นำเสนอให้ สำหรับคนเป็นหนี้บัตรเครดิต

เรื่องเล่า โลกสี่เหลี่ยม

เจอมาเลยนำมาฝาก สำคนที่มีปัญหาเรื่องหนี้

การถูกฟ้องศาล... เรื่องร้ายจะกลายเป็นดี
เขียนโดย ศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค
Friday, 01 June 2007
เป็นการยืดเวลาเพื่อให้ลูกหนี้ได้ตั้งตัว ตั้งสติ
ลูกหนี้มีโอกาสต่อรองลดหนี้กับเจ้าหนี้ในศาลได้
การบังคับคดีมีความเป็นธรรมมากกว่าการถูกทวงหนี้

การถูกยึดทรัพย์

เมื่อศาลมีคำพิพากษาให้เจ้าหนี้ชนะคดี หากลูกหนี้ไม่ชำระคืนตาม 30 วัน เจ้าหนี้มีสิทธิยึดทรัพย์หรืออายัดสิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ได้ โดยให้ศาลตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีเพื่อออกหมายยึดและอายัดต่อไป
ทรัพย์สินที่เป็นข้าวของเครื่องใช้ในครัวเรือน ที่จำเป็นในการดำรงชีวิต มูลค่ารวมกัน 50,000 บาทแรกห้ามเจ้าหนี้ยึด ทรัพย์ที่จำเป็นในการดำรงชีพ เช่น โต๊ะกินข้าว เก้าอี้ โทรทัศน์ เครื่องครัว แต่ถ้าเป็นสร้อย แหวน นาฬิกา ของเหล่านี้แม้เป็นทรัพย์สินส่วนตัวของลูกหนี้ แต่เจ้าหนี้ก็มีสิทธิยึดได้เพราะไม่จำเป็นต่อการใช้ชีวิต
ทรัพย์สินที่เป็นเครื่องมือทำมาหากินของลูกหนี้ ถ้ามูลค่ารวมกัน 100,000 บาทแรก ห้ามเจ้าหนี้ยึด เครื่องมือประกอบอาชีพ เช่น คอมพิวเตอร์ เครื่องถ่ายเอกสาร(ถ้าประกอบธุรกิจรับถ่ายเอกสาร) ในกรณีที่เครื่องมือประกอบอาชีพมีราคาสูงกว่า 100,000 บาท และจำเป็นต้องใช้จริง ๆ ก็สามารถขอต่อศาลได้

หากมีเจ้าหนี้หลายราย ทรัพย์ใดถูกยึดไปแล้ว ห้ามเจ้าหนี้รายอื่นมายึดซ้ำ เจ้าหนี้รายใดยึดก่อนก็ได้สิทธิก่อน

การอายัดเงินเดือน โบนัส ค่าตอบแทนต่าง ๆ

ในกรณีที่ลูกหนี้ ไม่มีทรัพย์สินจะให้ยึด เจ้าหนี้จะสืบต่อไปว่าลูกหนี้ทำงานที่ไหน เพื่อจะอายัดสิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ ซึ่งสิทธิเรียกร้องของลูกหนี้นี้ ก็เช่น สิทธิที่จะได้รับเงินเดือนจากนายจ้าง ค่าล่วงเวลา เงินโบนัส ค่าจ้างทำของต่าง ๆ เป็นต้น
การสั่งอายัดเงินเดือน ค่าจ้าง ได้แค่ 30% ของเงินเดือน ขณะที่ได้รับหนังสืออายัด โดยคำนวณจากเงินเดือนก่อนหักค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เช่น ภาษี ประกันสังคม]
เงินโบนัส อายัดได้ 50%
เงินตอบแทนกรณีลูกหนี้ออกจากงาน อายัดได้ 100% เพราะฉะนั้นอย่าออกจากงานเด็ดขาด
เงินค่าคอมมิชชั่นอายัดได้ 30%
ในกรณีลูกหนี้ เงินเดือน ไม่ถึง 10,000 บาท ห้ามเจ้าหนี้อายัดเงินเดือน แต่มิได้หมายความว่าหนี้จะหมดไป เพียงแต่แขวนหนี้เอาไว้ก่อน
หากลูกหนี้เป็นข้าราชการ หรือลูกจ้างประจำของส่วนราชการ ห้ามเจ้าหนี้อายัดเงินเดือน
เมื่อถูกอายัดเงินเดือน หรือรายได้ใด ๆ ก็ตาม รวมแล้วลูกหนี้ต้องมีเงินเหลืออย่างน้อยเดือนละ 10,000 บาท แต่ถ้ามีความจำเป็นต้องใช้เงินมากกว่า 10,000 บาท เช่น มีลูกหลายคน ต้องเลี้ยงดูพ่อแม่ หรือมีโรคประจำตัว ก็สามารถยื่นคำร้องต่อศาลให้เพิ่มจำนวนเงินเลี้ยงชีพมากกว่า 10,000 บาทได้ นอกจากนี้ ยังสามารถขอลดหย่อนสัดส่วนการอายัดรายได้ให้น้อยกว่าร้อยละ 30 ได้อีกหากมีความจำเป็น
ในกรณีมีเจ้าหนี้หลายราย เมื่อถูกเจ้าหนี้รายใดอายัดเงินเดือนไปแล้ว ห้ามเจ้าหนี้อื่นอายัดเงินเดือนซ้ำอีก

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์