แมว - Cat
♥มหัศจรรย์สัตว์เผือก♥
อูฐ - Camel
เสือเบงกอล - Bengal Tiger
ควายไบสัน(ไบซั่น) - Bison
กวางสายพันธุ์ใหญ่ - Elk
กวาง - Deer
ยีราฟ - Giraffe
กอริลลา - Gorilla
จิ้งโจ้ - Kangaroo
หมีโคอาลา - Koala
เพนกวิน - Penguin
กระรอก - Squirre
นกฮูก - Owl
เม่นแคระ - Hedgehog
...................
สัตว์เผือก
การเป็นสัตว์เผือกนั้นมีสาเหตุมาจากความผิดปกติของร่างกายที่เกิดการกลายพันธุ์ทำให้เกิดยีนด้อยขึ้นในหน่วยพันธุกรรมของสัตว์ตัวนั้นๆ ในสัตว์เผือกยีนที่ควบคุมการเกิดสีภายในร่างกายจะบกพร่องทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆกับเม็ดสีภายในร่างกาย
ซึ่งการเป็นสัตว์เผือกส่วนใหญ่แล้วจะเกิดจากเปลี่ยนแปลงแบบฉบับพลันหรือเรียกว่าการกลายพันธุ์ (mutation) คือผิดปกติเฉพาะสัตว์ตัวนั้นเพียงตัวเดียวเมื่อคลอดออกมาในธรรมชาติถ้าหากสัตว์ตัวนี้มีโอกาสได้สืบพันธุ์ต่อไป และยีนด้อยการเป็นเผือกนั้นสามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ ยีนด้อยเหล่าการเป็นเผือกนี้ก็จะแฝงตัวอยู่กับลูกหลาน แต่โอกาสแสดงออกมาให้เห็นเป็นสัตว์เผือกน้อยมาก เพราะร่างกายของสิ่งมีชีวิตมีหน่วยพันธุกรรมเด่นๆ อีกมากมายที่ข่มยีนด้อยเหล่านี้อยู่ เมื่อดูจากภายนอกเราไม่อาจบอกได้เลยว่าสัตว์ตัวใดมียีนด้อยแฝงอยู่บ้าง
ลักษณะผิดปกติในตัวสัตว์ที่เปลี่ยนจากสีปกติเป็นสีขาวนี้เรียกว่า โรคอัลบินิซึม (albinism) เกิดจากยีนด้อยที่มีอยู่ในพันธุกรรม ทำให้ไม่สามารถสร้างเอนไซม์เมลาโนโซท์ ไทโรซิเนส (melamocyte tyrosinase) ที่จะเปลี่ยนไทโรซีน ซึ่งเป็นโปรตีนสำคัญตัวหนึ่งไปเป็นเมลานิน (Melanin) ซึ่งในมนุษย์ทำให้ผู้ที่เป็นโรคนี้แสดงลักษณะเผือกคือ มีสีผิวขาว ผมขาว ตาสีขาว ม่านตาสีเทาและโปร่งแสง รูม่านตาสะท้อนแสงออกมาเป็นสีแดง ร่างกายอ่อนแอติดเชื้อได้ง่ายกว่าคนทั่วไป
ส่วนในสัตว์การเปลี่ยนแปลงนี้อาจจะเปลี่ยนแปลงสมบูรณ์คือขาวหมดทั้งตัว (Complete Albinism) หรือเปลี่ยนแปลงเฉพาะบางส่วน (Incomplete Albinism) ก็ได้ โดยสัตว์เผือกขาวโดยสมบูรณ์นั้นรงควัตถุที่แสดงสีจะไม่ปรากฎให้เห็นเลยแม้ในดวงตา แสงจะผ่านดวงตาและสะท้อนผ่านเส้นเลือดออกมาทำให้เห็นว่าดวงตามีสีแดงทับทิมหรือในส่วนอื่นๆ ที่บอบบางของร่างกายก็จะเห็นเป็นสีชมพูของเส้นเลือดเช่นเดียวกัน สัตว์บางตัวอาจจะปรากฎสีขาวเฉพาะส่วนก็เพราะมียีนด้อยที่แสดงความเผือกยังปรากฎออกมาไม่สมบูรณ์เพราะมียีนเด่น ๆ ตัวอื่นข่มอยู่บ้าง