อารยชน-อารยธรรม

อารยชน-อารยธรรม

คุณคิดว่าคำว่า...อารยชน...หมายความว่าอย่างไร...?
แล้วคำว่า...อารยธรรม....หมายความว่าอย่างไร....?

บุคคลที่ประพฤติดีงาม มีศีลมีธรรมภายในใจ หรือเป็นมนุษยธรรม
ซึ่งมีคุณสมบัติทั้งสาม.....มีความประพฤติดีประพฤติชอบ 3 ประการคือ
1.กายสุจริต....ความสุจริตทางกาย ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบด้วยกาย
2.วจีสุจริต....ความสุจริตทางวาจา ประพฤติชอบด้วยวาจา
3.มโนสุจริต...ความสุจริตทางใจ คิดสิ่งที่ดีงามถูกต้อง.....

เช่นนี้...จึงชื่อว่า...'อารยชน'
ไม่เบียดเบียนทั้งตนเอง และผู้อื่นทั้งทางกาย วาจาและใจ....

คำว่า....อารยธรรม...คือปฏิบัติตามหลักธรรมแนวทางของพุทธศาสนา.....
โดยปฏิบัติตามทางแห่งกุศลกรรมบท 10 ซึ่งจำแนกเป็นสามทางดังนี้
- ทางกาย...
1. ละเว้นจากการฆ่า การสังหาร การบีบคั้นเบียดเบียนผู้อื่น
ควรมีเมตตาธรรม อนุเคราห์สงเคราะห์และช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
2. ละเว้นจากการลักขโมย การเอารัดเอาเปรียบ
ควรเคารพสิทธิในทรัพย์สินของกันและกัน
3. ละเว้นจากการประพฤติผิด ล่วงละเมิดในของรักของหวงของผู้อื่น
ไม่ควรข่มเหงจิตใจ หรือไม่ให้เกียรติวงศ์ตระกูลของกันและกัน

- ทางวาจา...
4. ละเว้นจากการพูดเท็จ โกหกหลอกลวง
ควรกล่าวแต่คำสัตย์ ไม่จงใจพูดให้ผิดเพราะเห็นแก่ผลประโยชน์ใดๆ
5. ละเว้นจากการพูดส่อเสียด ยุยง สร้างความแตกแยก
ควรพูดแต่คำที่สมานฉันท์และส่งเสริมสามัคคี
6. ละเว้นจากการพูดคำหยาบคาย สกปรกเสียหาย
ควรพูดแต่คำสุภาพ นุ่มนวลควรแก่การฟัง ภาษาดอกไม้
7. ละเว้นจากการพูดเหลวไหล เพ้อเจ้อ
ควรพูดในคำจริง มีเหตุมีผล มีสาระมีประโยชน์ถูกกาละเทศะ

- ทางใจ....
8. ไม่ละโมบ ไม่เพ่งเล็งคิดหาทางเอาแต่จะได้
ควรคิดที่จะให้ เสียสละ ทำใจให้เผื่อแผ่กว้างขวาง
9. ไม่คิดมุ่งร้ายมุ่งเบียดเบียน หรือเพ่งมองในแง่ที่จะทำลายทำร้าย
ควรตั้งความปรารถนาดี มีไมตรี มุ่งก่อสุขแก่กันและกัน
10. มีความเห็นถูก เป็นสัมมาทิฏฐิ เข้าใจในหลักกรรมว่า...
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว รู้เท่าทันความเป็นจริงตามธรรมดาของโลก
มองเห็นความเป็นไปตามเหตุปัจจัย...

ธรรม...ทั้ง 10 ข้อนี้เรียกว่า...'อารยธรรม' หรือ..กุศลกรรมบทนั่นเอง
บุคคลใดประพฤติปฏิบัติตามหลัก 10 ประการนี้ เป็น...อารชนที่สมบูรณ์แบบ
ทำให้เจริญขึ้นพร้อมทั้งทางกาย ทางวาจา ทางใจ...

อย่างไรก็ดี ถ้าบุคคลใดยังไม่มั่นคงในทางอารยธรรม บุคคลนั้นพึงควบคุม
ตนให้ได้ในทางกายและวาจาก่อนเป็นอย่างน้อย ด้วยการรักษาศีล 5
ซึ่งเป็นส่วนเบื่องต้นของธรรมจริยา 10 ประการนั้น ก็ยังจะได้ชื่อว่า...
เป็นผู้มีศีลธรรมประจำใจเช่นกัน....

บุคคลใดรักษาศีล รักษาธรรม...บุคคลนั้นย่อมมีศีลรักษา มีธรรมรักษา
ฉันใดก็ฉันนั้ค่ะ......ฯ

~ขอนอบน้อมแด่คุณพระพุทธ คุณพระธรรม คุณพระสงฆ์~

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์