วันรักการอ่าน

วันรักการอ่าน


 ผ่านไปอีกเดือนแล้ว  ในวงการการศึกษา  กำลังคึกคักกันเรื่องการปฏิรูปการศึกษารอบสอง  ได้มีมติจากคณะรัฐมนตรี  ที่เห็นชอบหลักการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (2552-2561) ซึ่งกำหนดให้รักการอ่านเป็นวาระแห่งชาติ  และยังเป็นทศวรรษการอ่านของประเทศ  วันที่ 2 เมษายน ซึ่งเป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี  ให้เป็นวันรักการอ่าน  ในสาระ...ควรรู้  ขออนุญาตนำบางส่วนของพระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี  ตอนที่ทรงเล่าถึงสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ  ทรงใช้อบรมพระราชโอรสและพระราชธิดา  ซึ่งสะท้อนถึงวิธีการสร้างนิสัยรักการอ่านในศาสตร์และศิลป์  ซึ่งสังเคราะห์ได้ 10 วิธีการ  เพื่อพสกนิกรของพระองค์  อีกน้อมนำไปใช้ปรับให้เหมาะสม  เพื่อเสริมสร้างนิสัยรักการอ่านในครอบครัวของตนได้


     วิธีที่ 1 ใช้เวลาสบาย ๆ ของครอบครัวเพื่อส่งเสริมการอ่าน  ข้อความในพระราชนิพนธ์เรื่อง "แม่"
     "...พอค่ำลง  เราก็ขึ้นมารับประทานอาหาร  ตอนอาหารนี้ถ้าว่างพระราชกิจ  สมเด็จแม่มักจะอยู่ด้วย  ประการแรกท่านจะได้ดูว่ารับประทานอาหารที่มีคุณค่าทางอาหารพอหรือไม่  ประการที่สองดูมารยาทโต๊ะ  และประการที่สาม เป็นข้อที่พี่น้องทุกคนรวมทั้งพี่เลี้ยงชอบที่สุดคือ..."
     การน้อมนำไปปรับใช้ให้เหมาะสม
     การสร้างเสริมนิสัยรักการอ่านเริ่มต้นที่พ่อแม่  เพราะถือว่าใกล้ชิดมากที่สุด  ยกเว้นกรณีที่ขาดพ่อหรือแม่  จำต้องอาศัยคนที่อยู่ด้วย  ซึ่งพ่อแม่ผู้ปกครองควรจัดเวลาในการอ่าน  หรือสร้างความสัมพันธ์กันระหว่างเด็กกับหนังสือที่ชัดเจน  อย่าทิ้งไว้กับคอมฯ ทีวี  ซึ่งไม่สามารถพูดคุยได้  หรืออาจพาไปหาหนังสือที่ร้านหนังสือ  ห้องสมุดประชาชน  หรือวิธีอื่น ๆ การเสริมสร้างการอ่าน  ต้องไม่เคร่งเครียด  ควรเป็นเรื่องผ่อนคลาย  ทุกคนมีความสุขร่วมกัน
      วิธีที่ 2 เลือกหนังสือที่ดีและเด็ก ๆ สนุก
      ข้อความในพระราชนิพนธ์เรื่อง "แม่"
      "...ท่านจะเลือกหนังสือดี ๆ สนุก ๆ มาเล่าให้ฟัง..."
      การน้อมนำไปปรับใช้ให้เหมาะสม
      หนังสือดีมีคุณภาพได้มาตรฐาน  สนุก  เป็นจุดเริ่มต้นที่จะทำให้เด็กผูกพันกับหนังสือและการอ่าน  เมื่อรู้ว่าลูกชอบเรื่องแบบใด  การส่งเสริมให้เกิดการขวนขวายให้ลูกอ่านเองก็จะง่ายขึ้น  เพราะการอ่านจะช่วยเสริมปัญญา  และช่วยให้เด็กมีสมาะที่ดีในขณะที่อ่านหนังสือนั้น ๆ อย่างจดจ่อ
     วิธีที่ 3 ให้เด็ได้รู้เรื่องราวหลากหลาย  จากพหุวัฒนธรรม
     ข้อความในพระราชนิพนธ์ เรื่อง "แม่"
     "...หนังสือทีท่านนำมาเล่า  บางทีก็เป็นนิทานธรรมดา ๆ หรือนิทานเรื่องชาดกในพระพุทธศาสนา  บางทีก็เป็นประวัติศาสตร์  ประวัติบุคคลสำคัญและความรู้รอบตัวอื่น ๆ บางครั้งเป็นข่าวจากหนังสือพิมพ์รายสัปดาห์  ตอนหลัง ๆ นี้ ท่านชอบอ่านเป็นภาษาอังกฤษให้เราหัดฟังภาษาด้วย..."
    การน้อมนำไปปรับใช้ให้เหมาะสม
     หนังสือบางประเภท  หรือเรื่องราวต่าง ๆ อาจไม่สนุก  ไม่น่าสนใจ  สำหรับเด็ก ๆ หากได้รับการแนะนำจากพ่อแม่  เพื่อสื่อสารกับลูกอย่างมีอรรถรส  จินตนาการขอลูกก็จะกว้างไกล  และก่อเกิดแรงบันดาลใจที่หลากหลาย  ให้สนใจและเกิดความรู้กว้างขวาง  มีใจเปิดรับหนังสือที่ดูว่าไม่ชอบอ่าน  รู้เหตุรู้ผล รู้ความแตกต่าง  ที่มาที่ไปของวัฒนธรรมที่สอดแทรกในหนังสือ
     วิธีที่ 4 มีกิจกรรมพัฒนาทักษะการคิด
     ข้อความในพระราชนิพนธ์เรื่อง "แม่"
     "...นาน ๆ ที ก็อาจมีการถามปัญหาทวนความว่า ถ้าตอบถูกมักมีรางวัลเงินสด 1 บาท..."
     การน้อมนำไปปรับใช้ให้เหมาะสม
     การพัฒนาทักษะการคิด  เป็นกิจกรรมที่สำคัญที่ควรทำควบคู่ไปกับการสร้างนิสัยรักการอ่าน  เพราะสุดท้ายก็หวังว่าเด็ก ๆ จะได้ประโยชน์จากการอ่าน  เพราะการอ่านเป็นการคิดในระดับต้น ๆ (คือ จำ เข้าใจ ประยุกต์)  และทักษะความคิดระดับสูง (วิเคราะห์  สังเคราะห์  ประเมิน)  การให้กิจกรรมต่าง ๆ เพื่อกระตุ้นการคิด  สร้างแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์เป็นเรื่องสำคัญ
     วิธีที่ 5 ใช้ทักษะนาฏการในการเล่า
    ข้อความในพระราชนิพนธ์ เรื่อง "แม่"
     " ....เป็นที่ขบขันกันในครอบครัวว่า  หนังสือธรรมดาที่น่าเบื่อที่สุดในโลกของสมเด็จแม่เล่า  มันสนุก  ตื่นเต้น  มีรสชาติขึ้นมาทันที..."
     การน้อมนำไปปรับใช้ให้เหมาะสม
     วิธีการแบบนาฏการที่ง่ายที่สุดในการเล่าเรื่อง  ให้น่าสนใจสำหรับเด็ก ๆ คือ
     1. แยกเสียงบรรยาย หรือการเล่าโดยทั่วไป ออกจากบทสนทนาของตัวละคร
     2. เล่าอย่างมีชีวิตชีวา  ให้เห็นภาพพจน์ของสิ่งที่เล่า  และภาวะอารมณ์ของตัวละคร
     3. ออกเสียงชัดเจนถูกต้องตามอักขรวิธี  แต่ขณะเดียวกัน มีลุกเล่นแปลก ๆ บ้าง
     4. ผู้เล่ามีความสุขในการเล่าไปพร้อมกับเด็ก ๆ
     วิธีที่ 6 ใช้กิจกรรมศิลปะเชื่อมโยงกับการอ่าน
     ข้อความในพระราชนิพนธ์เรื่อง "แม่"
     "...ท่านจะเน้นระบายสี..."
     การน้อมนำไปปรับใช้ให้เหมาะสม
     กิจกรรมด้านศิลปะที่เกี่ยวเนื่องกับหนังสือและการอ่าน  นอกจากจะช่วยพัฒนาสุนทรียภาพในเด็กแล้ว  ยังช่วยเสริมสร้างความเข้าใจในมิติอื่น ๆ ของเรื่องราวเสมือนการวิจัยย่อย ๆ ที่เด็กทำได้อย่างสนุกสนาน  ซึ่งมีหลายหลากวิธี  วาดรูป  ระบายสี  โดยใช้เทคนิคต่าง ๆ สีไม้ สีน้ำ  สีเทียน  สีดิน ฯลฯ


เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์