♣ ปลาก็ทำศัลยกรรม ♣

♣ ปลาก็ทำศัลยกรรม ♣

ไม่เฉพาะแต่คนเท่านั้นที่จะทำศัลยกรรมเสริมความงาม ในวงการปลาสวยงามก็มีการทำศัลยกรรม เพื่อเพิ่มความโดดเด่นให้ปลาเช่นกัน โดยเปิดให้ชมความอะเมซซิ่งอย่างใกล้ชิดเป็นครั้งแรกใ นงาน "ประมงน้อมใจ ไทยทั่วหล้า ครั้งที่ 9" ตั้งแต่วันนี้ถึง 21 มี.ค. 2553 ที่ห้องเอ็มซีซี ฮอลล์ ชั้น 4 ห้างเดอะมอลล์ บางกะปิ...


♣ ปลาก็ทำศัลยกรรม ♣

ในฐานะนักวิชา การประมง "สิทธิธรรม เรืองจรุงพงศ์" เปิดเผยถึงความเป็นมาและขั้นตอนการทำศัลยกรรมปลาอันน ่าทึ่งว่า การทำศัลยกรรมปลาในเมืองไทยเริ่มมีมาสักพักแล้ว แต่จะรู้จักกันในวงแคบเฉพาะคนที่เลี้ยงปลาตะพัดหรือป ลาอะโรวาน่าเท่านั้น ทั้งที่แท้จริงแล้วปลาชนิดอื่นๆก็สามารถทำศัลยกรรมได ้ แต่มูลค่าอาจไม่คุ้มกับการลงทุนเท่าปลาอะโรวาน่า คนจึงไม่นิยมเอามาทำกัน


♣ ปลาก็ทำศัลยกรรม ♣

ถ้าย้อนกลับไปดูจุดเริ่มต้น จะพบว่าประเทศอินโดนีเซียเป็นแหล่งกำเนิดของการทำศัล ยกรรมปลา โดยมีเป้าหมายหลักคือ เพื่อเพิ่มความสวยงามและช่วยให้การดำรงชีวิตของปลาดี ขึ้น การทำศัลยกรรมปลาสามารถทำได้หลายจุด เช่น หนวด, ตา, เหงือก, ครีบ และเกล็ด กรณีที่ปลากินอาหาร หรือเวลาเลี้ยงอยู่ในตู้ แล้วกระโดดไปชนขอบตู้หรือคานตู้ จนทำให้ครีบและหางเสียหาย สามารถตัดแต่งทำศัลยกรรมเพื่อให้หางปลางอกใหม่สวยงาม เหมือนเดิม หรือกรณีที่ปลาอยู่ในสภาพแวดล้อมไม่สู้ดี ค่อนข้างสกปรก ส่งผลให้เหงือกปลาอ้าผิดปกติและหายใจไม่สะดวก ก็สามารถช่วยตัดแต่งเหงือกปลาให้ปิดกลับเข้าที่ ทำให้ปลาหายใจได้สะดวกขึ้น โดยการพักฟื้นของปลาใช้เวลาประมาณ 3 เดือน ปลาจะกลับมาสวยงามเหมือนเดิม ปัจจุบันมีเทคโนโลยีเข้ามาช่วยเยอะ รวมถึงการใช้เลเซอร์ทำศัลยกรรมแทนกรรไกร ซึ่งถือเป็นนวัตกรรมล่าสุด


♣ ปลาก็ทำศัลยกรรม ♣

ด้าน "สัตวแพทย์หญิง สุกัญญา ปุสสะรังสี" ประจำฟาร์ม AF AROWANA FARM ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า หลายคนคิดว่าการทำศัลยกรรมปลาเป็นการทรมานสัตว์ แต่จริงๆแล้ว การทำศัลยกรรมปลาเป็นการรักษามากกว่า โดยจุดที่นิยมทำกันคือ การทำศัลยกรรมที่หาง และเหงือกอ่อน ซึ่งหากฉีกขาด อาจทำให้ติดเชื้อได้ง่าย จำเป็นต้องแก้ไขเพื่อให้เหงือกรูดติดไปกับตัวปลา ช่วยให้ปลาหายใจได้สะดวกขึ้น


♣ ปลาก็ทำศัลยกรรม ♣

สำหรับขั้นตอนการทำศัลยกรรมปลา เริ่มจากการต้อนปลาในตู้ปลาเข้าถุงพลาสติกหนา 1-2 ชั้น ด้วยความระมัดระวัง โดยใส่น้ำให้ท่วมตัวปลา จากนั้นยกถุงที่ใส่ปลาออกนอกตู้ปลา และพักไว้ในถังหรือกล่องโฟม แล้วจึงหยดยาสลบตามขนาดของปลา โดยห้ามให้ยาสลบถูกตัวปลาเด็ดขาด เมื่อปลาเริ่มอ่อนแรง ให้ใช้ผ้าขนหนูชุบน้ำสะอาดห่อตัวปลาและเริ่มทำศัลยกร รมได้ทันที เมื่อเสร็จสิ้นภารกิจ ให้ย้ายปลากลับเข้าตู้ โดยห้ามเทน้ำที่มีส่วนผสมของยาสลบลงในตู้ปลา และให้ใช้หัวทรายหรือเครื่องพ่นอากาศเป่าบริเวณเหงือ กของปลา แล้วประคองตัวปลาไว้ รอจนกระทั่งปลาฟื้นดี แล้วใส่ยาปฏิชีวนะป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรีย


♣ ปลาก็ทำศัลยกรรม ♣


เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์