1 งูเห่า (Naja naja) เป็นงูพิษที่มีความสำคัญมากที่สุด เพราะนอกจากมันจะมีพิษร้ายแรงแล้ว ยังมี อยู่ชุกชุมพบได้ทุกภาคของไทย งูเห่าสามารถแผ่แม่เบี้ยได้ บางชนิดมีความสามารถพ่นน้ำพิษออกมาได้ไกลถึง 2 เมตร ซึ่งถ้าพิษเข้าตาคนจะทำให้อักเสบอย่างรุนแรงถึงตาบอดได้ สีของงูเห่าพบได้แตกต่างกันมาก ตั้งแต่ สีเหลือง สีนวล สีน้ำตาล จนกระทั่งสีดำ
2 งูจงอาง (Ophiophagus hannah) เป็นงูพิษที่ใหญ่ที่สุดในโลก เคยพบที่ยาวที่สุดถึง 6 เมตร ลักษณะคล้ายงูเห่า แต่ตัวโตกว่ามาก รูปร่างเพรียวยาวแผ่แม่เบี้ยได้เช่นกัน แต่แม่เบี้ยแคบกว่างูเห่าเมื่อเทียบกันตามสัดส่วน งู จงอางมีนิสัยดุ พบได้ในป่าทุกภาคแต่ชุกชุมทางใต้ ถือกันว่าเป็นงูพิษที่อันตรายที่สุดชนิดหนึ่ง
3 งูสามเหลี่ยม (Bungarus fasciatus) งูชนิดนี้แนวกระดูกสันหลังของมัน ยกตัวเป็นสันสูง ทำให้ลำตัวของมันดูเป็น รูปสามเหลี่ยมตลอดตัว สีตัวเป็นปล้องดำสลับเหลืองตลอดตัว ขนาดของปล้องสีดำและสีเหลือง ใกล้เคียงกัน ปลายหางทู่เหมือนกับว่าหางกุด ชอบอาศัยอยู่ในบริเวณที่มีความชื้นสูง เช่นตามที่ลุ่มใกล้ แหล่งน้ำ ในตอนกลางวันงูชนิดนี้จะค่อนข้างเฉื่อยชา แต่จะว่องไวปราดเปรียวในตอนกลางคืน เป็นงูที่พบ ชุกชุมได้ทุกภาคของประเทศไทย
4 งูแมวเซา (Vipera russelli siamensis) เป็นงูที่มีลำตัวอ้วนสั้น หัวค่อนข้างเป็นรูปสามเหลี่ยม บนหัวมีแต่เกล็ดเล็กๆ ปกคลุมอยู่ ไม่มีเกล็ดแผ่นใหญ่เลย สีตัวเป็นสีน้ำตาลอ่อน มีลายสีน้ำตาลเข้มๆเป็นดวงกลมๆตามตัว มีนิสัย ดุร้าย เวลาถูกรบกวน จะสามารถพ่นลมออกมาทางรูจมูก เกิดเป็นเสียงขู่ดังน่ากลัวได้ ฉกกัดศัตรูได้รวดเร็ว งูแมวเซามีชุกชุมทางภาคกลาง
5 งูกะปะ (Calloselasma rhodostoma) เป็นงูที่ขนาดตัวไม่โต หัวของมันเป็นรูปสามเหลี่ยมคอดเล็ก ลำตัวสีน้ำตาล แดง มีลายรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนสีน้ำตาลเข้ม ตามข้างลำตัว แนวกระดูกสันหลังนูนเป็นสัน ชอบขดตัว นอนนิ่งๆ อยู่ใต้กองใบไม้ร่วงๆ หรือในพงหญ้าที่รกๆ ตามกองหิน ขอนไม้ ไม่ชอบเคลื่อนไหว แต่สามารถ พุ่งฉกกัดศัตรูได้รวดเร็ว พบได้ทุกภาคของประเทศไทย แต่จะชุกชุมทางภาคใต้
6 งูเขียวหางไหม้ (Trimeresurus sp.) มีอยู่หลายชนิดด้วยกัน งูเขียวหางไหม้ส่วนใหญ่มักจะมีลำตัวสีเขียวและหางสีแดง แต่ก็ไม่เป็นอย่างนี้ทุกชนิด ในทำนองเดียวกัน งูอื่นๆอีกหลายชนิดที่มีตัวเขียวหางแดงเช่นเดียวกับงูเขียวหางไหม้ เช่น งูเขียวปากจิ้งจก งูเขียวกาบหมาก ดังนั้นสีสรรจึงไม่ใช่ตัวบ่งบอกที่ถูกต้องนัก การจะตัดสินว่างูตัวใดเป็นงูเขียวหางไหม้นั้น ต้องดูที่ส่วนหัว โดยปกติแล้วงูเขียวหางไหม้ จะมีหัวค่อนข้างโต คอเล็ก หัวค่อนข้างจะเป็นรูปสามเหลี่ยม บนหัวมีแต่เกล็ด แผ่นเล็กๆปกคลุมอยู่ ไม่มีเกล็ดแผ่นใหญ่เลย และถ้าสังเกตให้ละเอียดจะพบว่า ที่ระหว่างรูจมูกกับลูกตาของมัน จะมีร่องลึกๆขนาดใหญ่อยู่ข้างละ 1 ร่อง งูเขียวหางไหม้มักจะมีลำตัวอ้วน หางสั้น พบได้ทั้งตามพื้นดินที่มี สถานที่สำหรับหลบซ่อนตัว และตามต้นไม้ ออกหากินในเวลากลางคืน งูเขียวหางไหม้ที่มีชุกชุม ได้แก่
6.1 - งูเขียวหางไหม้ท้องเหลือง (Tri-meresurus albolabris) ตัวเป็นสีเขียวอ่อน ท้องสีเหลือง ริมฝีปากเหลือง หางแดง พบมากทางภาคกลาง
6.2 - งูเขียวหางไหม้ท้องเขียว (Tri-meresurus popeorum) ตัวเป็นสีเขียวเข้ม ตาโตสีเหลือง ท้องสีฟ้า หางสีแดงคล้ำ พบมากในทางภาคกลาง เช่นกัน
ง.งู
งูเห่า (Naja naja)
งูจงอาง (Ophiophagus hannah)
งูสามเหลี่ยม (Bungarus fasciatus)
งูแมวเซา (Vipera russelli siamensis)
งูกะปะ (Calloselasma rhodostoma)
งูเขียวหางไหม้ท้องเหลือง (Tri-meresurus albolabris)
งูเขียวหางไหม้ท้องเขียว (Tri-meresurus popeorum)
เครดิต :
ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!