พิธีศพทิเบต

พิธีศพทิเบต

พิธีศพทิเบต

สภาพทางภูมิศาสตร์ที่เป็นภูเขาสูงอยู่บน "หลังคาโลก" อากาศหนาวเย็น ขาดแคลนต้นไม้ที่จะทำฟืน การกำจัดหรือจัดการกับศพ จึงไม่สามารถเผาได้เหมือนประเทศในที่ราบทิเบตจึงมีวิธีการกำจัดศพโดยธรรมชาติ เหมือนพวกเอสกิโม ที่อุทิศร่างกายให้เป็นอาหารของสัตว์ป่า

แต่ทิเบตอุทิศร่างกายให้เป็นอาหารของนกแร้ง

ถือเป็น การเสียสละ ที่มีคุณค่าและความหมาย

นกแร้ง จึงกลายเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมทิเบต

โดยชาวทิเบตส่วนใหญ่เชื่อว่านกแร้งเป็นเทพเจ้าชนิดหนึ่ง จึงให้ความเคารพ ไม่มีการทำร้าย



การที่นกแร้งเป็นส่วนสำคัญในการทำพิธีศพของชาวทิเบต

ดอมเด หรือ สัปเหร่อ จึงต้องมีความสามารถสื่อสารกับนกแร้งได้

ความสัมพันธ์ระหว่างดอมเดกับนกแร้ง โดยเฉพาะนกแร้งที่เป็นจ่าฝูง จึงสำคัญมาก

ทั้ง นี้ เนื่องจากนกแร้งจ่าฝูงจะเป็นตัวแรกที่กินเนื้อศพ การจะเป็นตัวแรกได้ จ่าฝูงจะต้องมีอำนาจควบคุมนกในฝูงได้ ระหว่างประกอบพิธี จ่าฝูงจะต้องควบคุมนกแร้งทุกตัวให้อยู่ในอาการสงบ เคารพอาวุโส

การกินก็จะกินตามอาวุโส จะไม่มีการแย่งชิง

นอกจากนี้ การกินอาหารของนกแร้งขึ้นอยู่กับตัวหัวหน้าฝูงด้วย ถ้าไม่ใช่ดอมเดที่นกแร้งรู้จัก นกแร้งก็จะไม่กินอาหาร

ถ้าคนตายด้วยยาพิษ เสพสุรา หรือใช้ยามาก เนื่องจากป่วยนาน นกแร้งก็จะไม่กินเนื้อของศพนั้นๆ ดอมเด ต้องใช้วิธีอื่น เช่นเผา เป็นต้น

ซึ่ง "ระเบียบ" เหล่านี้ นกแร้งจ่าฝูงจะมีบทบาทในการควบคุมมาก

ดอมเดจะมีภาษาที่ใช้กับนกแร้ง ทั้งภาษาพูด ภาษากาย ที่จะคุ้นละสื่อกันได้ด้วยอาศัยความสัมพันธ์ที่ยาวนาน

ซึ่ง จะทำให้พิธีศพเป็นไปโดยเรียบร้อย และดอมเดจะสามารถทำพิธีสำคัญให้ลุล่วงไปได้ นั่นก็คือทำโพวา หรือส่งวิญญาณ โดยจะมีการถลกหนังศีรษะผู้ตาย เพื่อตรวจดูว่ากะโหลกศีรษะมีรูหรือไม่ ถ้ามี ก็แสดงว่าวิญญาณหลุดพ้นไปแล้ว

ถ้าดอมเดไม่ฝึกนกแร้ง ไม่มีจ่าฝูง ก็จะเกิดภาวะของการแย่งชิงอาหาร

ดอมเดผู้หนึ่งเล่าว่า เวลานกแร้งขาดการฝึกฝน พอแบกศพขึ้นภูเขา และเริ่มเปิดผ้าห่อออกเท่านั้น นกแร้งก็จะมาดึงทึ้งศพทันที

ซึ่งก็คงเป็นประเภทที่ภาษาไทยเรียกว่า "ราวกับแร้งลง" นั่นเอง
จากพิธีศพชาวทิเบต ใน 2 ประเด็นที่สำคัญคือ

ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับคน ก็ได้ทำให้เราได้คิดว่า ชีวิตที่เพียรสร้างสม ชิงดี ชิงเด่นกันทั้งชีวิตนั้น

ท้ายที่สุดไม่มีอะไรเลย

ต้องถูกสับเป็นชิ้นๆ เพื่อนกแร้ง เท่านั้นเอง

ส่วนในประเด็นที่เกี่ยวกับนกแร้ง ก็เตือนสติว่า คนฝึกแร้ง หากขาดการฝึกฝน ขาดวินัย ก็จะไร้ผู้นำ ไร้พญาแร้ง

นกแร้งที่ขาดภาวะผู้นำ ก็กลับไปสู่ภาษิตไทย ที่ว่า "ราวกับแร้งลง"

ใครดีใครอยู่

มือใครยาวสาวได้สาวเอา

ซึ่งสามารถนำไปสู่ "หายนะ" ได้อย่างไม่คาดฝัน

มี เรื่องเล่าขานว่า เมื่อปี 2546 นี้เอง ที่วัดโพลุงกา ในทิเบต มีแร้งตายทีเดียวถึง 100 ตัว ก็เพราะสภาพ "แร้งลง" นั่นเอง โดยมีศพศพหนึ่งเสียชีวิตเพราะกินยาฆ่าหนูไปจำนวนมาก ฝูงแร้งที่ขาดจ่าฝูง หรือมีจ่าฝูงที่ไม่มีประสบการณ์ จึงไม่อาจบอกลูกฝูงว่า เนื้อนี้มีพิษอย่ากิน

เมื่อไม่รู้ และขาดวินัย นกแร้งก็พากันรุมทึ้งศพ

พิธีศพทิเบต


พิธีศพทิเบต


พิธีศพทิเบต


พิธีศพทิเบต


พิธีศพทิเบต


พิธีศพทิเบต


พิธีศพทิเบต


เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์