● พิธีเลี้ยงดง ●

● พิธีเลี้ยงดง ●


● พิธีเลี้ยงดง ●


● พิธีเลี้ยงดง ●


● พิธีเลี้ยงดง ●


● พิธีเลี้ยงดง ●


● พิธีเลี้ยงดง ●


● พิธีเลี้ยงดง ●


● พิธีเลี้ยงดง ●


● พิธีเลี้ยงดง ●


● พิธีเลี้ยงดง ●


● พิธีเลี้ยงดง ●


● พิธีเลี้ยงดง ●


● พิธีเลี้ยงดง ●


● พิธีเลี้ยงดง ●


พิธีเลี้ยงดง  ประวัติความเป็นมาของพิธีเลี้ยงดง (ผีปู่แสะ ย่าแสะ)


 


        ความเชื่อเดิมเกี่ยวกับเรื่องผีปู่แสะและย่าแสะนี้ พอจะสันนิษฐานได้จากตำนานพระธาตุดอยคำ (สุทวารี สุวรรณภาชน์ ใน สงวน โชติสุขรัตน์, ๒๕๑๒)ว่า ในสมัยพุทธกาล พระพุทธเจ้าได้เสด็จมาโปรดสัตว์ จนถึงที่ตั้งดอยคำนี้ได้พบยักษ์สามตน มีพ่อ แม่ ลูก คือ (ปู่แสะ ย่าแสะ และบุตร) ยักษ์ทั้งสามตนนี้ยังชีพด้วยเนื้อสัตว์และเนื้อมนุษย์ เมื่อยักษ์ทั้งสามตนนี้เห็นพระพุทธเจ้ากับเหล่าสาวกเสด็จมา ก็จะจับกิน แต่พระพุทธองค์ทรงแผ่เมตตา ยักษ์ทั้งสามเกรงในพระบารมีจึงน้อมเคารพพระพุทธองค์ จังเทศนา และขอให้ยักษ์ทั้งสามรักษาศีลห้าตลอดไป แต่ปู่แสะและย่าแสะไม่สามารถจะรับศีลห้าได้ตลอดไป จึงอ้อนวอนขอกินเนื้อมนุษย์ปีละสองคน แต่พระพุทธองค์เห็นว่าการฆ่ามนุษย์หรือสัตว์นั้นเป็นบาปหนักจึงไม่อนุญาต ยักษ์ทั้งสองจึงขอเปลี่ยนเป็นเนื้อสัตว์ พระพุทธองค์ก็ไม่ทรงอนุญาต เป็นแต่ว่าให้ไปถามเจ้าผู้ครองนครดูว่าจะอนุญาตหรือไม่ แล้วพระพุทธองค์ก็เสด็จจากไป และทรงไว้พระเกศาธาตุไว้ที่พระธาตุดอยคำ ยักษ์ทั้งสองตนผัวเมีย จึงได้ไปขออนุญาตจากเจ้าเมือง ๆ ก็อนุญาตให้กินควายได้ปีละครั้ง จึงมีประเพณีเลี้ยงผีปู่แสะ ย่าแสะ โดยพิธีการฆ่าควายเอาเนื้อสดสังเวยแต่นั้นมา ส่วนยักษ์ผู้เป็นบุตรนั้น ในตำนานว่าเมื่อได้สดับพระธรรมเทศนาของพระพุทธเจ้าก็มีจิตเลื่อมใสเป็นอันมากจึงขอบวชในพระพุทธศาสนา และไปจำพรรษาอยู่บนดอยสุเทพ แต่ต่อมาไม่อาจที่จะอยู่ในเพศบรรพชิตได้จึงลาสิกขาออกมาเป็นเพศโยคี หรือฤาษีได้ชื่อว่าสุเทวะฤาษีบำเพ็ญพรตอยู่บนดอยสุเทพตราบสิ้นอายุขัย


 


 


 


ประเพณีเลี้ยงดง และพิธีบวงสรวงปู่แสะ ย่าแสะประจำปี 2552   ในสังคมชนบทบ้านนอกมักมีประเพณีและวัฒนธรรมที่แตกต่างจากคนในเมืองโดยเฉพาะความเชื่อเรื่องผี  หรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประเพณีเลี้ยงผี แสดงให้เห็นถึงการรู้จักตอบแทนผู้มีพระคุณ คือ  ปู่ย่าตายาย ทำให้ลูกหลานมีที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ   ทั้ง นี้เพื่อความเป็นสิริมงคลกับชีวิตตามความเชื่อที่ว่าหากได้ทำแล้วจะทำ ให้ชีวิตอยู่เย็นเป็นสุขไม่มีโรคภัยไม่มีเคราะห์กรรมทั้งตนเองและครอบครัว ตลอดจนชุมชนด้วย   นอกจากความเชื่อดังกล่าวการเลี้ยงผียังเป็นการสร้างความสามัคคีระหว่างญาติพี่น้องและชุมชนอีกด้วย    ประเพณีหรือวัฒนธรรมในแต่ละถิ่นจึงแตกต่างกันออกไป


 


ทุกช่วงเดือนพฤษภาคมของทุกปีบริเวณหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ ดอยสุเทพ-ปุย ที่ 4 เชิงดอยคำด้านทิศตะวันตก หมู่ 3 บ้านป่าจี้ ต.แม่ เหียะ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ จะมีชาวบ้านใน ต.แม่ เหียะ และชาวเชียงใหม่


หลายร้อยคนได้มารวมตัวกัน เพื่อทำพิธีเลี้ยงดงปู่แสะย่าแสะ ก่อนพิธีจะเริ่มขึ้นมีการเตรียมจัดหาร่างทรง และ กระบือดำหรือควาย และจัดซื้อข้าวของบางส่วนสำหรับใช้ในการประกอบพิธีกรรมใน ประเพณีเลี้ยงดง


ซึ่งเป็นประเพณีที่ชาวบ้านต้องฆ่าควายเพื่อถวายให้ผียักษ์ 2 ตน คือ ผีปู่แสะ และ ย่าแสะ เพราะเชื่อกันว่าเป็นผู้ปกป้องคุ้มครองชาวบ้านให้อยู่ดีกินดี ฝนฟ้าตกต้องตามฤดูกาล หากปีไหนไม่ฆ่าควายเซ่นผี เชื่อว่าจะทำให้เกิด โรคระบาด และเกิด ทุกข์ภัย ขึ้นได้ โดยได้จัดหากระบือดำหรือควาย ที่จะนำมาฆ่าถวายผีดง (ผีปู่แสะย่าแสะ) มาเตรียมไว้ก่อนจากนั้นก็ต้องนำมาเลี้ยงดูให้อิ่มหนำสำราญก่อนการเข้าพิธี ส่วนของเซ่นและเครื่องบูชาอื่น ๆ ก็มีผลไม้ต่าง ๆ สุรา เป็นต้น


 


โดยขั้นตอนของพิธีเริ่มจากการนำ ควายดำตัวผู้ ที่มีลักษณะเขายาวเท่าหู จะถูกพามาเชือดที่บริเวณลานโล่ง ซึ่งชาวบ้านเรียกว่า ดงจากนั้นจะมีการ แห่ผ้าบด ผ้าซึ่งเป็นภาพของพระพุทธเจ้า ปางห้ามญาติ


อายุเก่าแก่ประมาณ 100 ปีเข้ามาที่ดง เพื่อเป็นตัวแทนของพระพุทธเจ้า จากนั้นจะมีผู้เฒ่าผู้แก่เชิญวิญญาณผีปู่แสะย่าแสะ และเหล่าบรรดา ลูก ๆ อีก 32 ตนมาเข้าร่างทรงเพื่อให้มารับสิ่งของเครื่องเซ่นที่ลูกหลานเตรียมไว้ในพิธี


ซึ่งไม่เปิดเผยชื่อสลับกับเสียงพระสวด เมื่อผีปู่แสะและผีย่าแสะเข้าร่างทรงพร้อมด้วยบริวารแล้ว ผีทั้งหมดก็จะมากินเครื่องเซ่นที่เตรียมไว้โดยเฉพาะ เนื้อควาย และ เลือดสด ของควายที่เชือดกลางพิธี มากัดกินอย่างอร่อยท่ามกลางสายตาผู้มาร่วมงานในพิธีนับร้อยคน รวมของเซ่นอื่น ๆ อีกหลายอย่างในคราวเดียวกันด้วย ร่างทรงจะกินจนอิ่มแล้วจะออกจากร่างไปถือว่าเป็นเสร็จพิธี


 


พิธีเลี้ยงดงปู่แสะย่าแสะนี้ชาวอำเภอ หางดง จ.เชียงใหม่ ปฏิบัติกันมานานร่วมร้อยปีติดต่อกันมาแล้ว


เพราะเป็นความเชื่อถือว่าหากผู้ใดได้เข้าร่วมพิธีแล้วจะรอดพ้นจากภัยพิบัติทั้งปวง ไม่ป่วย ไม่เจ็บ ไม่ไข้


นอกจากตัวเองจะมีความสุขในชีวิตแล้วชุมชนที่ตั้งอยู่โดยรอบจะมีความสงบสุขไปด้วยไม่มีภัยพิบัติหรือโรคระบาดเพราะได้เลี้ยงหรือ ให้ทานกับผีปู่แสะย่าแสะซึ่งเป็นผียักษ์ที่ปกปักรักษาพื้นที่แห่งนี้อยู่ ทั้งหมดเป็นความเชื่อของชาวบ้านในชุมชน จึงมีพิธีนี้ทำสืบต่อกันมานานร่วมร้อยกว่าปีแล้ว หากมองย้อนภาพของความเป็นจริงทั้งหมดคือความเชื่อของชาวบ้านเท่านั้น แต่หากจะมองให้ลึกแล้วสิ่งที่ได้คือความสามัคคีที่เกิดขึ้นในชุมชนที่สำคัญที่สุดคือความสบายใจของชาวบ้านหากใจสบาย กายก็จะสบายตามมาความสงบสุขของชีวิตย่อมเกิดขึ้นสุขกายสบายใจแค่นี้ก็เพียงพอแล้วสำหรับการดำรงชีวิตในยุคนี้คะ


 


เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์