KOMODO

มังกรโคโมโด้

KOMODO

เรื่องราวของสัตว์ร้ายในดินแดนที่ห่าง ไกล และลึกลับ ดูจะเป็นตำนานที่มีอยู่มากมายในแทบจะทุกชนชาติ หลายๆ เรื่องนั้น ได้รับการพิสูจน์ว่าเป็นเพียงเรื่องเหลวไหล แต่ในขณะเดียวกันบางตำนานก็มีที่มาจากเรื่องจริง ดังเรื่องราวที่เราจะนำเสนอต่อไปนี้

ทางตะวันออกของเกาะชวา และบาหลีในประเทศอินโดนีเซีย มีหมู่เกาะเล็กๆ ชื่อว่า หมู่เกาะซุนดาน้อย ตั้งอยู่ ซึ่งมีเกาะหนึ่งที่ชื่อว่า เกาะโคโมโด (KOMODO ISLAND) ซึ่งเกิดจากการระเบิดของภูเขาไฟ

เกาะโคโมโด เป็นเกาะขนาดเล็กมีพื้นที่เพียง 75 ตารางไมล์ เดิมทีเกาะแห่งนี้ไม่มีคนอาศัยอยู่ ต่อมาในต้นศตวรรษที่19 สุลต่านแห่งซุมบาวาได้ใช้เกาะแห่งนี้เป็นที่เนรเทศนักโทษ และศัตรูทางการเมือง แต่อย่างไรก็ดี มีบางคนที่ไปเยี่ยมเกาะแห่งนี้ เช่น นายพราน และนักงมหอยมุก ได้เล่าว่าพบสัตว์ประหลาดขนาดยักษ์น่ากลัว อาศัยอยู่บนเกาะ พวกเขาเล่าว่ามันดูคล้ายจรเข้ แต่อยู่บนบก ออกล่ากวาง หมูป่า และคนกิน พวกเขาเรียกมันว่า บูอาจา ดารัต (BOEAJA DARAT) หมายถึง จรเข้บก คนผิวขาวที่ปกครองอินโดนีเซียในขณะนั้น ไม่เชื่อเรื่องเหล่านี้แต่ก็ไม่ทุกคน

มีเจ้าหน้าที่ชาวดัชท์ผู้หนึ่ง ชื่อว่า พันตรี พี.เอ.อูเวนส์ ( MAJOR P.A. OUWENS) ผู้อำนวยการสวนพฤกษชาติชวาที่เบาเตนซอร์ก (ปัจจุบัน คือ กรุงจาการ์ต้า) สนใจเรื่องนี้ และต้องการข้อมูลของมัน ดังนั้นในปี 1910 เขาได้ติดต่อไปยังข้าหลวงของเกาะฟลอเรส ซึ่งอยู่ทางตะวันออกของเกาะโคโมโด ท่านข้าหลวงซึ่งเป็นนักธรรมชาติวิทยาสมัครเล่นคนหนึ่ง รับปากว่าจะหาข้อมูลมาให้

ต่อมาในปี 1912 นักบินผู้หนึ่งเกิดเครื่องยนต์ขัดข้องขณะบินผ่านเกาะโคโมโด จึงต้องนำเครื่องลงฉุกเฉินที่นั่น เครื่องบินเสียหายแต่ตัวนักบินไม่เป็นอะไร ทว่าเมื่อเขาออกมาจากเครื่องก็ต้องตกใจ เมื่อพบว่ามีสัตว์เลื้อยคลานขนาดใหญ่ หน้าตาเหมือนสัตว์ดึกดำบรรพ์รายล้อมเครื่องบิน เขารีบวิ่งหนีออกมาทันที และรอดชีวิตออกมาได้ นี่คือครั้งแรกที่ชาวยุโรปได้พบกับจรเข้บกในตำนาน ในปีเดียวกันท่านข้าหลวงแห่งเกาะฟลอเรสได้ไปที่นั่น และได้รับการยืนยันเรื่องสัตว์ดังกล่าว จากนั้นท่านข้าหลวงได้มีโอกาสยิงสัตว์ดังกล่าวได้ตัวหนึ่ง และส่งหนังยาว 2.20 เมตร ของมันไปให้อูเวนส์ และบอกว่ามันไม่ใช่จรเข้แต่ใกล้เคียงพวกตะกวดมากกว่า จากนั้นไม่นาน ทางสวนพฤกษชาติ ได้ส่งเจ้าหน้าที่ไปยังเกาะโคโมโด และสามารถจับสัตว์ดังกล่าวเป็นๆ ได้ถึงสี่ตัว มีอยู่ตัวหนึ่งยาวถึงสามเมตร อูเวนส์ได้เขียนเรื่องของมันลงวารสารวิชาการ และตั้งชื่อวิทยาศาสตร์ให้มันว่า วารานัส โคโมโด เอนซิส (VARANUS KOMODOENSIS) หมายถึง ตะกวดแห่งโคโมโด แต่ด้วยขนาดอันใหญ่โตของมัน ทำให้ผู้คนเรียกมันว่า มังกรโคโมโด ( KOMODO DRAGON )

KOMODO


KOMODO


KOMODO


KOMODO


KOMODO


KOMODO


KOMODO


เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์