กุหลาบพันปี (Rhododendron) •°•.° ღღღ 2
กุหลาบพันปี (Rhododendron arboreum subsp. delavayi) หรือคำแดง
นับเป็นพืชหายากที่มีดอกงดงามมากที่สุดชนิดหนึ่งของประเทศไทย และมี
การกระจายพันธุ์ค่อนข้างจำกัดอยู่เฉพาะในเขตอากาศหนาวเย็น
บนพื้นที่ชุ่มชื้น สันเขา หรือหน้าผา ระดับความสูงประมาณ 1,600- เหนือระดับน้ำทะเล ในประเทศไทยพบได้ในป่าดิบเขาทางภาคเหนือ
เช่น อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ จังหวัดเชียงใหม่ และอุทยานแห่งชาติ
ขุนแจ จังหวัดเชียงราย เป็นต้น ส่วนในต่างประเทศพบได้ที่อินเดีย เนปาล
ภูฏาน พม่า และจีนในมณฑลยูนานและกุ้ยโจว กุหลาบพันปีจะผลิดอก
ในระหว่างเดือนมกราคมถึงพฤษภาคม แต่ช่วงที่ดอกบานเต็มที่คือปลาย
เดือนกุมภาพันธ์ พรรณไม้ชนิดนี้มีลักษณะเป็นต้นไม้ขนาดเล็กถึงขนาด
กลาง สูง 2-
ของแรงลม เปลือกตะปุ่มตะป่ำ ใบสีเขียวเข้มมีรูปร่างคล้ายหอก ยาว 7-14
ซ.ม. ออกเรียงเวียนสลับเป็นกลุ่มที่ปลายกิ่ง กุหลาบพันปีมีดอกสีแดงเลือด
นกเข้มข้นสะดุดตา ดอกเป็นช่อทรงกลมที่ปลายกิ่ง โดยมีใบเรียงแผ่วนต่อ
กันเป็นจานรองรับงดงามมาก แต่ละช่อมีดอกออกรวมกันตั้งแต่ 4-12 ดอก
เมื่อบานมีขนาด 3-5 ซ.ม. มีขนสั้น ๆ สีแดงปกคลุม ดอกทรงกรวยแกมรูป
ระฆัง ปลายแยกเป็น 5-6 กลีบ กลีบค่อนข้างกลม ส่วนโคนกลีบดอกเชื่อม
กันทั้งหมด ยามที่กุหลาบพันปีเบ่งบาน น้ำหวานของมันยังกลายเป็น
อาหารสำหรับนกและแมลงต่างๆ เช่นเดียวกับความงามที่ไม่เคยลบเลือน