นว่า จะพิทักษ์รักษาชีวิต ทรัพย์สิน และศาสนาของชาวมุสลิมอย่างเต็มที่ คานธีจึงกลับมากินอาหารอีกครั้ง


และในวันที่ 30 มกราคม ค.ศ. 1948 ในตอนเย็น ขณะที่คานธีอยู่กลางสนามหญ้า กำลังสวดมนต์ไหว้พระตามกิจวัตร ขณะที่คานธีกำลังพูดว่า "เห ราม" แปลว่า "ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า" นาถูราม โคทเส ชาวฮินดูผู้คลั่งศาสนา ไม่ต้องการให้ฮินดูสมานฉันท์กับมุสลิม ได้ยิงปืนใส่คานธี 3 นัด จนคานธีล้มลง และเมื่อแพทย์ได้มาพบคานธี ก็พบว่า คานธีได้สิ้นลมหายใจแล้วในวัย 78 ปี





 รพินทรนาถ ฐากูร ภาพถ่ายที่เมืองกัลกัตตา ประมาณ พ.ศ. 2458
รพินทรนาถ ฐากูร
(เบงกาลี: রবীন্দ্রনাথ ঠাকুর, Robindronath Ţhakur) (7 พฤษภาคม 2404 - 7 สิงหาคม 2484) มีสมัญญานามว่า "คุรุเทพ" เป็นนักปรัชญาพรหโมสมัช นักธรรมชาตินิยม และกวีภาษาเบงกาลี เขาเริ่มเขียนบทกวีครั้งแรกตั้งแต่อายุเพียง 8 ปี ครั้นอายุได้ 16 ปี ก็ได้ตีพิมพ์เผยแพร่งานกวีนิพนธ์ภายใต้นามปากกา ภาณุสิงโห และเริ่มเขียนเรื่องสั้นกับบทละครในปี พ.ศ. 2420 ในช่วงปลายของชีวิต รพินทรนาถต่อต้านการปกครองของรัฐบาลอังกฤษอย่างเปิดเผย และร่วมเคลื่อนไหวการประกาศเอกราชของประเทศอินเดีย ผลงานของเขาที่สืบทอดต่อมาจนถึงปัจจุบัน นอกจากงานกวีนิพนธ์ที่มีชื่อเสียง ยังมีสถาบันการศึกษา คือ มหาวิทยาลัยวิศวภารตี


รพินทรนาถเขียนนวนิยาย เรื่องสั้น บทเพลง ละครเพลง และเรียงความมากมายที่เกี่ยวเนื่องกับการเมืองการปกครอง และเกี่ยวกับชีวิตส่วนตัว เขาได้รับรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรม ประจำปี ค.ศ. 1913 นับเป็นชาวเอเชียคนแรกที่ได้รับรางวัลโนเบล


รพินทรนาถ ฐากูร เกิดที่คฤหาสน์โชราสังโก นครกัลกัตตา ประเทศอินเดีย ท่านเกิดในวรรณะพราหมณ์ ตระกูลฐากูร ซึ่งเป็นตระกูลที่มั่งคั่งที่สุดตระกูลหนึ่งในแคว้นเบงกอล และไม่ได้มั่งคั่งแต่เพียงทรัพย์สมบัติเท่านั้น หากยังเพียบพร้อมไปด้วยสติปัญญาอีกด้วย กล่าวคือ ผู้สืบสกุลฐากูรหลายคน ได้บำเพ็ญกรณียกิจนานาประการ โดยเฉพาะกิจการด้านวัฒนธรรม ทั้งยังเป็นตระกูลที่ดื่มด่ำในวัฒนธรรมอินเดีย มีความเลื่อมใสต่อลัทธิที่ภักดีต่อพระวิษณุเจ้าเป็นพิเศษ


รพินทรนาถเป็นบุตรคนที่ 14 ในจำนวน 15 คนของ 'มหาฤๅษีเทเพนทรนาถ ฐากูร' ซึ่งให้ความสนใจต่อการศึกษาของบุตรคนเล็กมาก เมื่อรพินทรนาถอายุได้ 11 ปี หลังจากประกอบพิธีสวมด้ายมงคลยัชโญปวีตตามแบบศาสนาพราหมณ์ให้แล้ว ท่านบิดาก็พาบุตรคนเล็กเดินธุดงค์ไปยังเมืองอมฤตสาร์ และเทือกเขาหิมาลัยเป็นเวลาหลายเดือน กล่าวได้ว่าทัศนะทางด้านศาสนาของรพินทรนาถนั้น ได้รับอิทธิพลมาจากบิดามากทีเดียว รวมทั้งนิสัยที่ชอบเดินทาง นอกจากท่องเที่ยวในประเทศแล้ว ท่านยังได้ไปบรรยายที่สหรัฐอเมริกา 5 ครั้ง ยุโรป 5 ครั้ง ญี่ปุ่น 3 ครั้ง และที่จีน อเมริกาใต้ สหภาพโซเวียต และเอเชียอาคเนย์แห่งละครั้ง

ความสามารถในเชิงการเขียนของท่านเกิดขึ้นเมื่ออายุ 14 ปี รพินทรนาถเขียนเพลงปลุกใจ พาดพิงถึงงานมหกรรมเดลฮีเดอร์บาร์ โดยดำริของลอร์ด ลิททัน ด้วยท่าทีเย้ยหยัน เพราะเป็นความสนุกสนานท่ามกลางภาวะขาดแคลนของประเทศในขณะนั้น ความโด่งดังของรพินทรนาถทำให้ได้รับสมญานามว่า "เกอเธ่แห่งอินเดีย"
ปี พ.ศ. 2421 รพินทรนาถเข้าศึกษาที่โรงเรียนไบรตัน ประเทศอังกฤษ ด้วยความตั้งใจจะเป็นเนติบัณฑิต ต่อมาจึงได้เข้าเรียนกฎหมายที่ University College London แต่เรียนไม่จบและกลับมายังเบงกอลในปี พ.ศ. 2423 วันที่ 9 ธันวาคมปีเดียวกันนั้น รพินทรนาถสมรสกับ มฤณาลิณี เทวี (พ.ศ. 2416-พ.ศ. 2443) มีบุตรด้วยกันทั้งสิ้น 5 คน เป็นบุตรชาย 2 คน บุตรสาว 3 คน (ภายหลังเสียชีวิตไป 2 คน)รพินทรนาถพาครอบครัวไปตั้งรกรากในเขตที่ดินมรดกของตระกูลที่ Shilaidaha ซึ่งปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของประเทศบังกลาเทศ มีรายได้จากการเก็บค่าเช่าพออยู่ได้อย่างสบาย ช่วงนี้ท่านตั้งอกตั้งใจรังสรรค์งานออกมาชิ้นแล้วชิ้นเล่า ทั้งบทละครที่ท่านร่วมแสดง หรือแม้กระทั่งบทกวีที่ใช้กล่อมเด็ก ผลงานประมาณครึ่งหนึ่งของ Galpaguchchha ท่านก็ได้เขียนขึ้นในช่วงเวลานี้ ภรรยาของท่านได้ถึงแก่กรรมก่อนหลังจากใช้ชีวิตร่วมกันได้ 19 ปี

ในช่วงปลายของชีวิตเมื่ออายุ 70 ปี รพินทรนาถได้เริ่มเขียนภาพ ภายในเวลา 10 ปีท่านเขียนได้ถึง 3,000 ภาพ และได้นำผลงานเหล่านี้ไปแสดงตามที่ต่างๆ ทั้งในและนอกประเทศอินเดีย รวมทั้งที่ปารีสด้วย


ในช่วงสิบปีสุดท้ายของชีวิต รพินทรนาถยังคงดำเนินกิจกรรมทางสังคมอยู่อย่างต่อเนื่อง ท่านได้เรียบเรียงงานเขียนต่างๆ ออกมาได้เป็นหนังสือ 15 เล่ม ในจำนวนนี้รวมถึงงานเขียน Punashcha (2475) Shes Saptak (2478) และ Patraput (2479) ท่านยังทดลองสร้างผลงานแนวใหม่ๆ เช่นบทเพลงร้อยแก้ว และละครเต้นรำ เขียนนวนิยายเพิ่มอีกหลายเรื่องเช่น Dui Bon (2476) Malancha (2477) และ Char Adhyay (2477) นอกจากนี้ รพินทรนาถยังให้ความสนใจกับวิทยาศาสตร์ ชีววิทยา ฟิสิกส์ และดาราศาสตร์ ซึ่งศาสตร์ต่างๆ เหล่านี้ปรากฏแทรกอยู่ในบรรดางานกวีนิพนธ์ของท่านด้วย แสดงให้เห็นถึงความเคารพนบน้อมต่อธรรมชาติ


รพินทรนาถ ฐากูร ได้กลับมาถึงแก่กรรมที่คฤหาสน์หลังเดิมที่ตนเคยพำนักในวัยเยาว์ เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2484 รวมอายุ 80 ปี 3 เดือน




ยวาหระลาล เนห์รู (ฮินดี: जवाहरलाल नेहरू, Jawaharlal Nehru, 14 พฤศจิกายน ค.ศ. 1889 - 27 พฤษภาคม ค.ศ. 1964) รัฐบุรุษของอินเดีย และนายกรัฐมนตรีคนแรก หลังได้รับเอกราชจากอังกฤษ ดำรงตำแหน่งเป็นเวลา 17 ปี ตั้งแต่ ค.ศ. 1947 จนกระทั่งถึงแก่อสัญกรรมในตำแหน่งเมื่อ ค.ศ. 1964


ยวาหระลาล เนห์รู เป็นผู้ใกล้ชิด และร่วมเรียกร้องเอกราชให้กับอินเดียร่วมกับมหาตมะ คานธี และมีบทบาทโดดเด่นขึ้นจนได้รับสืบทอดเป็นทายาททางการเมือง โดยรับตำแหน่งประธานพรรคคองเกรสของอินเดียสืบต่อจากคานธี


ในปี ค.ศ. 1955 เนห์รู เป็นบุคคลหลักที่ร่วมก่อตั้งกลุ่มประเทศไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด (Non-Aligned Movement - NAM)


ยวาหระลาล เนห์รู สมรสกับนางกมลา คาอุล มีบุตรสาวคนเดียวคือ อินทิรา เนห์รู มีหลานชายชื่อ ราจิฟ คานธี บุคคลทั้งสามล้วนเป็นนายกรัฐมนตรีของอินเดีย


คนอินเดียสองเผ่าพันธุ์


ผู้ปกครองท่านหนึ่งสนใจจะส่งลูกหลานไปเรียน โรงเรียนกินนอนชั้นมัธยมที่ สา

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์