ทางรถไฟสายมรณะ

ทางรถไฟสายมรณะ

        หลักฐานที่ยืนยันความโหดร้ายของกองทัพแห่งจักรวรรดิญี่ปุ่นไม่ได้มีแค่ในประเทศรอบๆของญี่ปุ่นเท่านั้นครับ สิ่งที่คอยประจานความโหดร้ายของสงครามนี้มีอยู่ในประเทศไทยเช่นกัน สิ่งนั้นก็คือ ทางรถไฟสายมรณะ และสะพานข้ามแม่น้ำแคว จ.กาญจนบุรีครับ


         เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2484 (วันเดียวกับที่กองทัพญี่ปุ่นโจมตีฐานทัพเรือเพิร์ลฮาร์เบอร์ของสหรัฐบนเกาะฮาวาย) กองทหารแห่งจักรวรรดิญี่ปุ่นได้บุกเข้าประเทศไทยทางทะเลอ่าวไทยตลอดแนว ตั้งแต่จันทบุรี ระนอง สมุทรปราการ สงขลา ปัตตานี ส่วนทางบกนั้นได้บุกเข้ามาทางกัมพูชา ผ่านเมืองพระตะบอง ศรีโสภณ และจังหวัดพิบูลย์สงคราม ในทุกแห่งที่ทหารญี่ปุ่นบุกเข้ามานั้น ทหาร ตำรวจ ยุวชนทหาร และประชาชนไทย ได้พลีชีพเข้าปกป้องดินแดนไทยอย่างสุดสามารถ แต่รัฐบาลของไทย ซึ่งนำโดยจอมพล ป. พิบุลย์สงคราม กลับมีมติให้หยุดยิงกับทหารญี่ปุ่น ยินยอมให้ทหารญี่ปุ่นใช้ประเทศไทยเป็นฐานในการผ่านไปยึดเพื่อนบ้านที่เป็นอาณานิคมของอังกฤษ ซึ่งก็คือพม่าและมลายูได้ ทั้งๆที่หากเราจะสู้ต่อก็คงพอสู้ได้อยู่


       
การยอมจำนนของจอมพล ป. ได้ถูกสื่อต่างชาติวิจารณ์อย่างหนักถึงความท่าดีทีเหลวของรัฐบาลไทย ที่ภายนอกดูเหมือนว่าจะเป็นชาติที่มีความก้าวหน้าที่สุดชาติหนึ่งในเอเชียขณะนั้น เป็นรองแค่ญี่ปุ่นประเทศเดียว แต่พอข้าศึกมาเคาะประตูหน่อยก็หมดน้ำยา กลายเป็นชาติที่ถูกยึดครองง่ายที่สุดในสงครามโลกครั้งที่ 2 ไปเลย(ส่วนที่ยึดยากที่สุดก็คือรัสเซียครับ) ในหนังสือเรียนประวัติศาสตร์นั้น เรามักจะโดนคนเขียนต้มตุ๋นว่าประเทศเราเป็นเอกราชมาโดยตลอด ไม่เคยตกเป็นเมืองขึ้นของใคร ให้เราภูมิใจในเอกราชของชาติไทย มั่วทั้งนั้นแหละครับ เราเคยถูกญี่ปุ่นยึดครับ แถมยึดไปแบบง่ายๆด้วย อยากให้ยอมรับความจริงดีกว่ามาโกหกตัวเองครับ เพื่อป้องกันไม่ให้ประวัติศาสตร์ซ้ำรอยเดิม


        ต่อมาทหารญี่ปุ่นก็สามารถยึดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไว้ได้โดยสิ้นเชิง และได้วางแผนที่จะบุกยึดอินเดียและออสเตรเลียต่อไป ซึ่งถ้าหากยึดได้ก็จะถือว่าการครอบครองโลกของญี่ปุ่นร่วมกับเยอรมันและอิตาลีได้บรรลุผลแล้ว แต่การโจมตีออสเตรเลียนั้นไม่ง่าย เพราะสหรัฐ อังกฤษ ดัชต์ ร่วมกันต่อต้านญี่ปุ่นอย่างสุดฤทธิ์ ถึงแม้ว่าญี่ปุ่นจะสามารถขยายแนวรบไปถึงซิดนี่ย์ได้ แต่ก็ถูกสกัดกั้น จนแนวรบที่ขยายไปนั้นต้องสลายไปอย่างรวดเร็ว ทำให้ฝ่ายสิมพันธมิตรทำ counter-attack ยึดปาปัวนิวกินิและฟิลิปินส์คืนมาได้ญี่ปุ่นจึงต้องหันคมดาบไปทางอินเดียแทน โดยจะใช้พม่าเป็นฐานในการบุกเข้าอินเดียทางมณีปุระและอัสสัม


        แต่การจะลำเลียงทหารและอาวุธเข้าไปในอินเดียนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะภูมิประเทสตั้งแต่กาญจนบุรีของไทยไปจนถึงร่างกุ้งนั้นเต้มไปด้วย ป่าเขาลำเนาไพร สัตว์ร้าย และไข้มาลาเรีย ถนนหนทางก็ธุรกันดาร การเคลื่อนทัพด้วยรถยนต์นั้นทำไม่ได้แน่นอน ต้องใช้รถไฟสถานเดียวแต่ปัญหามันก็มีอีก นั่นก็คือเส้นทางจากกายจนบุรีไปถึงร่างกุ้งนั้น ยังไม่มีทางรถไฟเลยสักเส้น กองทัพยี่ปุ่นจึงต้องสร้างทางรถไฟขึ้นมาเอง ซึ่งการจะใช้หน่วยทหารช่างของตนนั้นดูจะไม่เหมาะเพราะญี่ปุ่นต้องใช้หน่วยนี้ไปทำภารกิจอย่างอื่นในสงครามอยู่ ดังนั้นวิธีการที่ดีที่สุดก็คือ "การใช้เชลยศึกที่จับมาได้มาสร้างทางรถไฟให้"


        ญี่ปุ่นจึงได้ส่งเชลยศึกฝ่ายสัมพันธมิตรที่จับมาได้ในการรบหลายแห่งที่ตนได้รับชัยชนะมายังชายแดนไทย-พม่า เช่น เชลยศึกอเมริกาที่จับมาได้ตอนบุกฟิลิปินส์ เชลยอังกฤษที่จับได้ตอนบุกพม่า เชลยศึกหรือชาวบ้านจีนที่ตนจับมาได้จากการรุกรานแผ่นดินจีนอย่างป่าเถื่อน หรือชาวมาเลย์ที่ถูกจับมาเป็นทาส เป็นต้น ในจำนวนนี้มีคนไทยจำนวนหนึ่งที่ถูกจับมาด้วย โดยที่รัฐบาลไทยไม่กล้าโต้แย้งการกระทำของญี่ปุ่นเลย



        ทางรถไฟสายมรณะ ที่เลื่องลือกระฉ่อนไปทั่วโลก จึงเริ่มต้นขึ้นในปี พ.ศ. 2485 เริ่มจากชุมทางหนองปลาดุก จังหวัดราชบุรี แล้วต่อไปยังประเทศพม่า ทางด้านเมาะละแหม่ง ไปถึงร่างกุ้ง รัฐบาลไทยจึงมีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการผสม ขึ้นมาพิจารณาเรื่องต่าง ๆ ซึ่งคณะกรรมการ ประกอบด้่วย


        ในขณะที่สร้างนั้น กองทหารญี่ปุ่นได้สั่งให้เชลยศึกที่ขนมาเป็นคนงานสร้างสะพานนั้นต้องทำงานอย่างหนักหามรุ่งหามค่ำ ไม่ได้หลับไม่ได้นอน โดยงานที่ทหารยุ่นใช้ให้เชลยเหล่านี้ทำนั้น มีตั้งแต่งานเล็กๆอย่างขนไม้หมอนหรือรางเหล็กไปวาง ไปจนถึงงานเสี่ยงตายอย่างเจาะภูเขา สร้างอุโมงค์


        ชีวิตประจำวันของเชลยศึกเหล่านี้เต็มไปด้วยความทุกข์ทรมาณแสนสาหัส เริ่มตั้งแต่ชีวิตในค่ายกักกันอันสกปรก เต้มไปด้วยอาเจียนและอุจจาระ ที่หลับที่นอนฟูกหมอนไม่มีให้

        เชลยที่ตรากตำทำงานหนักมาตลอดทั้งวันทั้งคืน ได้รับอาหารประทังชีวิตเพียงน้อยนิด ส่วนใหญ่เป็นอาหารเหลือทิ้งจากทหารญี่ปุ่นที่กินไม่หมด ถ้าวันไหนทหารญี่ปุ่นกินหมด เชลยเหล่านี้ก็จะต้องอดอาหาร ทำให้เชลยศึกเกือบทุกคนต้องมีสภาพหนังหุ้มกระดูก และมีจำนวนมากที่เสียชีวิตจากการอดอาหาร


        ถ้าหากมีเนินเขาเตี้ยๆขวางเส้นทางอยู่ เชลยศึกก็จะต้องขุดเพื่อให้เขาทั้งลูกหายไป ให้หน้าดินราบเรียบ ซึ่งในการทำเช่นนี้ ได้ทำให้เชลยศึกมากมายต้องเสียชีวิตจากอุบัติเหตุหินหล่นลงมาทับ และโคลนถล่ม

        ถ้าหากเส้นทางพุ่งไปเจอหน้าผาหรือหุบเหวขวางอยู่ ก็จำเป้นที่จะต้องสลักหน้าผาเพื่อให้ทางรถไฟอ้อมเหวไปได้ หรือไม่ก็ต้องทำสะพานไม้อ้อมเหวไป ซึ่งทำให้เชลยมากมายต้องเสียชีวิตจากอุบัติเหตุ ยิ่งถ้าวันไหนฝนตก ทหารญี่ปุ่นก็มิได้ให้เชลยหยุดพักเลย กลับยิ่งสั่งให้ทำงานหนักเข้าไปอีก คนงานมากมายถูกพายุฝนพัดพาตกจากหน้าผาลงสู่มหากระแสธารแม่น้ำแควน้อยเบื้องล่าง และอีกมากมายที่สาบสุญ

        สะพานข้ามแม่น้ำแควใหญ่ซึ่งในปัจจุบันความเจริญได้แผ่ไปถึงแล้วนั้นก็เคยมีประวัติอันเจ็บปวดเช่นกันนี่คือบันทึกของนาย จอร์ช โวเกส อดีตเชลยศึกถึงเหตุการณ์ในการสร้างสะพานนี้ครับ"ครั้งแรก ตั้งเสาเอาตะลุมพุก กระแทกเข็มลงในดิน ใช้คนสองชุด สำหรับดึงเชือกหลายเส้น แล้วปล่อยลูกตุ้ม กระแทกให้เข็มใหญ่ลึกลงไปในดิน เมื่อเข็มเหล่านี้ หยั่งลึก และได้ระดับดีแล้ว ก็สร้างสะพานไม้ บนฐานไม้เหล่านั้น เชลยสงครามบางคน นั่งถาก แต่เสาเข็มให้แหลม บางคนาดึงเชือกลากลูกรอก เอาไม้สักขึ้นจากแม่น้ำระยะ 30 ฟุต จากเบื้องล่าง


        อะไรก็พอทน แต่แสงแดดในยามบ่าย แผดเผาผิวหนังพวกเรา จนไหม้เกรียม แถมกางเกง ซึ่งไม่มีจะนุ่งด้วย เอาเศษผ้ามาทำเป็นผ้าเตี่ยว ปกปิดบัง เครื่องเพศไว้เพียงนิดเดียว เหงื่อไหลโทรมกาย ไหลเข้าตาแสบ การฉุดดึงไม้ใหญ่ให้เข้าที่ ดังทาส ฟาโรห์ สร้างปิระมิดในอียิปต์สมัยโบราณ นั่งร้านสูง มีทหารญี่ปุ่นคนหนึ่ง คอยบอกให้สัญญาณ ปล่อยลูกตุ้ม ลงบนเข็ม แล้วก็เริ่มลากชักไปใหม่


        เสียงนับ 1 - 2 ดังตลอดเวลาบ่าย มือพอง เลือดไหล แสดงแดดในยามบ่าย ไม่เคยเวทนาปรานีใคร พอ 6โมงเย็น เราก็ลงอาบน้ำพร้อม ๆ กับพลทหาร งานทำสะพานร้ายทารุณกว่าพูนดินทำถนน รอรับรางรถไฟ เรารู้ทุกคนว่า ทะระโมโต้ เกลียดนายทหารมากกว่าพลทหารและนายสิบ สิ่งที่กล่าวมานี้ เป็นงานประจำวันของชุดเชลยสงคราม ระดับนายทหารสัญญาบัตร จนสะพาน 2 แห่งนี้ แล้วเสร็จ และเราออกจากค่ายชนไก่ด้วยเวลาเพียงวันเดียว เราเอาซุงขนาดใหญ่ขึ้นจาก แม่น้ำ 88 ตัน ด้วยมือและเรี่ยวแรงของมนุษย์ แล้วแบกต่อไปอีก 60 หลา วางซ้อนไว้ ทำไปจนกว่า จะหมดแรงหรือเจ็บป่วย....และเขาได้กล่าวถึงประสบการณ์ที่โหดร้ายที่สุดในชีวิต
"วันวานนี้เสียชีวิต 9 คน และก่อน 11 โมงเช้าวันนี้ ตายไปอีก 2 คน บรรดากุลีเหล่านี้ (หมายถึง พวกทมิฬ คนงานที่กวาดต้อนมาจากมลายู) ได้เข้ามาอยู่ใน ประเทศไทย ประมาณ 4 เดือน แพทย์สองคนได้บอกว่า อย่างน้อย ๆ ตายไปแล้วถึงแสนคน พวกเขา ตายอย่างไร ที่ตำบลท้องช้าง วันแรก ๆ นายทหารผู้หนึ่ง ถูกโบยตีอย่างหนัก เพราะไม่ยอมสังหารคนป่วยทมิฬ ผู้หนึ่ง ซึ่งเป็นอหิวาตก์ฯ ใกล้ตาย เขาออกไปพบกับ นายทหารอังกฤษคนอื่น ๆ ทุกวัน เพื่อไปเก็บศพกุลี เหล่านั้น ซึ่งคลานไปตายในป่า นำมาเผาเสีย



        ครั้งหนึ่ง ชาวทมิฬชราผู้หนึ่ง ยันตัวขึ้น ขณะอยู่ในเปล ซึ่งวางระหว่างศพ กำลังจะลงในหลุม ที่ฝังรวมกัน ทหารญี่ปุ่นที่ควบคุม ก็ฟาดศีรษะทมิฬผู้นั้น ด้วยพลั่ว ร่างของเหลื่อเซถลาลงไปกองสุมรวมกันศพ เหล่านั้น ก่อนที่จะถูกดินกลบวิธีกำจัดศพพวกทมิฬ โดยทั่วไป ก็คือ โยนศพลงไปในแม่น้ำ ส่วนมากจะถูกทิ้งให้ตายในที่แจ้ง ก่อนจะตาย ก็ปล่อยให้นั่งจมอยู่ในบ่อส้วม (เพราะเป็นอหิวาตก์ฯ ถ่ายไม่หยุด) แมลงวันตอมเต็มตัว


        ศพหนึ่งนั่งพิงต้นไม้ ถูกสัตว์ประเภทหนู - เม่น มาแทะ เหลือแต่กระดูกขาวโพลน ภายใน 48 ชั่วโมง โครงกระดูกก็ยังอยู่ในลักษณะเดิม คือท่านั่งถ่าย...มีคนตายมาก ๆ เสียจนเวลาที่กลบดิน เกลี่ยดิน ปิดหลุมฝังศพหมู่ มือศพยังโผล่พ้นดินที่ถมขึ้นมา คนเหล่านี้ต้องพบกับการตายอย่างทารุณ และทรมาน ทุกรูปแบบที่โลกนี้จะพึงมี...."เรื่องสุขอนามัยของเชลยศึกนั้นเป็นเรื่องที่ทหารญี่ปุ่นมองข้ามไป เชลยศึกที่ทำงานอยู่กับดินและหินจะได้อาบน้ำแค่สัปดาห์ละครั้งเท่านั้น ซึ่งการอาบนั้นไม่มีห้องน้ำให้ แต่เป็นการปล่อยให้ไปอาบแบบตามมีตามเกิดในแม่น้ำลำคลอง ซึ่งในการลงไปอาบน้ำแต่ละครั้งของเชลยนั้น จะมีทหารญี่ปุ่นคอยยืนคุม คอยเป่านกหวีดให้ขึ้นมาและให้ผลัดต่อไปลงไปได้


        เสื้อผ้าที่เชลยจะใส่ได้มีเพียงผ้าเตี่ยวผืนเล็กๆ โดยทหารญี่ปุ่นไม่อนุญาตให้เชลยศึกได้ทำความสะอาดครุ่งนุ่งห่มเพียงผืนเดียวของตน ทำให้เชลยศึกต้องใส่เครื่องนุ่งห่มอันสกปรกนั้นไปตลอดความลำบากของเชลยศึกนั้น สร้างความเวทนาให้กับชาวบ้านที่พบเห็นเป็นอย่างยิ่ง และนี่ก้คือเรื่องราวหนึ่งที่ไม่ควรถูกลืมเลือนครับ

       
ในคืนวันที่ 18 ธันวาคม 2485 สามเณรลูกวัดท่านนึงได้เดินทางไปมนัสการเจ้าอาวาสวัดดอนตูม ระหว่างทางได้เจอเชลยศึกคนนึง เข้ามาขอบุหรี่กับสามเณร สามเณรก็ยื่นบุหรี่ให้ ทหารญี่ปุ่นเห็นพอดี ไม่พอใจ ก็เดินเข้ามาตบหน้าสามเณรล้มคว่ำไปกับพื้น
กรรมกรไทยในค่ายที่เห็นเหตุการณ์ดังกล่าวไม่พอใจกับการกระทำของทหารญี่ปุ่น ถือว่าเป็นการลบหลู่พระพุทธศาสนา ยิ่งเป็นการตบหน้าด้วยแล้วคนไทยถือมาก เลยพาพรรคพวกประมาณยี่สิบกว่าคนไปประท้วงกับนายทหารญี่ปุ่น และรับปากว่าจะแจ้งให้ผู้ใหญ่ทราบในวันรุ่งขึ้น
ในคืนวันนั้นเองก็เกิดความชุลมุนวุ่นวายเมื่อทหารญี่ปุ่นจำนวนหนึ่งถืออาวุธปืนขั้นไปบนศาลาและกราดยิง คนไทยที่อยู่บนศาลาแตกกระเจิงวิ่งหนีคมกระสุนกันไปคนละทิศละทาง กรรมกรไทยไม่มีอาวุธ ก็อาศัยจอบ เสียม ต่อสู้กับทหารญี่ปุ่น พอดีกับนายทหารญี่ปุ่นและนายอำเภอบ้านโป่งเดินทางมายังวัดดอนตูม และเข้าระงับเหตุการณ์ในครั้งนี้ ปรากฏว่ามีทหารญี่ปุ่นและคนไทยตายจำนวนหนึ่ง เป็นเหตุให้ทหารญี่ปุ่นโกรธแค้นยกพวกบุกล้อมโรงพักสถานีตำรวจบ้านโป่ง และเปิดฉากต่อสู้ยิงกัน
 

     เหตุการณ์ที่กล่าวมาทั้งหมดดังกล่าวทำให้กรรมกรไทยหนีจ่ายค่ายหมด ต้องอาศัยกรรมกรไทยจากจังหวัดอื่นเข้ามาทำงานแทน และเป็นเรื่องร้ายแรงที่กระทบถึงความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับญี่ปุ่น และการก่อสร้างรถไฟเชื่อมไทยกับพม่า ถึงขนาด จอมพล ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในสมัยนั้น ได้ตั้งคณะกรรมการสอบสวนขึ้นมาคณะหนึ่ง สุดท้ายผู้ที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ทั้งหมดถูกนำขึ้นศาลทหารที่กรุงเทพ ในปีต่อมา วันที่ 10 มิถุนายน 2486 สามเณรลูกวัดถูกตัดสินประหารชีวิต ความผิดฐานติดต่อกับเชลย ยุยงกรรมกรไทยให้ต่อสู้กับทหารญี่ปุ่น แต่จำเลยให้การรับสารภาพลดโทษเหลือจำคุกตลอดชีวิต ส่วนจำเลยที่เป็นกรรมกรให้จำคุกตลอดชีวิต ฐานเสพสุรามึนเมา ชักชวนกรรมกรคนอื่นๆให้จับอาวุธสู้กับทหารญี่ปุ่นเป็นเหตุให้ทหารญี่ปุ่นถึงแก่ความตายและบาดเจ็บ รัฐบาลไทยได้มอบเงินชดเชย 80,000 บาทแก่ครอบครัวทหารญี่ปุ่นที่เสียชีวิต แต่ฝ่ายญี่ปุ่นได้บริจาคเงินจำนวนดังกล่าวคืนแก่ฝ่ายไทย และนี่ก็เป็นเสี้ยวหนึ่งของประวัติศาสตร์สงครามโลกครั้งที่ 2


       ทางรถไฟสายนี้ถูกสร้างเสร็จเมื่อเดือนกุมภาพันธุ์ ปี 2486 รวมเวลาในการสร้างกว่า 4 เดือน กลืนชีวิตเชลยศึกไปกว่า 175000 คน ทำให้ญี่ปุ่นสามารถลำเลียงกำลังบำรุงจากไทยไปยังแนวรบในพม่าได้
แต่พอเอาเข้าจริงๆแล้ว ญี่ปุ่นกลับไม่ได้ใช้งานทางรถไฟสายนี้ได้อย่างเต็มที่เท่าไร เพราะหลังทางรถไฟสร้างเสร็จได้ไม่นาน ฝ่ายสัมพันธมิตรก็เป็นฝ่ายรุกกลับ ประเทศเยอรมันและอิตาลีถูกปราบไป ทำให้ญี่ปุ่นต้องเผชิญหน้ากับฝ่ายพันธมิตรอย่างโดดเดี่ยว
ฝ่ายสัมพันธมิตรได้เข้าผลักดินทหารญี่ปุ่นในจีนจนแทบตกทะเล เมื่อช่วยเหลือจีนได้แล้ว เป้าหมายต่อไปของฝ่ายพันธมิตรก็คือปิดล้อมและยึดครองประเทศไทยที่เป็นพันธมิตรกับญี่ปุ่น โดยได้บุกกราดจากจีนเข้าไปในพม่า จนญี่ปุ่นต้องเสียพม่าไป และกำลังทางเรือของฝ่ายสัมพันธมิตรได้เข้าปลดปล่อยหมู่เกาะอินโดนีเซียและมลายูได้ในเวลาต่อมา


       เมื่อปิดล้อมประเทศไทยได้แล้ว การโจมตีประเทศไทยของฝ่ายพันธมิตรก็เริ่มขึ้น ยุทธการที่สำคัญๆก็คือการที่ระเบิดสถานีรถไฟบางกอกน้อย การบุกยึดสหรัฐไทยเดิม และทางรถไฟสายมรณะก็เป็นเป้าหมายหนึ่งของฝ่ายสัมพันธมิตรเช่นกัน

        
     ฝ่ายสัมพันธมิตรได้โจมตีทางอากาศอย่างหนักเพื่อตัดทำลายเส้นทางสายนี้ ทำให้ทหารญี่ปุ่นมากมายต้องเสียชีวิตจากการทิ้งระเบิดและด้วยปืนกลจากเครื่องบิน บรรดาเชลยศึกได้ลิงโลดดีใจทุกครั้งที่เครื่องบินของฝ่ายสัมพันธมิตรได้ปรากฎขึ้นเหนือน่านฟ้ากาญจนบุรี สะพานข้ามแม่น้ำแควก็ได้ถูกทิ้งระเบิดจนใช้การไม่ได้เช่นกัน ทำให้ญี่ปุ่นไม่อาจใช้ประโยชน์จากเส้นทางสายนี้ได้อีกเลย 


     สงครามโลกครั้งที่ 2 ได้ยุติลงจากการที่สหรัฐได้ทิ้งระเบิดปรมณูทำลายเมืองฮิโรชิม่าและนางาซากิอันเป็นศูนย์รวมทหารของญี่ปุ่นจนพินาศสิ้น ทำให้ญี่ปุ่นต้องยอมแพ้อย่างไม่มีเงื่อนไข สหรัฐได้ยุบกองทัพอันโหดร้ายของญี่ปุ่นลง โดยการปลดทหารทั้งหมดออกจากกองทัพ ประหารชีวิตนายทหารมากมายรวมทั้งนายพลโตโจ นายกรัฐมนตรีของญี่ปุ่น เรียกคืนทหารญี่ปุ่นทั้งหมดกลับประเทศ ทำลายอาวุธยุทโธปกรณ์ทั้งหมดทิ้งไป 


   ทหารฝ่ายสัมพันธมิตรได้เข้าสู่ประเทศไทยเพื่อปลดอาวุธทหารญี่ปุ่น ปลดปล่อยเชลยศึกทั้งหมดให้เป็นอิสระ ทำให้บรรดาเชลยศึกที่ถูกส่งมาสร้างทางรถไฟสายมรณะที่ยังมีชีวิตรอดอยู่ถูกปลดปล่อยให้เป็นอิสระและได้กลับประเทศทั้งหมด ปิดฉากเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ ณ ทางรถไฟสายมรณะลงไปชั่วนิรันดร์

                                            


ที่มา : http://www.bkk.in.th/Topic.aspx?TopicID=40846

ทางรถไฟสายมรณะ


ทางรถไฟสายมรณะ


ทางรถไฟสายมรณะ


ทางรถไฟสายมรณะ


เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์