อันเพื่อนดีมีหนึ่งถึงจะน้อย
ดีกว่าร้อยเพื่อนคิดริษยา
ดั่งมีเกลือเพียงหนึ่งด้อยราคา
ดี
มิตรแท้มี 4 ประเภท ได้แก่
1. มิตรมีอุปการะคุณ
2.มิตรร่วมทุกข์ร่วมสุข
3. มิตรแนะประโยชน์
4. มิตรอนุเคราะห์(อนุกัมปกะ)
มิตรเทียมมี 4 ประเภท ได้แก่
1. มิตรปอกลอก
2. มิตรดีแต่พูด
3. มิตรชอบประจบประแจง
4. มิตรชวนไปในทางเสียหาย
ถ้ามีเพื่อนเป็นคนชั่ว ก็ควรเร่งถอนตัว ตีจากเสียให้เร็วที่สุด
เพื่อป้องกันทุกข์ภัย ที่จะมีในปัจจุบัน และในอนาคต
ทางแก้
๑. พิจารณาให้เห็นโทษ ของการคบกับคนชั่ว
และคุณของการคบกับคนดี อย่างแจ่มแจ้งชัดเจน
และต้องตัดใจเลิกคบกับคนชั่วให้ได้ด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น
ก. เลิกคบกันทันทีทันใด ถ้าคิดว่าทำแล้วจะไม่เกิดมีทุกข์หรือภัยตามมาภายหลัง
ข. ค่อย ๆ แยกหรือปลีกตัวออกมา โดยที่ไม่ให้เขารู้ตัว
ค. ตัดสายสัมพันธ์ ที่เป็นสื่อเชื่อมโยงออกให้หมด
๒. ถ้าอยู่โรงเรียนเดียวกัน หรือทำงานร่วมกัน
ก็อาจขอย้ายห้อง ย้ายโรงเรียน หรือเปลี่ยนงานใหม่ ก็แล้วแต่กรณี
๓. ย้ายบ้าน อย่าอยู่ใกล้ชิดกันอีกต่อไป
๔. เลือกคบหาคนดีไว้ทดแทน
เพราะมนุษย์เป็นสัตว์สังคมไม่อาจจะอยู่โดดเดี่ยว ได้
เป็นธรรมดาอยู่เอง เมื่อเราคบกับคนชั่ว คนดีก็ย่อมรังเกียจไม่คบหาด้วย
และเมื่อเราเลิกคบกับคนชั่ว คนดีก็ย่อมคบหาด้วย
อย่ากลัวเลยว่า จะหาคนดีคบไม่ได้ ขอแต่ว่าให้เรา เป็นคนดีจริง ๆ เถอะ อย่าเป็นคนประเภท "ปากปราศรัย น้ำใจเชือดคอ" ก็แล้วกัน ทุกวันนี้ โลกเราหนาแน่นไปด้วยคนมีความรู้ มีดีกรีสูง แต่ขาดแคลนคนดีหรือบัณฑิต (ผู้มีปัญญา) ยิ่งนัก.
--------------------------------------
กว่
วิธีการดับทุกข์เพราะ...เพื่อน
สมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้า ประทับอยู่ ณ นิคมของชาวศักยะ ในแคว้นสักกะ
ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์ ได้เข้าไปเฝ้าแล้วกราบทูลพระพุทธองค์ว่า
"ข้าแต่ พระองค์ผู้เจริญ ความเป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี และมีเพื่อนที่ดีนั้น
นับ ว่าเป็นครึ่งหนึ่ง ของพราหมจรรย์ทีเดียวนะ พระเจ้าข้า"
พระพุทธองค์ ได้ตรัสค้านขึ้นว่า "พระอานนท์ ! เธออย่าได้พูดอย่างนั้น เธออย่าได้กล่าวอย่างนั้น ก็ความเป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี และมีเพื่อนที่ดีนั้น
นับว่าเป็นพราหมจรรย์หมดทั้งสิ้นทีเดียว
อานนท์ ! อันภิกษุผู้มีมิตรดี มีสหายดี และมีเพื่อนที่ดีก็เป็นอันหวังได้แน่นอนว่า จะได้เจริญอริยมรรคประกอบ ด้วยองค์ ๘
จะกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘…."
(อุ ปัฑฒสูตร ๑๙/๒)
ได้ยกเอาพระสูตรสำคัญที่สุด ที่พระพุทธองค์ได้ตรัสคัดค้านพระอานนท์
ที่ กราบทูลว่า การมีเพื่อนดี เป็นเพียงครึ่งหนึ่งของพรหมจรรย์เท่านั้น
แต่ พระพุทธองค์ทรงเห็นว่าเป็นทั้งหมดที่เดียว
ข้อนี้เป็นที่รับรองของ ท่านผู้รู้ อย่างชนิดไม่ต้องสงสัยเลย
เพราะมีสุภาษิตรับรองอยู่ทั่วไป เช่น คนคนเช่นใด ย่อมเป็นเช่นคนนั้น
คบคนเลวย่อมเลวตาม และคบคนดีย่อมดีขึ้นในทันที เป็นต้น
ในมงคล ๓๘ ท่านจึงได้วาง หรือจัดวางไม่คบคนพาล ไว้เป็นข้อแรก
และ จัดการคบกับบัณฑิตไว้เป็นข้อที่ ๒
ทั้งนี้ก็เพราะการคบเพื่อนเหมือนกับ การเริ่มต้นของการเดินทาง
การคบเพื่อนที่ไม่ดี ก็เหมือนการเดินทางผิด ยิ่งเดินก็ยิ่งผิด
ทางที่ถูกก็คือ ต้องตั้งต้นเดินใหม่ นั่นคือการเลือกคบแต่คนดี
ปัญหา มีต่อไปว่า เราจะรู้ได้อย่างไรว่า เพื่อนคนไหนดีหรือไม่ดี ?
การคบกัน ใหม่ ๆ ย่อมจะดูยาก ไม่เหมือนการดูสัตว์บางประเภท
เช่น เสือมันก็ยังมีลายหรือสีที่ขนพอให้แยกได้ว่า
เป็นเสือหรือสัตว์ประเภท อะไร ? เป็นต้น
การดูคนดี หรือชั่ว เรามีจุดที่จะดูอยู่ ๓ จุด
คือ ที่กาย วาจา และที่ใจของเขา
โดย มีศีลและธรรม เป็นมาตรวัดดังนี้
ทางกาย ๔ คือ
– ไม่ฆ่าสัตว์ – ไม่ลักทรัพย์ – ไม่ประพฤติผิดในกาม
และ – ไม่ดื่มสุราเมรัย
ทาง วาจา ๔ คือ
- ไม่พูดปด – ไม่พูดคำหยาบ – ไม่พูดส่อเสียด และ – ไม่พูดเพ้อเจ้อ
ทางใจ ๓ คือ – ไม่โลภอยากได้ในทางที่ผิด
- มีจิตเมตตาไม่ปองร้ายหรือพยาบาท
และ – มีความเห็นชอบและถูกต้องตามทำนองคลองธรรม
มีข้อที่ดูยากก็คือทางใจ แต่ก็พอจะดูได้
เพราะเมื่อใจคิดแล้ว มักก็ต้องพูดหรือทำ ไม่ช้าก็เร็วออกมาจนได้
การคบกันนาน ๆ จึงจะรู้ธาตุแท้หรือสันดานของคนได้แท้จริง
ในอกิตติชาดก (๒๗/๓๓๗) ท่านแนะให้ดูคนพาล
หรือ คนชั่วที่ ๕ จุด นับว่าเข้าทีและเป็นไปได้ คือ
- คนพาลชอบชักแนะนำในทางที่ผิด
- คนพาลมักชอบทำในสิ่งที่ไม่ใช่ธุระหน้าที่ของตน
- คนพาลมักจะเห็นผิดเป็นชอบ
- คนพาลแม้เราหรือใคร ๆ พูดดี ๆ ก็โกรธ
- คนพาลไม่ยอมรับรู้ระเบียบวินัยหรือกฎหมาย
เป็นอันว่า เราได้ทั้งหลัก และแนวทางของการดูคน ว่าดีหรือชั่วแล้ว
ทีนี้ก็อยู่ที่ว่า เราจะเลือกคบกันคนดี หรือคนชั่ว
ถ้าเราเลือกคบคนดี และนึกรังเกียจคนชั่ว ก็แสดงว่าพื้นจิตของเรามีสัมมาทิฐิ
แต่ถ้าจิต ของเรา เกิดเห็นกงจักรเป็นดอกบัว คือเห็นผิดเป็นชอบ
รังเกียจคนดี แส่เที่ยวหาคบแต่คนชั่ว
ก็แสดงว่าพื้นจิตของเราเป็นมิจฉาทิฐิ นับว่าเป็นอันตรายมาก
ควรรีบแก้ไขเสียโดยด่วน ถ้าขืนปล่อยไปตามนั้น
อนาคต ที่มองเห็นก็คือ ไม่ตายตอนแก่แน่ ๆ
ขนาดเบาก็มีคุกเป็นบ้านถาวร
คนเราเป็นสัตว์สังคม จึงจำเป็นต้องคบหาเพื่อนฝูง
ไม่มีเพื่อนมากก็ต้องมี น้อย เพราะไม่มีใครจะอยู่คนเดียวในโลกได้
การคบเพื่อนที่ดี ย่อมจะนำแต่ความสุข และความเจริญมาให้
ในทางตรงข้าม ถ้าคบเพื่อนชั่วหรือพาล
ย่อมจะนำแต่ความทุกข์เดือดร้อน และความเสื่อมนานาประการมาให้
ดังนั้น ใครมีเพื่อนที่ดีอยู่แล้ว ก็ควรจะถนอมน้ำใจ
ด้วยการปฏิบัติตาม "สังคหวัตถุ ๔" อย่างสม่ำเสมอ
ก็ ย่อมจะผูกน้ำใจเพื่อนที่ดี ไว้ได้ตลอดกาล
ที่มา (คุณสติง อักษรศาสตร์ ธรรมะ)ามีน้ำเค็มเต็มทะเล