ชื่อภาษาไทย | ส้มซ่า | |||
ชื่ออื่นๆ | ส้ม | |||
ชื่อภาษาอังกฤษ | Bouquetier, Sour orange, Bitter orange, Seville orange,Bigarade | |||
ชื่อวิทยาศาสตร์ | Citrus aurantium L. cv. Group Bouquetier | |||
ชื่อพ้อง | Citrus bigaradia Risso & Poiteau, C. amara Link, C. aurantium L. var. amara (Link) Engler [1, 2] | |||
วงศ์ | Rutaceae | |||
ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ | ไม้ยืนต้น สูง 3-10 เมตร ทรงพุ่มกลม มีกิ่งก้านมาก กิ่งอ่อนเป็นเหลี่ยม กิ่งมีหนามแหลมสั้น กิ่งแก่ อาจอวบยาวถึง 8 เซนติเมตร ใบเดี่ยว เรียงสลับ มีจุดต่อมน้ำมันมาก มีกลิ่นหอมเมื่อขยี้ ก้านใบยาว 2-3 เซนติเมตร ครึ่งตอน บนแผ่เป็นปีกแคบ ๆ ถึงกว้าง รูปคล้ายสามเหลี่ยมแกมไข่กว้าง ขนาดกว้างถึง 2.5 เซนติเมตร แผ่นใบรูปไข่กว้างถึงรูปรี ขนาดกว้าง 4-7 เซนติเมตร ยาว 7-12 เซนติเมตร โคนใบสอบหรือมน ปลายมนถึงปลายทู่ ขอบใบเกือบเรียบถึงจักเล็กน้อย ดอกเดี่ยวหรือเป็นกลุ่มดอกออกที่ซอกใบ กลีบสีขาว มี 2-3 ดอก มีกลิ่นหอมแรง ปกติเป็นดอกสมบูรณ์เพศ มีดอกเพศผู้น้อย 5-12 % กลีบเลี้ยงรูปคล้ายถ้วย ยาว 0.4-0.5 เซนติเมตร มี 3-5 หยัก รูปไข่กว้างคล้ายสามเหลี่ยม เกลี้ยงหรือมีขน กลีบดอก มี 4-5 กลีบ รูปขอบขนาน ขนาดกว้าง 0.4 เซนติเมตร ยาว 1.5 เซนติเมตร เกสรเพศผู้ มี 20-25 อัน แยก 4-5 กลุ่ม ก้านเกสร ยาว 6-10 เซนติเมตร อับเรณู รูปขอบขนาน สีเหลือง เกสรเพศเมีย ก้านเกสรอวบและยอดเกสรนูนกลม รังไข่ ไม่มีขน ผลแบบส้ม รูปกลม ขนาดส้นผ่าศูนย์กลาง 5-8 เซนติเมตร มี 8-12 ห้อง ตรงกลางกลวง เปลือกหนา ผิวเรียบถึงเป็นตุ่มขรุขระ สีส้มเหลืองมีกลิ่นแรง เนื้อในเป็นกรด มีรสขม เล็กน้อย เมล็ดมีจำนวนมาก [1, 2] | |||
นิเวศวิทยา | แหล่งกำเนิดอาจเป็นทางตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย และพื้นที่ที่ติดกับพม่าและจีนแล้วแพร่กระจายไปทางตะวันออกเฉียงเหนือยังญี่ปุ่น และทางตะวันตกผ่านอินเดียไปยังตะวันออกกลาง แล้วต่อไปยังยุโรป มีการกระจายอย่างรวดเร็วในเขต เมดิเตอร์เรเนียนหลายพันปีมาแล้ว พบปลูกแพร่หลายในสเปน เรียก Seville orange ปัจจุบันมีการปลูกทั่วไปทั้งในเขตร้อน และกึ่งร้อน แต่พบน้อยในเขตเอเชียตะวัน ออกเฉียงใต้ ส้มซ่าชอบขึ้นในที่มีภูมิอากาศอบอุ่น แต่ทนต่ออากาศร้อนได้ ดินมีความชื้นพอ ไม่ทนต่อสภาพอากาศเย็น เกิดโรคได้ง่าย ถ้าสภาพภูมิอากาศเหมาะสม สามารถปลูกได้ในดินเกือบทุกชนิด ที่ไม่ใช่เป็นดินดาน มีความชื้น และมีปริมาณดินเหนียว ปูน หรือ ซิลิกา มากพอ [1, 2] | |||
สรรพคุณ | เปลือกผล รสปร่าหอมใช้ทำยา หอมแก้ลมวิงเวียนหน้ามืดตาลาย แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ น้ำในลูก รสเปรี้ยวอมหวาน กัดฟอก เสมหะ แก้ไอ ฟอกโลหิต ใบ รักษาโรคผิวหนัง [3] | |||
ข้อมูลการวิจัยของน้ำมันส้มซ่า | ||||
องค์ประกอบทางเคมี | ผิวส้มซ่าเมื่อนำมาสกัดน้ำมันหอมระเหยโดยการต้มกลั่น (hydrodistillation) ได้น้ำมันหอมระเหยร้อยละ 1.71 (สนใจรายละเอียด GC Chromatogram ติดต่อที่ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ฝ่ายเภสัชและผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ) |
ส้มซ่า !!!
เครดิต :
ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!