เปิดโปงองค์กรลับ Freemason







เรื่องราวของสมาคมฟรีเมสันส์เริ่มต้นเป็นที่น่าสนใจก็เนื่องจากความสัมพันธ์ของสมาคมกับสมาคมลับกลุ่มอื่นๆ ที่มีจุดมุ่งหมายเร้นลับในการก่อตั้ง คือกลุ่มอัศวินแห่งพระผู้เป็นเจ้า (KNIGHTS TEMPLAR) และกลุ่มนักบวชแห่งไซออน(PRIORY OF SION) สมาคมสองกลุ่มนี้มีบันทึกประวัติรวมถึงการเปิดเผยภารกิจค่อนข้างชัดเจนว่าเป็นกลุ่มสมาคมที่มีแนวของการปฏิบัติที่เกี่ยวเนื่องกับศาสนาคริสต์ ความสัมพันธ์นี้เองที่ทำให้สมาคมฟรีเมสันส์ที่ไม่ใช่กลุ่มองค์กรศาสนา มิใช่เป็นเพียงแค่การรวมกลุ่มกันของกลุ่มคนที่มีวิชาชีพช่างก่อสร้างด้วยกันเองเท่านั้น แต่เป็นการรวมกลุ่มของผู้ที่มีความเชื่อไปในทิศทางเดียวกันอีกด้วย ....โดยเฉพาะความเชื่อจากศาสนาคริสต์ที่แตกต่างจากความเชื่อตามพระคัมภีร์ไบเบิ้ลภาคพันธสัญญาใหม่ของคริสต์ชนทั่วไปในปัจจุบัน ถึงขนาดกล่าวว่ามีการบันทึกไว้ในหลักธรรมคำสอนที่สำคัญของการเข้าเป็นสมาชิกสมาคมฟรีเมสันส์คือ จงมอบความรักและความอาทรแก่กัน และ เชื่อในหลักของความจริง ความจริงในข้อที่ว่านี้เองที่ถูกตีความไปว่าเป็นการสื่อถึง ศาสนาคริสต์ ที่ยังคงมีเรื่องราวของความจริงหลายอย่างที่น่าสงสัยและเพราะหลักการนี้เองที่ทำให้สมาคมฟรีเมสันส์ถูกมองโดยสังคมภายนอกว่าพวกเขาเป็นสมาคมที่เป็นศูนย์รวมของเหล่าคนที่มีแนวคิดเป็นขบถหัวรั้นไม่ยอมอยู่ภายใต้กรอบของสังคม

มีการพยายามค้นคว้าจากหลายๆแหล่งข้อมูลว่า ความจริง ที่เป็นความเชื่อของเหล่าฟรีเมสันส์นิคในปัจจุบันคืออะไร? และหนึ่งในข้อเสนอ(ในลักษณะทฤษฎีสมรู้ร่วมคิด)นั้นคือ “เหล่าฟรีเมสันส์นิคต่างเชื่อในทฤษฏีการจัดระเบียบโลกใหม่” (NEW WORLD ORDER)

ทฤษฎีการจัดระเบียบโลกใหม่ (New World Order) คือ ความคิดในการจัดระเบียบโลกใหม่ตามแผนคิดฝัน โลกที่เป็นสังคมเดียว รัฐบาลบริหารเพียงรัฐบาลเดียว เศรษฐกิจรวมเศรษฐกิจเดียวที่สามารถควบคุมได้โดยรัฐบาล มีประเทศเดียวในโลกที่จะเป็นศูนย์กลางอำนาจในการบริหารและตั้งรัฐบาล โดยที่อาจกำหนดปักเอาไว้ที่กรุงวอชิงตันดี.ซี.และใช้เครือข่ายการบริหารที่กระจายออกไปตามเมืองหลวงใหญ่ต่างๆเช่น ลอนดอน ปารีส โรม ออตตาวา แคนเบอร์รา หรือโตเกียว โดยที่ประเทศต่างๆจะเป็นเพียงรัฐๆหนึ่งหรือเมืองๆหนึ่งเท่านั้น (ถ้าเปรียบเทียบกับประเทศไทย ประเทศต่างๆก็จะเป็นเพียงจังหวัดๆหนึ่ง) โดยที่อำนาจการปกครองจะลดหลั่นกันไปตามความสำคัญและขนาดของประเทศนั้นๆ รัฐบาลของประเทศต่างๆที่เคยเป็นประเทศ ก็จะเป็นเพียงรัฐมนตรีของคณะรัฐบาลกลางเท่านั้น ทรัพยากรต่างๆหรือทรัพย์สินต่างๆที่ในทุกพื้นที่ทั่วโลกก็จะต้องถูกจัดเข้ามาอยู่ในระบบบริหารทางเศรษฐกิจของรัฐบาลกลาง ในตัวระบบยังคงใช้การปกครองในรูปแบบประชาธิปไตยที่ทุกคนมีสิทธิเลือกตั้งผู้นำและผู้บริหารไปตามอายุและวาระเช่นเดิม แต่ก็เป็นเพียงเครื่องมือที่มาใช้บังหน้าให้เห็นถึงความมีประชาธิปไตยเพื่อป้องกันการลุกฮือต่อต้านจากประชาชนที่อาจเกิดขึ้นเมื่อพวกเขาเริ่มรู้สึกว่าถูกปกครองโดยระบบอำนาจเบ็ดเสร็จหรือเผด็จการ แต่ทว่าจะอย่างไรเสียมันก็ไม่ใช่ประชาธิปไตยสมบูรณ์แบบตามปรัชญาของมันเอง...ที่ถูกเขียนขึ้นมาแต่เริ่มแรกในเมื่อกลุ่มผู้ควบคุมกลไกอำนาจของสังคมที่แท้จริงสามารถผลักดันใครก็ได้ที่เป็นคนของตน...ให้ขึ้นมาทำงานให้เอื้อต่อผลประโยชน์ในกลุ่มในพวกพ้องของตนให้ลงตัว ให้ขึ้นมาเป็นหมากเป็นผู้บริหารอยู่ตรงฉากหน้า

นักวิเคราะห์ผู้อ้างทฤษฎีนี้กล่าวว่า “หากเรามองย้อนไปถึงเหตุการณ์ความวุ่นวายต่างๆในโลกที่เกิดมากขึ้นๆทุกวัน และการแก้ปัญหาความวุ่นวายที่เกิดขึ้นมันดูคล้ายจะเป็นไปในทำนองยิ่งแก้ก็ยิ่งยุ่งเสียมากกว่า ความสำเร็จในการแก้ไขปัญหาก็ดูจะยิ่งห่างไกลความเป็นไปได้มากขึ้นทุกที ทั้งหมดมันเริ่มเป็นรูปเป็นร่างชัดเจนขึ้นเมื่อสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ ๑ ในปีความศ.๑๙๑๙ ในที่ประชุมสัญญาสงบศึกสงครามโลกครั้งที่ ๑ ที่ประเทศฝรั่งเศส ในครั้งนั้นประธานาธิบดีวูดโรว์ วิลสัน(Woodrow Wilson) ได้แสดงทัศนะวิสัยว่าเขาต้องการเห็นโลกที่มีความสุขมีความเที่ยงธรรมไม่แก่งแย่งชิงดีกันและต้องมีประชาธิปไตยในแนวเดียวกัน ซึ่งนั่นก็คือที่มาของแนวคิดที่จะจัดตั้ง องค์กรสันนิบาตชาติ (League of Nations) แต่แนวคิดของวิลสันก็ไม่สมหวังเมื่อเขากลับมาแพ้ในการไม่เห็นชอบจากสภาคองเกรสที่คว่ำกฎหมายการเข้าร่วมองค์กรสันนิบาตชาตินี้ ทว่าแนวคิดนี้ของวิลสันกลับถูกตอบรับโดยกลุ่มเอกชนที่มีอิทธิพลทางธุรกิจระดับโลก กลุ่มคนกลุ่มนี้มีพลังอำนาจครอบคลุมวงการธุรกิจอุตสาหกรรมและการเงินทั่วทั้งยุโรปและในสหรัฐอเมริกาหนุนหลัง กลุ่มนักธุรกิจเหล่านี้มองไปถึงเส้นทางก้าวเข้าสู่อำนาจเบ็ดเสร็จเพื่อควบคุมโลกให้ดำเนินไป โดยอาศัยลักษณะการมองโลกแบบองค์รวมเพื่อหวังเข้าควบคุมกลไกต่างๆของโลก ด้วยการนี้จึงมีการริเริ่มก่อตั้งองค์กรกลางที่จะทำหน้าที่สร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เพื่อให้เกิดองค์กรที่จะประสานงานในระบบเครือข่ายภายในประเทศสหรัฐกับองค์กรอื่นๆในประเทศต่างๆทั่วทั้งโลก จึงได้เกิด “องค์กรความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ” (Council On foreign Relations : CFR) ขึ้นในสหรัฐอเมริกาใน ความศ. ๑๙๒๑ โดยอาศัยเงินทุนสนับสนุนจากกลุ่มการเงินทรงอิทธิพลต่างๆของสองฟากฝั่งสมุทรแอนแลนติก เช่น กลุ่มธุรกิจยักษ์ใหญ่เซซิล โรดส์(Cecil Rhodes) กลุ่มธุรกิจเจพีมอร์แกน (JP.Morgan) เจ้าของธุรกิจอุตสาหกรรมเหล็กกล้าที่ใหญ่ที่สุดของสหรัฐอเมริกา กลุ่มธุรกิจของโรธส์ไชลด์ (Rothschild) ซึ่งเป็นเจ้าของบริษัทการเงินทรงอิทธิพลจากอังกฤษ กลุ่มธุรกิจคาร์เนกี (Carnegie) เจ้าของกิจการรถไฟและการวางรางรถไฟของสหรัฐอเมริกา กลุ่มร็อคกี้เฟลเลอร์ (Rockefeller) บริษัทยักษ์ใหญ่ในวงการพลังงานสหรัฐอเมริกา โดยจุดประสงค์แห่งการก่อตั้งองค์กรนี้ขึ้นโดยเปิดเผยนั้นก็เพื่อศึกษาถึงสภาพสังคม สภาพการเมือง และเศรษฐกิจระหว่างประเทศทั่วโลก เพื่อใช้เป็นแหล่งข้อมูลส่งให้กับกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา โดยที่ภาระหน้าที่ที่เปิดเผยนั้น CFR คือองค์กรที่ให้การสนับสนุนต่อพลวัตทางสังคมโลกและต้องการเห็นสังคมของนานาชาตินั้นดำเนินไปในทิศทางเดียวกัน อันประกอบไปด้วยความอารีเกื้อกูลประโยชน์ซึ่งกันและกันโดยใช้การต่างประเทศของแต่ละประเทศต่างร่วมจับมือกันเพื่อช่วยสร้างแนวความคิดแบบองค์รวมเพื่อแก้ปัญหาในระดับนานาชาติ หรือที่เรียกว่า ถังความคิด (Think Tank) โดยที่ไม่มีใครรู้ตัว นั่นคือก้าวแรกเริ่มของ ทฤษฎีโลกหนึ่งเดียว (One World) ซึ่งก็คือแนวความคิดแรกที่ต่อมาจะพัฒนากลายเป็นการจัดระเบียบโลกใหม่นั่นเอง”



ทำไมต้องมีการจัดระเบียบโลกใหม่และใครจะได้รับผลประโยชน์จากการจัดระเบียบโลกใหม่? ผู้ที่จะได้รับผลประโยชน์จากการจัดระเบียบโลกใหม่ก็คือเหล่ากลุ่มนักธุรกิจอิทธิพลการเงินทั้งหลายที่ร่วมกันก่อตั้งองค์กรที่ให้ความร่วมมือระหว่างประเทศเหล่านั้นนั่นเอง โดยใช้อาวุธที่เรียกว่า ระบบทุนนิยม กระบวนการขั้นต่อมาที่ใช้พิสูจน์ความสำเร็จของการก่อตั้งองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศก็คือเหตุการณ์ในปีความศ.๑๙๒๙ เมื่อวันที่๒๔ตุลาคม เหตุการณ์ที่เรียกกันว่า แบล็คมันเดย์(Black Monday) เป็นเหตุการณ์ซึ่งหุ้นในตลาดหุ้นวอลล์สตรีตของสหรัฐอเมริกาดิ่งลงเหวอย่างเป็นประวัติการณ์ที่จารึกไว้ในประวัติศาสตร์การเงินของโลก ซึ่งผลพวงจากการล่มของตลาดหุ้นวอลล์สตรีตครั้งนั้นส่งผลกระทบไปสู่ตลาดหุ้นต่างๆทั่วทั้งโลกพากันร่วงระนาว เหตุการณ์นี้ได้พิสูจน์ว่า โลกสมัยใหม่ในระบบทุนนิยมนั้น การที่กระแสการเงินการลงทุนเป็นไปอย่างเสรีและตลาดเสรีนี้เองที่ทำให้มีการวางเครือข่ายตลาดเงินตลาดทุนประสานกันไปทั่วทั้งโลกของกลุ่มประเทศที่ใช้ระบบทุนนิยม การดิ่งเหวของหุ้นในตลาดอย่างรุนแรงและติดต่อกันหลายๆวัน ...เช่นในเหตุการณ์เมื่อคราวแบล็คมันเดย์นั้นนอกจากจะทำให้เศรษฐกิจเกือบทั้งหมดของสหรัฐอเมริกาล้มระเนระนาด ในโลกของทุนนิยมสมัยใหม่มันยังส่งผลให้เศรษฐกิจทั่วทั้งโลกพลอยรับผลกระทบไปด้วย เป็นเรื่องที่ร้ายแรงพอๆกับสถานการณ์สงคราม เนื่องจากผลของมันสามารถฉุดให้เศรษฐกิจทั่วทั้งโลกเกิดอาการแกว่งไหวอย่างรุนแรงพอที่จะส่งผลต่อเนื่องทำให้เกิดสภาวะเศรษฐกิจล่มสลายไปพร้อมกันทั่วทั้งโลกได้



นักวิเคราะห์ท่านเดิมยังกว่าอีกว่า “เหตุการณ์แบล็คมันเดย์นี้ คือบทการทดสอบอำนาจในการใช้เศรษฐกิจการเงินเข้าควบคุมกลไกของโลกโดยคนกลุ่มหนึ่งที่สามารถมีศักยภาพเพียงพอในการเล่นกลกับการลงทุนในกระดานหุ้นซึ่งล้วนเป็นกลุ่มคนเพียงไม่กี่กลุ่มเท่านั้นที่มีอำนาจทางการเงินมากพอที่จะสามรถนำเงินทุนเข้าโจมตีตลาดต่างๆได้ตามใจชอบในระบบเศรษฐกิจของทุนนิยมในโลกใหม่คนกลุ่มนี้กำลังพยายามพิสูจน์...ให้เห็นชัดถึงทฤษฎีการควบคุมความเป็นไปต่างๆให้ได้ด้วยเกมทางเศรษฐกิจของพวกเขา ให้เป็นบทพิสูจน์ทฤษฏีที่ชัดเจนว่าในโลกของทุนนิยมนั้นผู้ที่กุมอำนาจทางเศรษฐกิจก็สามารถกุมอำนาจทาสังคมได้ และอำนาจใหม่คืออำนาจทางเศรษฐกิจนี้เองที่มีอานุภาพรุนแรงต่อการผลักดันกลไกของโลกใหม่ยิ่งเสียกว่าการทำสงครามด้วยอาวุธเสียอีก”

ความล้มเหลวของ อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ผู้ที่ก็พยายามจะจัดระเบียบโลกใหม่ด้วยเช่นกันแต่ด้วยทฤษฎีอำนาจรัฐจะได้มาก็ด้วยการยึดครองด้วยกำลังคนและอาวุธเท่านั้น เหมือนอย่างที่อเล็กซานเดอร์มหาราชหรือจูเลียส ซีซ่าร์ และนโปเลียน โบนาปาร์ต เคยกระทำ การพยายามที่จะก้าวขึ้นสู่อำนาจในการจัดระเบียบโลกด้วยวิธีนี้อีกครั้งของฮิตเลอร์ ...ผลคือความล้มเหลวของสงครามโลกครั้งที่๒และฮิตเอร์ต้องพบกับจุดจบกับการใช้อำนาจแบบตรงไปตรงมาวิธีนั้นด้วยการปลิดชีพตัวเองเมื่อเขาแพ้สงครามอย่างราบคาบในปีความศ.๑๙๔๕ ตอกย้ำถึงความล้มเหลวอย่างสิ้นเชิงของวิธีอำนาจนิยมแบบการใช้อำนาจแบบตรงไปตรงมา การจะได้มาซึ่งอำนาจนิยมด้วยวิธีการใช้กำลังอย่างตรงไปตรงมาใช้ไม่ได้ผลอีกแล้ว ทฤษฎีการใช้เศรษฐกิจนำการเมืองการทหาร เป็นบทสรุปสำหรับเกมส์อำนาจยุคใหม่นี้ และกลุ่มที่สามารถประกอบทฤษฎีนี้ให้เป็นมองเห็นอย่างเป็นรูปธรรมได้ก็ไม่ใช่เพียงกลุ่มที่มีกำลังทหารอยู่ในมือเพียงเท่านั้นอีกต่อไป แต่เป็นกลุ่มที่มากด้วยบารมีทางด้านการเงิน นักธุกิจนักอุตสาหกรรม ซึ่งกลุ่มที่มีอำนาจมากทางด้านการเงิน กลุ่มทุนธุรกิจเหล่านี้ก็คือกลุ่มที่ร่วมกันก่อตั้งองค์กรที่ให้ความร่วมมือในระดับโลกเหล่านั้นนั่นเอง การจัดตั้งธนาคารโลก, ธนาคารกลางสหรัฐอเมริกา(FED) และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ขึ้นก็เพื่อแผนปูทางของการเข้าสู่อำนาจเบ็ดเสร็จด้วยการใช้เศรษฐกิจเป็นเครื่องมือ เป็นเกมส์ที่กลุ่มเหล่าทุนธุรกิจที่มีอำนาจเหล่านี้ใช้เพื่อกดดันประเทศต่างๆให้อยู่ภายใต้อุ้งมือของกลุ่มการเงินเหล่านี้

ผลกระทบทางตรงที่สุดจากการกำเนิดขึ้นของเหล่ากลุ่มมีทุนธุรกิจที่มีอำนาจและแนวคิดทฤษฏีการจัดระเบียบโลกด้วยการใช้ตัวเศรษฐกิจนำการเมืองการทหารก็คือ ในประวัติศาสตร์ของรัฐบาลทุกยุคทุกสมัยของการเมืองสหรัฐอเมริกาในทุกๆสมัย กลุ่มธุรกิจเหล่านี้สามารถส่งให้คนของตนเข้าไปร่วมอยู่ในคณะรัฐบาลเพื่อเป็นหูเป็นตาและเป็นมือเป็นไม้ต่อสายอำนาจเข้าไปควบคุมคณะทำงานของคณะรัฐบาล และถึงขนาดที่ในบางสมัยกลุ่มทุนธุรกิจที่มีอำนาจเหล่านี้จะมีอำนาจมากถึงขนาดสามารถส่งกลุ่มคนของตนไปเป็นตัวประธานาธิบดีของสหรัฐเลยก็มี ที่จะเข้าไปประสานประโยชน์ให้กับพวกพ้องในวงธุรกิจของตน หรือแม้แต่จะสั่งเก็บประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาคนไหนที่เข้มาขัดขวางการดำเนินการทางผลประโยชน์ของกลุ่มตน

ซึ่งกรณีที่โด่งดังที่สุดก็คือการลอบสังหารประธานาธิบดีจอห์น.เอฟ.เคนเนดี้ เมื่อปี ความศ.๑๙๖๓ ซึ่งมีหลักฐานมากมายที่สามารถจะทำให้เชื่อได้ว่าเคนเนดี้ถูกสังหารด้วยสาเหตุทางการเมือง เพราะการที่เขาเข้าไปขวางขบวนการสร้างอำนาจอย่างเป็นระบบในสหรัฐอเมริกา ถูกสังหารโดยกลุ่มคนที่มีอำนาจสามารถควบคุมระบบต่างๆของสหรัฐอเมริกาได้ ...เมื่อนำมาผูกเข้าการความน่าพิศวงของการถูกลอบสังหารของบุคคลระดับชั้นนำในสังคมอเมริกาอีกสองคนในเวลาต่อมาภายในปีเดียวกันความศ.๑๙๖๘ โรเบิร์ต เคนเนดี้ วุฒิสมาชิกน้องชายของจอห์น.เอฟ.เคนเนดี้ที่ได้รับการคาดหมายว่าจะได้เป็นประธานาธิบดีคนต่อไป กับ ดร.มาร์ติน ลูเธอร์ คิง จูเนียร์ นักเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิมนุษย์ชนชื่อดัง บุคคลผู้ที่ไม่เพียงเรียกร้องสิทธิให้กับคนผิวดำ แต่เขายังเกียจชังและต่อต้านสงคราม โดยเฉพาะปัญหาสงครามในเวียดนาม “หลังจากที่ ดร.มาร์ติน ลูเธอร์ คิงเข้าพบและเจรจากับประธานาธิบดีจอห์น.เอฟ.เคนเนดี้ในปีความศ.๑๙๖๓ เพียงไม่กี่เดือนก่อนหน้าที่เคนเนดี้จะถูกลอบสังหาร ดร.คิงมีสีหน้าพอใจและมีความสุขเป็นอย่างยิ่ง คล้ายกับว่าความคิดเห็นของเขาได้รับการตอบสนองเป็นอย่างดีจากประธานาธิบดี เขาถึงกับเดินออกมาจากทำเนียบขาวแล้วตรงไปยังจตุรัสวอชิงตันกล่าวต่อหน้าผู้ชุมนุมที่มาคอยให้กำลังใจและรับฟังผลการเจรจาครั้งนั้นเป็นเรือนแสน ....ด้วยวาทะ ข้าพเจ้ามีความฝัน (I have a dream) ซึ่งหลังจากนั้นต่อมามีการแถลงข่าวจากท่านประธานาธิบดีถึงแผนการที่จะมีการทบทวนการถอนทหารสหรัฐอเมริกาออกจากสงครามเวียดนาม และตัวประธานาธิบดีเคนเนดี้ก็ออกคำสั่งที่ว่านั้นจริง คำสั่งได้ถูกเซ็นไปแล้ว แต่คำสั่งนั้นไม่เคยถึงมือของระดับปฎิบัติการแต่อย่างใด จนกระทั่งอีกไม่นานเขาก็ถูกสังหารและผู้ที่ก้าวขึ้นมาเป็นประธานาธิบดีรักษาการลินดอน.บี.จอห์นสันก็คือคนของกลุ่มอิทธิพลดังกล่าวนั่นเอง ซึ่งหลังจากการขึ้นตำแห่งรักษาการแล้วสงครามเวียดนามก็กลับยิ่งเขม็งเกลียวเข้าไปอีกเพราะมีการสั่งระดมพล ระดมเงิน ระดมอาวุธเข้าไปสู้รบกันอย่างเต็มอัตรามากขึ้นไปอีก กระทั่งภาพได้เริ่มมองเห็นเงาร่างชัดเจนขึ้นว่าเหตุผลในการลอบสังหารประธานาธิบดีเคนเนดี้เกิดขึ้นด้วยสาเหตุใด มันคือเกมส์อำนาจปริศนาอย่างชัดเจน”


หรืออย่างการที่ เดวิด ร็อคกี้เฟลเลอร์ สามารถส่งคนของเขาคือดร.เฮนรี คิสซิงเกอร์ เข้าไปเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศในคณะรัฐบาลของประธานาธิบดี ริชาร์ด นิกสัน โดยนำแผนหนึ่งของเขาเข้าไปด้วยนั่นคือการเปิดทางผลประโยชน์ของกลุ่มธุรกิจของเขาให้ออกไปสู่ประเทศทางตะวันออกและทางเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อเปิดฐานการบริโภคออกไปสู่ภูมิภาคนี้ “ภาพเห็นได้ชัดเจนขึ้นเมื่อประธานาธิบดีนิกสันได้เปิดความสัมพันธ์ที่ปิดกั้นกันมาอย่างยาวนานกับค่ายคอมมิวนิสต์จีนแผ่นดินใหญ่เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่สหรัฐอเมริกาก่อตั้งประเทศภายหลังสงครามประกาศอิสรภาพจากอังกฤษ”

และต่อมาในปี ความศ.๑๙๘๑ ก็เกิดการลอบสังหารประธานาธิบดีสหรัฐขึ้นอีกครั้งคือการลอบสังหารประธานาธิบดี โรนัลด์ รีแกน เหตุการณ์ยิ่งทำให้ภาพมองรวมของทฤษฎีที่กลุ่มอำนาจกำลังควบคุมโลกนี้ชัดเจนยิ่งขึ้น “มีเหตุการณ์หนึ่งที่นักประวัติศาสตร์ทางการเมืองเชื่อว่าเป็นไม้ตายที่ทำให้รีแกนได้รับการเลือกตั้งเข้ามาเป็นประธานาธิบดีในปีความศ.๑๙๘๐ ซึ่งตอนนั่นคือเหตุการณ์การจับตัวประกันในสถานทูตสหรัฐประจำกรุงเตหะรานประเทศอิหร่านความศ.๑๙๗๙ จากเหตุการณ์ครั้งนั้นเองที่รีแกนใช้กลยุทธ์แยบคายที่เรียกกันว่า ออคโตเบอร์ เซอร์ไพรส์ (October Surprise) ในการวางข้อตกลงอย่างลับๆ เพื่อที่ให้กองกำลังของอิหร่านยอมปล่อยตัวเจ้าหน้าที่สถานฑูตสหรัฐทั้งหมดออกมาอย่างปลอดภัย งานนั้นรีแกนจึงได้หน้าเต็มๆ จนเขาหลงระเริงกับอำนาจของตนที่สามารถปลดเงื่อนตายกรณีนั้นได้โดยที่หลงลืมไปว่าเขาไม่ได้กระทำการเพียงลำพัง มีระบบต่างๆที่หนุนหลังเขาอยู่มากมาย ซึ่งก็คือระบบที่เคยหนุนอำนาจของประธานาธิบดีที่แท้จริงอยู่เบื้องหลังมาทุกยุคทุกสมัยแล้วนั่นเอง ในกรณีลอบสังหารรีแกนนั้นก็เชื่อว่าเพื่อเป็นการข่มขู่รีแกนไม่ให้ออกนอกลู่นอกทาง เพราะเมื่อรีแกนรอดตายจากการลอบสังหารครั้งนั้นเขาก็ทำตัวเป็นเด็กดีและบริหารประเทศต่ออย่างราบรื่นต่อไปอีกถึง ๒สมัย ๘ปี ด้วยการสานผลประโยชน์มากมายให้กับกลุ่มอำนาจอย่างไม่เคยมียุคใดสมัยใดที่จะมีความคล่องตัวในการจัดงบประมาณจำนวนมากมายมหาศาล ให้กับวงอุตสาหกรรมทางด้านพลังงานและสงคราม อันเชื่อกันว่าเป็นสองอุตสาหกรรมหลักที่กลุ่มอิทธิพลทางเศรษฐกิจต่างๆในสหรัฐควบคุมดูแลอยู่ ตัวอย่างหนึ่งก็คือการเกิดขึ้นของอภิมหาโครงการยักษ์โครงการหนึ่งที่แทบทำให้สหรัฐอเมริกาล่มจม เพราะขาดดุลงบประมาณอย่างมหาศาลในช่วงปลายทศวรรษที่๘๐ ก็คือโครงการ สงครามดวงดาว (Star Wars) โครงการนี้ใช้จ่ายเงินอย่างมหาศาลที่สุดเท่าที่เคยมีการใช้งบประมาณกันมาในประวัติศาสตร์สหรัฐอเมริกาจนเกือบทำให้เศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาต้องล้มละลาย จึงต้องถูกพับฐานที่เป็นโครงการที่ล้มเหลวค้างเติ่งไปในที่สุด

และแล้วก็มาถึงสมัยที่กลุ่มอิทธิพลทางเศรษฐกิจพวกนี้สามารถส่งคนของตนเข้าไปไว้ดำรงตำแหน่งเป็นประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกาได้ คือ ประธานาธิบดี จอร์จ.เอช.ดับเบิ้ลยู.บุช ผู้มาจากตระกูลบุช หนึ่งในตระกูลใหญ่ผู้ทรงอำนาจทางเศรษฐกิจ การเงิน และอุตสาหกรรมและร่ำรวยขึ้นจากการอาศัยช่องทางทางอำนาจทางการเมืองเปิดทางให้กับตน ร่วมมือกับกลุ่ม(ตระกูล)ทุนอำนาจทางเศรษฐกิจอื่นๆ เคียงข้างกับกลุ่มธุรกิจยักษ์ใหญ่ของโลกตระกูลร็อคกี้เฟลเลอร์ ตระกูลนักธุรกิจชาวอเมริกาเชื้อสายยิวที่ร่ำรวยมาจากธุรกิจอุตสาหกรรมด้านพลังงาน ผู้ก่อตั้งบริษัทสแตนดารด์ ออยล์ (Standard Oil) กลุ่มอิทธิทางเศรษฐกิจตระกูลคาร์เนกี้ ที่ทรงอิทธิพลที่สุดในวงการผลิตเหล็กของสหรัฐอเมริกา กลุ่มอิทธิพลทางเศรษฐกิจกลุ่มตระกูลรอธส์ไชลด์ ตระกูลนายธนาคารชาวยิวที่ทรงอิทธิพลอย่างมากต่อโลกในช่วงการปฎิวัติยุโรปเมื่อศตวรรษที่๑๙ ปัจจุบันฐานอำนาจทางการเงินของตระกูลก็ยังมีอยู่ทั่วโลก เป็นกลุ่มประกอบการทางการเงินที่มั่งคั่งมากที่สุดในโลกกลุ่มหนึ่ง กลุ่มอิทธิพลทางเศรษฐกิจกลุ่มตระกูลเจ.พี.มอร์แกน เป็นกลุ่มตระกูลผู้ให้เงินสนับสนุนต่อบริษัทเจเนรัลด์ อิเล็คทริค (General Eletric)ของนายโทมัส เอดิสันผู้ประดิษฐ์หลอดไฟเรืองแสงชิ้นแรกของโลก ตระกูลผู้ได้ดำเนินการวางรางรถไฟที่ใหญ่ที่สุดในสหรัฐในช่วงความศ.๑๙๐๐ อีกทั้งลงทุนในโรงงานผลิตเหล็กชื่อ ยู.เอส.สตีล คอมปานี (U.S.Steel Company) และยังชื่อว่าเป็นผู้ให้การสนับสนุนการเงินกับรัฐบาลสหรัฐอเมริกาหลายสมัย กลุ่มอิทธิพลทางเศรษฐกิจกลุ่มตระกูลฮาร์ริแมน ด้วยการเข้าหุ้นกับตระกูลวอล์คเกอร์ ได้เข้าสู่ธุรกิจการขนส่งข้ามทวีปตั้งบริษัทขนส่งที่ต่อมาใช้ชื่อว่า บราว์บราเธอร์ฮาร์ริแมน (Brown Brothers Harriman) บริษัทใหญ่โตที่ทำการขนส่งระหว่างสองฟากฝั่งมหาสมุทรแอนแลนติก และตระกูลวอร์คเกอร์ที่เข้าร่วมหุ้นกับตระกูลฮาร์ริแมนนี่เองที่มีสายสัมพันธ์กับตระกูลบุช เมื่อจอร์จ วอร์เกอร์คนที่นำตระกูลวอร์คเกอร์เข้าร่วมหุ้นกับตระกูลฮาร์ริแมนคือพ่อตาของจอร์จ.เอช.ดับเบิ้ลยู.บุช ประธานาธิบดีคนที่๔๑ของสหรัฐอเมริกาจากตระกูลบุชที่ร่ำรวยขึ้นเมื่อเริ่มต้นเข้าสู่ธุรกิจด้านการพลังงาน และซื้อบริษัทขุดเจาะน้ำมันเดรสเซอร์ อินดัสตรี (Dresser Industries) ปัจจุบันกลุ่มธุรกิจทางด้านพลังงานของกลุ่มตระกูลบุชและเพื่อนๆถือว่าเป็นกลุ่มพลังงานที่ใหญ่ที่สุดในสหรัฐอเมริกา

และเพราะการที่ตระกูลบุชทำธุรกิจเกี่ยวกับทางด้านการขุดเจาะน้ำมัน เป็นที่ทราบกันดีว่าภูมิภาคของประเทศแถบเอเชียกลางและเอเชียตะวันออกกลางนั้นมีทรัพยากรชนิดหนึ่งมีค่ายิ่งกว่า ทองคำคือ น้ำมัน ตั้งแต่ศตวรรษที่๒๐ที่โลกต้องการน้ำมันเพื่อหล่อเลี้ยงระบบยานพาหนะและระบบอุตสาหกรรม น้ำมันจึงเป็นทรัพยากรที่สำคัญที่สุดของโลกยุคปัจจุบัน ถึงกับมีความเชื่อเกิดขึ้นว่าหากใครสามารถควบคุมแหล่งน้ำมันของโลกได้ก็เท่ากับกุมชะตาของโลกนี้ทั้งโลก ไม่เช่นนั้นแล้วกลุ่มโอเปค (OPEC) ซึ่งเป็นกลุ่มที่เกิดขึ้นจากการรวมตัวกันของประเทศผู้ส่งออกและผลิตน้ำมันรายใหญ่ๆของโลกก็จะไม่สามารถมีอำนาจต่อรองกับประเทศมหาอำนาจที่แท้จริงประเทศต่างๆของโลกได้....อย่างเช่นที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน

เหตุการณ์โศกนาฏกรรมครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์โลกยุคใหม่ การเปิดฉากถล่มตึกเวิร์ลเทรดเซ็นเตอร์ เมื่อวันที่ ๑๑ กันยายน ความศ.๒๐๐๑ หรือเหตุการณ์ที่มีชื่อเรียกต่อมาในภายหลังว่า เหตุการณ์ ๙๑๑ คือโฉมหน้าที่แจ่มชัดที่สุดของการมีอยู่ของกลุ่มอิทธิพลทางเศรษฐกิจโลกที่มีความพยายามที่จะ จัดระเบียบโลกใหม่ มันคือความล้มเหลวของความพยายาม จัดระเบียบโลกใหม่ จากกลุ่มที่เคยตกเป็นเครื่องมือในการใช้จัดระเบียบโลกใหม่ ปัจจุบันพวกเขาจึงต้องออกมาจับมือกันเพื่อแสวงหากลุ่มอำนาจของตนเอง โอซามา บินลาเดน ก็คือหนึ่งในหุ่นเชิดที่เคยถูกกลุ่มอิทธิพลทางเศรษฐกิจเหล่านี้หลอกใช้งานเป็นหมากหนึ่งในการเดินเกมส์ของพวกเขา แต่แล้วต่อมาเมื่อบินลาเดนค้นเจอเบื้องหลังและล่วงรู้ถึง แผนการจัดระเบียบโลก มากกว่านั้นซึ่งนอกเหนือจากแผนการจัดระเบียบโลกแล้ว สิ่งที่บินลาเดนเจออีกอย่างหนึ่งคือ เป้าหมายสุดยอดของสหรัฐอเมริกา (หรือจะพูดให้ถูกก็คือ เป้าหมายสุดยอดของพวกกลุ่มอิทธิพลทางเศรษฐกิจโลกที่กำลังเดินเกมส์จัดระเบียบโลกกันอยู่นี้) ก็คือการพยายามก่อตั้งองค์การน้ำมันโลกที่มีสหรัฐเป็นประธานขึ้นมานั่นเอง และเมื่อสหรัฐสามารถมีอำนาจในการครอบคลุมจัดการต่อ “แหล่งน้ำมันใหญ่” ในตะวันออกกลางได้สำเร็จนั้น สหรัฐอเมริกาก็จะสามารถควบคุมสภาวะน้ำมันและพลังงานของโลกให้อยู่ในกำมือได้ทั้งหมดนั่นเอง และการจัดระเบียบโลกใหม่ตามทฤษฎีก็จะเริ่มเป็นผลอย่างเป็นรูปธรรมด้วยการใช้พลังงานสำคัญของโลกชนิดนี้ ในควบคุมสภาวะเศรษฐกิจของโลกทั้งโลกให้อยู่กำมือของพวกกลุ่มมีอำนาจอิทธิพลทางเศรษฐกิจอย่างแท้จริง แต่ว่ากันว่านอกจากนี้ยังเชื่อกันว่าสาเหตุใหญ่แห่งความเกลียดชังสหรัฐอเมริกาของบินลาเดนไม่ได้มีสาเหตุมาจากเหตุผลด้านการเมืองแต่เพียงอย่างเดียว แต่เพราะผลเนื่องมาจากการที่ครอบครัวของเขาที่ประกอบกิจการธุรกิจธนาคารที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสองในซาอุดิอารเบียเคยมีความสัมพันธ์คบค้าธุรกิจกับกลุ่มธุรกิจยักษ์ใหญ่กับในสหรัฐอเมริกาตระกูลบุชซึ่งก็คือหนึ่งในลูกค้ารายใหญ่ของตระกูลบินลาเดนที่กู้เงินไปเพื่อลงทุนในการเปิดธุรกิจโรงงานขุดเจาะน้ำมันในตะวันออกกลาง จึงมีความสงสัยกันว่าบิน ลาเดนน่าจะมีตื้นลึกหนาบางกับคนในตระกูลบุชอยู่ด้วยก่อนแล้ว และหากนำกรณีการเสียชีวิตอย่างปริศนาจากสาเหตุเครื่องบินตกระหว่างไปติดต่อเจรจาความในสหรัฐอเมริกาของซาเล็ม บินลาเดน พี่ชายของโอซามา บินลาเดน ผู้ร่วมค้ากับกลุ่มพลังงานในตระกูลบุชเมื่อปีความศ.๑๙๘๘ ก็ทำให้น่าคิดได้ว่า เหตุการณ์การก่อการร้ายถล่มตึกเวิร์ดเทรดเซ็นเตอร์ “๙๑๑” .........ที่มีสาเหตุมาจากการขัดผลประโยชน์กันทางด้านผลประโยชน์ทางธุรกิจเพียวๆ โอซามา บินลาเดนเคียดแค้นสหรัฐอเมริกาผู้มากับแผนการสกปรกในการ จัดระเบียบโลก และไม่ต้องการให้สหรัฐสามารถขึ้นมาจัดระเบียบโลกได้สำเร็จเมื่อสหรัฐฯเข้าแทรกแซงเข้าควบคุมเอเปกและเส้นทางน้ำมันพลังงานของโลกได้สำเร็จ เขาจึงจัดตั้งเครือข่ายอัล-เคดา (al-Qaeda) ซึ่งเป็นภาษาอารบิคที่แปลว่าฐานทัพหรือค่ายทหาร ซึ่งบินลาเดนหมายความถึงการเป็นฐานทัพหรือค่ายทหารสำหรับการสู้รบของการปฎิวัติศาสนาอิสลามทั่วโลก โดยการกวาดล้างอิทธิพลตะวันตกโดยเฉพาะอย่างยิ่งสหรัฐอเมริกาออกจากประเทศมุสลิม แล้วจัดตั้งการปกครองโดยผู้ที่เชื่อถืออิสลามเข้าแทนที่ จริงๆแล้วอุดมการณ์ทางสังคมหรือศาสนานั่นเป็นเพียงอุดมการณ์ที่ชูขึ้นเพื่อทำให้เพื่อนชาวมุสลิมทั่วทั้งโลกต้องรับบาปผิดชอบสิ่งที่เขากระทำไปด้วย .......เพื่อให้ขบวนการอัล-เคดาของเขากลายเป็นองค์กรที่มีอุดมการณ์ เพื่อหักเหประเด็นที่แท้จริง(ที่ปกปิด)ว่า บิน ลาเดน เองต้องการล้างค้าสหรัฐอเมริกาในสิ่งที่สหรัฐได้กระทำในการแทรกแซงสิ่งต่างๆทั่วทั้งโลกไปโดยเพื่อผลประโยชน์ของพวกเขาเอง (ผลประโยชน์ของพวกกลุ่มอิทธิพลทางเศรษฐกิจผู้เริ่มต้นวาระ การจัดระเบียบโลก นั่นเอง!)

แต่บทสรุปของการพยายามจะ จัดระเบียบโลกใหม่ ของพวกกลุ่มอิทธิพลทางเศรษฐกิจตั้งแต่อดีตเป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน เริ่มจะเห็นได้อย่างชัดเจนขึ้นแล้วภายหลังสงครามอิรักและอัฟกานิสถานเมื่อสิ่งต่างในสภาพและสถานการณ์ที่เกินจะควบคุมกับสงครามที่ถึงแม้ว่าพวกเขาจะเข้ายึดชัยภูมิได้สำเร็จ แต่พวกเขากลับต้องพบว่ายังต้องเผชิญกับปัญหาต่างๆที่ติดตามมาอีกมากมายในการจัดระเบียบสังคมใหม่ให้กับประเทศที่ตนใช้ข้ออ้างต่างๆนานายึดมาจนได้ทั้งที่แท้จริงต้องการจะยึดก็เพื่อผลประโยชน์ของกลุ่มอิทธิพลทางเศรษฐกิจหาใช่เพื่อปลดปล่อยประเทศหมู่พวกนั้นจากทรราชย์อย่างที่อ้างไม่! และดูท่าทีว่าสหรัฐอเมริกาจะพยายามอย่างไรก็ไม่สามารถควบคุมสถานการณ์ต่างๆที่เป็นอยู่ในตอนนี้ให้สงบสุขได้เลยโดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาการก่อการร้ายภายในและการขู่การก่อการร้ายตามประเทศมหาอำนาจต่างๆทั่วโลกของ กลุ่มอัล-เคด้า ที่นับวันยิ่งจะเพิ่มความรุนแรงขึ้น “แต่เมื่อพวกเขา (กลุ่มอิทธิพลทางเศรษฐกิจของโลก) เลือกเดินแต้มมาถึงขนาดนี้แล้ว พวกเขาก็คงไม่ยอมหยุดอย่างง่ายๆ ยังต้องดันทุรังขี่บนหลังเสือที่หาทางลงอย่างไม่โดนเสือขบไม่ได้เสียที สิ่งเหล่านี้ยิ่งทำให้เห็นว่าการจัดระเบียบโลกใหม่ที่กลุ่มอำนาจที่แท้จริงอยู่เบื้องหลังคณะรัฐบาลหรือแม้แต่ตัวประธานาธิบดีสหรัฐและใช้วิถีทางบังคับให้สหรัฐดำเนินนโยบายตามที่พวกเขาต้องการ พวกเขาต้องการ การจัดระเบียบโลกใหม่ แต่มันไม่ใช่เกมส์ที่ง่ายเลยในการจัดระเบียบสังคมของโลกที่แตกต่างกันทั้งทางเผ่าพันธุ์ วัฒนธรรมประเพณี และวิถีทางสังคมอย่างหลายหลากที่มีอยู่ในโลกนี้ กลับกันการที่ยิ่งพยายามจะกำหนดบทบาทหรือเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับกระแสความเป็นไปไม่ว่าจะเป็นระบบเศรษฐกิจ สังคม หรือการเมืองของประเทศถิ่นไหนก็ตามมันจะยิ่งสร้างปัญหาพอกพูนอย่างต่อเนื่องมากจนไม่รู้จักจบมากยิ่งขึ้นเท่านั้น เหมือนอย่างที่สถานการณ์ของโลกกำลังเป็นอยู่ในปัจจุบัน”

ความสัมพันธ์ของเหตุการณ์ทั้งหมดที่กล่าวและยกตัวอย่างมา(เสียอย่างยืดยาว)กับสมาคมฟรีเมสันส์ก็คือ กล่าวกันว่าการพยายามที่จะเป็นศูนย์กลางอำนาจของโลกของสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีเค้าชัดเจนขึ้นจากเหตุการณ์ต่างที่เรียงตัวกันเกิดขึ้นตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ ๒๐ อันที่จริงแล้วไม่ได้คิดวางแผนกันมาเพียงแต่เริ่มต้นในสมัยของประธานาธิบดีวูดโรว์ วิลสัน แต่แนวคิดในการจัดระเบียบโลกใหม่เริ่มต้นในสหรัฐอเมริกามาตั้งแต่การประกาศอิสรภาพจากอังกฤษในปี ความศ. ๑๗๘๓ แล้ว แกนนำผู้ก่อการปฎิวัติในสงครามประกาศอิสรภาพครั้งนั้นรวมทั้งอีกมากมายในหมู่เหล่าของกองทัพปฏิวัติเป็นสมาชิกฟรีเมสันส์ และอาจเชื่อได้ว่าด้วยองค์กรของฟรีเมสันส์นี้เองที่ทำให้เกิดการประสานงานระหว่างเครือข่ายสำนักต่างๆที่นำไปสู่ชัยชนะของกองทัพสหรัฐในสงครามได้ ชัยชนะในครั้งนั้นเป็นดั่งเครื่องจุดประกายให้เห็นถึงประสิทธิภาพจากการร่วมมือประสานงานกันที่ในระบบเครือข่ายระหว่างองค์กรอย่างขีดสุด มันเป็นการพิสูจน์ถึงพลังอำนาจของความสมานฉันท์ในหมู่พี่น้องจากการร่วมมือและความมีภราดรภาพกันระหว่างองค์กรต่างๆ ต่อมาในที่สุดชัยชนะได้นำความภาคภูมิใจอย่างสูงส่งให้คนอเมริกันที่เริ่มคิดไปไกลถึงว่าควรจะเป็นเผ่าพันธุ์อเมริกันที่จะใช้โอกาสจากภราดรภาพนี้ในการเดินหน้าจัดระบบระเบียบโลก โดยเริ่มต้นจาก ๑๓ รัฐที่เคยเป็นอาณานิคมของอังกฤษต้องขยายแนวต่อเข้ายึดดินแดนต่างๆในอาณานิคมอื่นๆที่สเปนและฝรั่งเศสยึดครองอยู่ แล้วความหวังนั้นยังขยายไกลไปถึงทั่วทั้งอเมริกาเหนือจรดอเมริกาใต้ จากนั้นก็จะรุกขยายข้ามน้ำข้ามทะเลออกไปยัง

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์