
ตามความเชื่อโบราณเราแบ่งความเกรียนออกเป็น 4 ประเภท, ตามการเกิด
ประเภทแรก
สังเสทชเกรียน (สัง-เส-ทะ-ชะ-เกรียน)
คือเกรียนที่อุบัติขึ้นท่ามกลางสภาพแวดล้อมที่แออัดแ ละเจิ่งนองไปด้วยแหล่งน้ำเน่าเสีย เช่น แหล่งชุมชนแออัด เป็นต้น เกรียนเหล่านี้เรียกเป็นภาษาชาวบ้านว่า เกรียนสลัม
ประเภทที่สอง
อัณฑชะเกรียน (อัน-ทะ-ชะ-เกรียน)
คือเกรียนที่อุบัติขึ้นโดยจากความหมกมุ่นอยู่แต่เรื่ องของอัณฑะหรือเกี่ยวกับอัณฑะใน
ทุกๆ กรณี หรือในอีกนัยหนึ่งคือเกรียนที่นิยมเรื่องไต้สะดือเป็ นอาจินต์ ภาษาชาวบ้านเรียกว่า เกรียนสถุล
ประเภทที่สาม
ชลาพุชะเกรียน (ชะ-ลา-พุ-ชะ-เกรียน)
คือเกรียนที่อุบัติขึ้นในครรภ์ หรือเรียกอีกอย่างว่า เกรียนโดยกำเนิด
ประเภทสุดท้าย
โอปปาติเกรียน (โอ-ปะ-ปา-ติ-เกรียน)
คือเกรียนที่อุบัติขึ้นมาแล้วเป็นตัวเป็นตนในสภาพที่ โตเต็มวัยโดยไม่ต้องผ่านกระบวนการทางความคิดหรือวิวั ฒนาการในการไตร่ตรองใดๆ เกรียนเหล่านี้เราเรียกว่า เกรียนแตก
แลหากเกรียนตนใดที่อุบัติขึ้นแลมีครบทั้งสี่ประการอย ู่ในตนเดียว เกรียนนั้นจักถูกยกให้เป็น เกรียนเทพ หรือ IกรีeuInW อันเป็นคำเรียกที่ยกย่อง องค์กิเรียนนเทวบุตร (กิ-เรียน-นะ-เท-วะ-บุตร) เทพผู้ให้กำเนิดและคุ้มครองเหล่าเกรียน