<center> "กุหลาบสีน้ำเงิน Blue Rose"
ความหมายของมันคือ การปฏิเสธ การบอกลา หรือการไม่สมหวัง
เพราะมีเรื่องเล่า....~
เรื่องมีอยู่ว่า........
นานมาแล้วมีชายหญิงคู่หนึ่ง ทั้งสองรักกันมาก และก็กำลังจะแต่งงานกัน
แต่ก่อนที่จะแต่งงาน ฝ่ายชายสัญญาว่า จะสร้างดอกกุหลาบที่มีสีน้ำเงินขึ้นมา
ด้วยเหตุผลที่ว่าหญิงที่เค้ารักชอบดอกกุหลาบสีน้ำเงินที่สุด
เค้าทั้งสองสัญญากันว่าเมื่อเค้าได้สร้างกุกลาบสีน้ำเงินได้เมื่อไหร่
เค้าจะขอเธอแต่งงานอีกครั้งและจะมอบกุหลาบสีน้ำเงินเป็นของขวัญวันแต่งงาน
ทายซิฝ่ายชายทำได้รึป่าว??
คำตอบคือ แน่นอน ทำไม่ได้ ไม่งั้นคงไม่มีความหมายแบบนี้หรอก - -*!!!
แล้วเวลาก็ผ่านมาเรื่อยๆ จากวันเป็นเดือน จากเดือนเป็นปี
ที่หญิงสาวรอคอยคนรัก แต่การรอคอยก็สิ้นสุดลงเมื่อการสร้างกุหลาบนั่นไม่สำเร็จ
เพราะถ้าสำเร็จคุณคงจะเห็นดอกกุหลาบสีน้ำเงินในปัจจุบันนี้
แล้วคุณรู้มั้ยหญิงสาวผู้นั้นรอคอยชายที่ตนรัก และตายไปอย่างโดดเดี่ยวในที่สุด
ส่วนชายผู้นั้นเมื่อรู้ว่าหญิงที่เค้ารักตายไป เค้าก็ตรอมใจและก็ตายตามหญิง
ที่เค้ารักไป
จนผู้คนให้นิยามกับดอกกุหลาบสีน้ำเงินว่า
"การรอคอยที่ไม่มีวันสิ้นสุด"
อีกหนึ่งความหมายก็คือ
" ความรักที่ไม่สมหวัง"
ความหมายเดิม =เป็นไปไม่ได้ (ก่อนนี้ไม่มีอยู่จริงตามธรรมชาติ) เป็นการปฏิเสธอย่างรุนแรง
ความหมายใหม่ = ดอกไม้แห่งความสมหวัง ดอกไม้นำความสุข เช่นเดียวกับ
"นกสีน้ำเงิน" (หลังผลิตได้จากการพัฒนาทางวิศวพันธุกรรม)
กุหลาบพันธ์ใหม่.. "สีน้ำเงิน" ตัดต่อพัธุกรรมสำเร็จแล้ว
ขึ้นชื่อว่าดอกกุหลาบต้องมีกลีบสีแดงใช่ไหม? คนญี่ปุ่นบอกว่า ไม่ใช่อีกต่อไปแล้ว บริษัทแห่งหนึ่งในญี่ปุ่นได้ใช้เทคนิคตัดต่อพันธุกรรม สร้างกุหลาบสีน้ำเงินเป็นผลสำเร็จ ในปีหน้าจะเริ่มมีขายทั่วไป
เอกชนรายนี้ก็คือ ซันทอรี ผู้ผลิตสุรารายใหญ่ โฆษกของบริษัทบอกว่า ทางบริษัทคาดว่าจะขายกุหลาบน้ำเงินได้ปีละหลายหมื่นดอก
โฆษก คาซูมาซา นิชิซากิ บอกว่า ราคาของมันจะค่อนข้างแพง ฉะนั้น ทางบริษัทจะจับกลุ่มลูกค้าระดับบนที่ต้องการซื้อเป็นของขวัญ แต่จะขายราคาเท่าไหร่ และจะมีชื่อการค้าว่าอย่างไร ทางบริษัทยังไม่ได้กำหนด
ซันทอรียังได้ไปทดลองปลูกกุหลาบน้ำเงินนี้ในออสเตรเลียและสหรัฐด้วย เพื่อขออนุญาตออกวางจำหน่ายในอนาคต แต่ยังไม่ได้กำหนดวันเปิดตัวในประเทศทั้งสอง
บริษัทนี้ได้แถลงเปิดตัวกุหลาบสีน้ำเงินมาตั้งแต่ปี 2547 หลังจากศึกษาวิจัยมานาน 14 ปี โดยมีนักวิจัยของออสเตรเลียเข้าร่วมโครงการด้วย ซันทอรีได้สร้างกุหลาบแบบนี้ขึ้นด้วยการปลูกถ่ายสารพันธุกรรมชนิดหนึ่ง ซึ่งทำให้เกิดการสังเคราะห์เม็ดสีสีน้ำเงินขึ้น ซึ่งเม็ดสีที่เรียกว่าเดลฟีนิดีนนี้ ไม่ได้มีในกุหลาบตามธรรมชาติ.