ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่งกระบี่(ปลาการ์ตูน)

ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่งกระบี่(ปลาการ์ตูน)
ในสมัยก่อนคนที่ชอบเลี้ยงปลาส่วนใหญ่จะนึกปลาสวยงามที่เป็นปลา น้ำจืด เพราะคิดว่าการเลี้ยงปลาน้ำเค็มจะเป็นเรื่องที่ไกลตัวและค่อนข้างยุ่งยาก แต่ในปัจจุบันเมื่อเราเข้าใจในระบบนิเวศน์มากขึ้นก็ทำให้การเลี้ยงปลาสวยงาม ที่เป็นปลาน้ำเค็มไม่ใช่เรื่องที่ยุ่งยากหรือไกลตัวอีกต่อไป
สำหรับทริปเที่ยวกระบี่รอบนี้เราได้รวม การเที่ยวชมศูนย์เพาะพันธ์ปลาแห่งนี้ไว้ในทริปของเราด้วย ซึ่งถือว่าเป็นสถานที่อีกแห่งที่ไม่ควรพลาดมาเยี่ยมชมเมื่อมีโอกาสมา เยือนกระบี่นะครับ
ศูนย์ฯได้เพาะพันธุ์ปลาการ์ตูนมาตั้งแต่ ปี 2543 และประสบความสำเร็จเมื่อประมาณ ปี 2546 โดยได้ดำเนินการเพาะหลายสายพันธุ์ ทั้งสายพันธุ์ที่มีอยู่ในประเทศไทยและต่างประเทศ ในเชิงพาณิชย์ เพื่อจำหน่ายให้กับผู้ค้าปลาและประชาชนทั่วไป นำไปเลี้ยง ซึ่งถือว่าประสบความสำเร็จ นอกจากนี้การเพาะพันธุ์ปลาการ์ตูน สามารถลดปริมาณการลักลอบจับในท้องทะเล ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญ เชื่อว่าคงจะลดลงในระดับหนึ่ง
“สำหรับการจำหน่ายภายในศูนย์ จำหน่ายในราคาต่อตัว/นิ้ว ละ 7 บาท แต่หากว่าเป็นสายพันธุ์จากต่างประเทศ ราคาก็จะสูงขึ้นไปตามชนิด อย่างไรก็ตามขณะนี้มีภาคเอกชนสนใจเพาะพันธุ์แล้วหลายราย แต่ไม่ได้เป็นคนในจังหวัดกระบี่ หากว่ามีการเพาะเลี้ยงกันมากก็จะทำให้ตลาดกว้างขึ้นและจะช่วยลดการลักลอบจับ ลงได้อีกทางหนึ่ง และในอนาคตอันใกล้นี้ตลาดปลาการ์ตูน จะกว้างขึ้นอีกมากเนื่องจากกระทรวงพานิชย์ ประกาศให้สามารถนำออกจำหน่ายในต่างประเทศ รอเพียงระเบียบที่กรมประมงกำลังดำเนินการ เมื่อทุกอย่างเรียบร้อยปลาการ์ตูนจะเป็นสินค้าส่งออกอีกชนิดหนึ่ง”
การเลี้ยงปลาสวยงามได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย ไม่ว่าจะเป็นการเลี้ยงภายในครอบครัว ตามร้านอาหาร โรงแรม สถานที่ราชการ หรือหน่วยงานต่าง ๆ เนื่องจากตู้ปลาสวยงามจะสร้างความสวยงาม ความเพลิดเพลินให้แก่ผู้พบเห็น บางคนเลี้ยงปลาสวยงามเป็นงานอดิเรกภายในครอบครัว ทำให้มีกิจกรรมร่วมกันในครอบครัว เป็นการสร้างความรักความสามัคคีและความผูกพันธุ์ภายในครอบครัว เด็ก ๆ ที่ได้เลี้ยงปลาสวยงามจะทำให้เขามีความรัก ความเมตตาต่อสัตว์ มีจิตใจอ่อนโยน ทำให้เด็กใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ห่างไกลยาเสพติดและอบายมุข ซึ่งกำลังเป็นปัญหาสำคัญในสังคมปัจจุบัน จากความนิยมในการเลี้ยงปลาสวยงาม ได้ก่อให้เกิดกิจกรรม และธุรกิจต่อเนื่องหลายอย่าง สร้างงาน สร้างรายได้ให้แก่บุคคลหลายกลุ่มธุรกิจ เช่น ธุรกิจเพาะพันธุ์ปลา ธุรกิจจำหน่ายปลา ธุรกิจขนส่ง ธุรกิจผลิตและขายอุปกรณ์การเลี้ยงปลา ธุรกิจยา อาหาร และสารเคมี และอื่น ๆ อีกมากมาย ซึ่งปรากฎชัดเจนแล้วว่าธุรกิจที่เกี่ยวกับปลาสวยงามได้สร้างงานสร้างรายได้ เข้าประเทศได้ดีทางหนึ่ง
การเลี้ยงปลาสวยงามแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ ตามลักษณะน้ำที่ใช้เลี้ยงคือ การเลี้ยงปลาสวยงามน้ำจืดและการเลี้ยงปลาสวยงามทะเล ในอดีตเมื่อนึกถึงการเลี้ยงปลาสวยงาม คนส่วนใหญ่มักนึกถึงแต่การเลี้ยงปลาสวยงามน้ำจืด ส่วนการเลี้ยงปลาสวยงามทะเลจะเป็นสิ่งที่ไกลตัวและเป็นเรื่องยาก แต่ปัจจุบันเมื่อคนเข้าใจในระบบนิเวศน์ของทะเลมากขึ้น การเลี้ยงปลาทะเลจึงเป็นสิ่งที่ไม่ยากเหมือนแต่ก่อน การเลี้ยงปลาสวยงามทะเลจึงขยายตัวอย่างรวดเร็ว เนื่องจากปลาทะเลจะมีความสวยงามกว่าปลาน้ำจืดนั่นเอง แต่ผลที่เกิดขึ้นตามมาคือการจับปลาจากทะเล และการเก็บสิ่งประดับตู้ปลาต่าง ๆ จากทะเลเป็นจำนวนมาก แม้ว่าจะสร้างรายได้อย่างงามให้แก่คนในธุรกิจนี้แต่ก็มีผลเสียต่อธรรมชาติ เป็นอย่างมากเช่นกัน ด้านการเพาะพันธุ์ปลาสวยงามทะเลในปัจจุบันพบว่ายังไม่ประสบความสำเร็จเท่า ที่ควร คือเพาะพันธุ์ได้น้อยชนิด และผลิตได้จำนวนน้อยมาก เมื่อเทียบกับความต้องการของตลาด ดังนั้นหากจะพัฒนาธุรกิจด้านการเลี้ยงปลาสวยงามทะเล จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเร่งศึกษาด้านการเพาะพันธุ์ปลาสวยงามทะเล การเพาะพันธุ์ปะการัง รวมไปถึงพันธุ์ไม้น้ำทะเลด้วย
เมื่อนึกถึงปลาสวยงามทะเล คนส่วนใหญ่จะนึกถึงปลาการ์ตูนเป็นลำดับต้นๆ เนื่อง จากปลาการ์ตูนเป็นปลาที่มีสีสรรสวยงาม น่ารัก เชื่องง่าย เมื่อการเลี้ยงปลาทะเลสวยงามเริ่มขยายตัว ปลาการ์ตูนจากธรรมชาติจึงถูกจับมาขายเป็นจำนวนมาก เนื่องจากตลาดมีความต้องการสูงและเป็นปลาที่จับได้ง่าย ปัจจุบันนี้พบว่า ประชากรของปลาการ์ตูนชนิดต่าง ๆ ได้ลดจำนวนลงอย่างมาก เกือบเข้าภาวะวิกฤติ จะต้องได้รับการช่วยเหลือโดยด่วน สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งจังหวัดกระบี่ ซึ่งเป็นหน่วยงานราชการ ในสังกัด กองเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง กรมประมง ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของปลาชนิดนี้ทั้งในด้านการอนุรักษ์และคุณค่าทาง เศรษฐกิจ จึงเริ่มศึกษาด้านการเพาะพันธุ์ปลาการ์ตูนของไทยตั้งแต่ต้นปี 2544 โดยผสมผสานความรู้จากการศึกษาพฤติกรรมการวางไข่และการเจริญเติบโตของปลา การ์ตูนส้มขาวของอุ่นจิต (2537) กับความรู้ด้านการเพาะพันธุ์ปลากะรังของสถานีเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง จังหวัดกระบี่ จนถึงปัจจุบัน ( กรกฎาคม 2545) สามารถเพาะพันธุ์ปลาการ์ตูนได้ 5 ชนิด คือ ปลาการ์ตูนส้มขาว ปลาการ์ตูนลายปล้อง ปลาการ์ตูนลายปล้องหางเหลือง ปลาการ์ตูนหลังอาน และปลาการ์ตูนอินเดียน
ปลาการ์ตูนส้มขาว clown anemonefish, A. ocellaris (Cuvier, 1830)
ลำ ตัวมีสีส้มเข้ม มีแถบสีขาว 3 แถบ พาดบริเวณส่วนหัว ลำตัวและบริเวณหาง ขอบของแถบสีขาวเป็นสีดำ ขอบนอกของครีบเป็นสีขาวและขอบในเป็นสีดำ อาศัยในที่ลึก ตั้งแต่ 1-15 เมตร ขนาดตัวโตที่สุดประมาณ 10 เซนติเมตร อาศัยอยู่กับดอกไม้ทะเลชนิด Heteractis magnifica และ Stichodactyla gigantea เป็นต้น ปลาการ์ตูนส้มขาวพบได้บ่อยที่สุดในทะเลอันดามัน อ่าวไทยพบได้ที่เกาะโลซิน จังหวัดนราธิวาส อาศัยอยู่เป็นครอบครัวใหญ่ ในดอกไม้แต่ละกออาจพบปลาการ์ตูนชนิดนี้อยู่ด้วยกัน 6-8 ตัว
ปลาการ์ตูนลายปล้อง clark's anemonefish, A. clarkii (Bennett, 1830)
ลำ ตัวมีสีดำเข้ม ส่วนหน้าครีบอกและหางมีสีเหลืองทอง มีแถบขาว 3 แถบ ตรงส่วนหัว ลำตัว และโคนหาง ปลาชนิดนี้มีความผันแปรของสีสูง มีไม่ต่ำกว่า 8 รูปแบบ (ธรณ์, 2544) สีของลูกปลาวัยรุ่นก็ต่างจากปลาเต็มวัย พบทั้งอ่าวไทยและทะเลอันดามัน จัดเป็นปลาการ์ตูนใหญ่ที่สุดของเมืองไทย ขนาดโตที่สุดประมาณ 15 ซ.ม. อาศัยอยู่ร่วมกับดอกไม้ทะเลได้หลายชนิด บางครั้งเป็นชนิดที่พบตามพื้นทราย ปลาการ์ตูนลายปล้องมีการแพร่กระจายกว้างมาก อาจอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม 3-4 ตัว โดยมีตัวเมีย ซึ่งมีขนาดโตที่สุด เป็นจ่าฝูง ตัวที่มีขนาดรองลงมาจะเป็นตัวผู้ ถ้าตัวเมียตายไปตัวผู้ก็จะรีบโตและเปลี่ยนเพศขึ้นมาทำหน้าที่แทน

ปลาการ์ตูนลายปล้องหางเหลือง sebae anemonefish, A. sebae (Bleeker, 1853)
ลำ ตัวมีสีดำ ส่วนหางมีสีเหลือง มีแถบขาว 2 แถบ แถบแรกพาดอยู่บริเวณหลังตา อีกแถบพาดผ่านท้องขึ้นมายังครีบหลัง เป็นชนิดที่หายาก พบเฉพาะฝั่งอันดามันในที่ลึกตั้งแต่ 2-25 เมตร ขนาดโตที่สุดประมาณ 14 เซนติเมตร อยู่กับดอกไม้ทะเลชนิดที่ฝังทรายได้แก่ Stichodactyla haddoni มีสีน้ำตาลหนวดสั้น มักอยู่กันเป็นคู่กับลูกเล็ก ๆ 3-4 ตัว มีนิสัยดุร้ายกับปลาอื่นที่ไม่ใช่สมาชิกในครอบครัว

ปลาการ์ตูนหลังอาน saddleback anemonefish, A. polymnus (Linnaeus, 1758)
ลำ ตัวมีสีน้ำตาลอมดำ มีแถบขาว 2 แถบ แถบแรกอยู่หลังตา อีกแถบเริ่มบริเวณกลางลำตัวเป็นแถบโค้งพาดเฉียงขึ้นไปที่ครีบหลัง ลักษณะคล้ายอานม้า พบในที่ลึก ตั้งแต่ 2-30 เมตร ขนาดโตที่สุดประมาณ 12 เซนติเมตร อยู่กับดอกไม้ทะเลชนิดที่ฝังตัวอยู่ตามพื้นทราย คือ Heteractis crispa และ Stichodactyla haddoni พบเฉพาะในอ่าวไทย
ปลาการ์ตูนอินเดียน yellow skunk anemonefish, A. akallopisos (Bleeker, 1853)
ลำ ตัวมีสีเนื้ออมเหลืองทองอมชมพู มีแถบขาวเล็ก ๆ พาดผ่านบริเวณหลังตั้งแต่ปลายจมูกจนจรดครีบหาง อาศัยในที่ลึกตั้งแต่ 3 - 25 เมตร ขนาดโตที่สุดประมาณ 10-11 เซนติเมตร อาศัยอยู่กับดอกไม้ทะเลชนิด Heteractis magnifica และ Stichodactyla mertensii อยู่รวมกันเป็นครอบครัวใหญ่คล้ายปลาการ์ตูนส้มขาว พบได้บ่อยทางฝั่งอันดามัน ส่วนอ่าวไทยพบที่เกาะโลซิน
ใครมาเที่ยวกระบี่ก็มาเยี่ยมน้องปลาการ์ตูนกันละกันนะครับ รับรองว่าต้องได้รอยยิ้มกลับไปแน่ๆ ครับ

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์