พระอาทิตย์ชิงดวง - จรัญสนิทวงศ์ ๑
พระอาทิตย์ชิงดวง ( พ.ศ. ๒๕๔๕-๔๖ ) ๑ ค้างคาวกินกล้วย
๑ โหมโรงมหาฤกษ์ ๓ ชั้น
๑ เพลงหน้าพาทย์ เป็นเพลงอันดับที่ ๒ ของเพลงเรื่องทำขวัญ เป็นเพลงที่ใช้ในกิจพิธีและงานมงคลทั่วไป ในพิธีไหว้ครูใช้บรรเลงช่วงท้ายของพิธี นอกจากนี้ยังใช้ประกอบการแสดงละครทั่วไปในสถานการณ์ที่เกี่ยวกับฤกษ์งามยามดี เพลงมหาฤกษ์มี ๒ ทำนอง
ทำนองทางไทย เป็นเพลงทำนองเก่าอัตราสองชั้น สมัยอยุธยาประเภทหน้าทับปรบไก่มี ๒ ท่อน ใช้เป็นเพลงหน้าพาทย์ประกอบพิธีไหว้ครูและแสดงโขนละคร และประกอบพิธีดังกล่าวข้างต้น
ทำนองทางฝรั่ง สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ทรงพระนิพนธ์ดัดแปลงจากทำนองทางไทยของเดิมให้มีจังหวะรุกเร้าเกิดความสง่างาม เพลงที่ทรงพระนิพนธ์นี้พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำรัสให้ใช้เป็นเพลงเกียรติยศ ในวโรกาสเกี่ยวกับฤกษพิธี หรือช่วงเวลาที่เหมาะสมและสำคัญที่สุดของงาน เช่นเมื่อเมื่อประธานกล่าวเปิดงาน เปิดแพรคลุมป้ายชื่อโรงเรียน วิทยาลัย มหาวิทยาลัย สถานที่ประกอบการเริ่มเททองหล่อพระพุทธรูป เปิดอนสาวรย์บุคลสำคัญ(ยกเว้นอนุสาวรีย์ซึ่งเป็นพระบรมรูปพระมหากษัตริยาราช ต้องบรรเลงด้วยเพลงสรรเสริญพระบารมี) การตัดลูกโป่ง หรือการเจิมศิลาฤกษ์ ฯลฯ
๒ เพลงตับ เรียกตับมหาฤกษ์จัดเป็นเพลงบทมโหรี บทร้องตัดตอนมาจากบทละครเรื่องอิเหนา พระราชนิพนธ์ใรรัชการที่ ๒ ตอนอิเหนาได้ฤกษ์ยกพลจากเมืองหมันหยาไปช่วยท้าวดาหากับท้าวกระหมังกุหนิง เพลงตับมหาฤกษ์นี้คุณหญิงไพฑูรย์ กิตติวรรณ เคยขับร้องเป็นต้นเสียงมีนางสาวเฉิด อักษรทับและนางสาวสะอาด อ๊อกกังวาน(โปร่งน้ำใจ) เป็นลูกคู่ บันทึกเสียงของบรษัทพาโลโฟน เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๑ วงมโหรีวังบางขุนพรหมบรรเลง โดยมีจางวางทั่ว พาทยโกศล และนางเจริญ พาทยโกศล ควบคุมวงดนตรี เพลงตับมหาฤกษ์ ประกอบด้วยเพลงมหาฤกษ์ เพลงมหาชัย เพลงม้ารำ เพลงตุ้งติ้ง
๓ เพลงมโหมโรง นายมนตรี ตราโมท แต่งจากเพลงหน้าพาทย์ประกอบพิธีไหว้ครู และประกอบการแสดงโขนละตร โดยแต่งเป็นเพลงโหมโรง เรียกเพลงโหมโรงมหาฤกษ์ แต่งเสร็จเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๖
เป็นเพลงจากระบำโบราณคดีที่เกิดขึ้นประมาณกลางปี พ.ศ. ๒๕๐๙ .ตนกู อับดุลรามานห์ นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย ต้องการระบำ ศรีวิชัยไปประกอบการถ่ายทำภาพยนตร์ที่ท่านแต่งขึ้น เรื่อง Raja Bersiong จึงติดต่อขอให้ทางกรมศิลปากรจัดทำขึ้นมาจากภาพจำหลักที่พระสถูปบุโรพุทโธ ในประเทศอินโดนีเซีย เนื่องจากศิลปะแบบศรีวิชัยอยู่ร่วมสมัยกับราชวงศ์ไศเลนทร์ ดังนี้ ลีลา ท่ารำ ทำนองเพลงและเครื่องแต่งกายจึงมีลักษณะชวา สำหรับทำนองเพลงระบำศรีวิชัยแต่เดิมใช้เพลง ไกรลาสสำเริง ต่อมาจึงสร้างทำนองขึ้นใหม่
๓ แขกระบำ ?
๔ สุดสงวน เถา
๑ เพลงเคี่ยว นักดนตรีหลายท่านได้นำเพลงสุดสงวนสามชั้นทำนองเก่าไปแต่งทางเดี่ยวหลายทางด้วยกัน เช่น จางวางทั่ว พาทยโกศล แต่งสำหรับทางเดี่ยว จะเข้ นายสสอน วงฆ้อง แต่งสำหรับเดี่ยวฆ้องวงใหญ่ ฯลฯ
๒ เพลงเถา เป็นเพลงสำเนียงมอญ ประเภทหน้าทับปรบไก่ มีท่อนเดียว ๖ จังหวะ เพลงนี้ในอัตราสามชั้น เป็นทำนองเก่า ไม่ทราบนามผู้แต่ง ส่วนในอัตราสองชั้นและชั้นเดียวมีนักดนตรีนำไปแต่งตัดและใช้บรรเลงเป็นเพลงเถาหลายทาง ค์อ
๒.๑ ทางของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ทรงพระนิพนธ์ตัดเป็นอัตราสองชั้นและชั้นเดียว ตั้งพระทัยจะใช้บรรเลงด้วยวงเครื่องสายโดยเฉพาะ พร้อมกันนี้ได้นำออกบรรเลงเมื่อคราวเสด็จทรงเครื่องสายเป็นการส่วนพระองค์ ในหมู่พระประยูรญาติโดยทรงซอสามสาย เป็นครั้งแรก ณ วังกรมหมื่นทิวากรวงศ์ประวัติ
๒.๒ ทางหลวงประดิษฐไพเราะ(ศร ศิลปบรรเลง) ได้แต่งตัดในอัตราสองชั้นและชั้นเดียว ครบเป็นเถา ทั้งเที่ยวและทำนองเปลี่ยนเที่ยวกลับพร้อมทั้งแต่งทำนองทางร้องทั้งเถา บทร้องนำมาจากบทเสภาเรื่องขุนช้างขุนแผนเฉพาะทำนองทางเปลี่ยน ผู้แต่งได้แต่งไว้เป็นสำเนียงมอญ เพื่อเอื้อในการนำไปบรรเลงรับร้องในวงปี่พาทย์มอญ
๒.๓ ทางของนายมนตรี ตราโมท ได้แต่งตัดในอัตราชั้นเดียว ส่วนในอัตราสองชั้นผู้แต่งได้ต่อมาจากนายกล้อย ณ บางช้าง เมื่อรวมกับอัตราสามชั้นของเดิม จึงครบเป็นเถา
๒.๔ ทางของนายสำราญ ภมรสูต ได้นำทำนองเพลงนี้มาแต่งเที่ยวกลับเป็นทำนองทางเปลี่ยนตลอดทั้งเถา เพื่อให้เพลงมีความไพเราะน่าฟังยิ่งขึ้น เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๔
๕ พระอาทิตย์ชิงดวง
เพลงอัตราจังหวะสองชั้น พระประดิษฐ์ไพเราะ(มี ดุริยางกูร) แต่งสำหรับใช้เป็นเพลงลาโดยแต่งให้กับ วงปี่พาทย์ของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์(ช่วง บุนนาค) ซึ่งได้มอบหมายให้แต่งทำนองเพลงนี้ เป็นที่โปรดปรานมาก สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์จึงให้ชื่อเพลงว่า พระอาทิตย์ชิงดวง ตามสร้อยราชทินนามเป็นตราสุริยมณฑล ซึ่งเป็นตราประจำตำแหน่ง เพลงนี้มีความหมายในเชิงฝากรัก ฝากอาลัยลา
๖ สารถี ๓ ชั้น
เ พลงสารถี ๓ ชั้น มี ๓ ท่อน ในทางของเพลงเดี่ยวจะเริ่มแต่ละท่อนด้วยทางร้องแล้วตามด้วยทางเก็บ โครงสร้างของเพลงเดี่ยวที่มี ๓ ท่อนจึงประกอบด้วย เที่ยวร้องท่อนที่ ๑ เที่ยวเก็บท่อนที่ ๑ เที่ยวร้องท่อนที่ ๒ เที่ยวเก็บท่อนที่ ๒ เที่ยวร้องท่อนที่ ๓ เที่ยวเก็บท่อนที่ ๓ แต่ถ้าในการเดี่ยวเครื่องดนตรีมีขับร้องด้วย ก็จะเริ่มด้วยการขับร้องก่อนในแต่ละท่อน ทำให้โครงสร้างของเพลงเดี่ยวที่มี ๓ ท่อนและมีการขับร้องเดี่ยวจะประกอบด้วย เที่ยวขับร้องท่อนที่ ๑ ดนตรีเดี่ยวเที่ยวร้องท่อนที่ ๑ ดนตรีเดี่ยวเที่ยวเก็บท่อนที่ ๑ เที่ยวขับร้องท่อนที่ ๒ ดนตรีเดี่ยวเที่ยวร้องท่อนที่ ๒ ดนตรีเดี่ยวเที่ยวเก็บท่อนที่ ๒ เที่ยวขับร้องท่อนที่ ๓ ดนตรีเดี่ยวเที่ยวร้องท่อนที่ ๓ ดนตรีเดี่ยวเที่ยวเก็บท่อนที่ ๓
๗ นกขมิ้น ๓ ชั้น
๑.เพลงอัตราสองชั้น จัดเป็นเพลงเรื่อง ชื่อ เพลงเรื่องนกขมิ้น หรือเรื่องแม่ม่ายคร่ำครวญเป็นเพลงรวมอยู่ในเรื่องเพลงช้า ทำนองเก่าสมัยอยุธยาประกอบด้วยเพลงนกขมิ้นเพลงสุริทราหูและเพลงกระต่ายชมจันทร์ ทำนองเพลงมีสองตอนแบ่งออกเป็น นกขมิ้นตัวเมียซึ่งจัดเป็นเพลงหน้าพาทย์ประกอบการแสดง เรียกเป็นคำหน้าพาทย์แผลงว่า แม่ม่ายคร่ำครวญโดยเฉพาะประกอบการแสดงหนังใหญ่ตอนบทบาท นางสุวรรณกันยุมาก่อนเวลาจะขึ้นเฝ้าทศกัณฐ์และทศกัณฐ์ได้ยกให้เป็นชายาหนุมานที่ทำความดีความชอบ ในโอกาสที่นำกองทัพไปรบกับพระลักษณ์ ( กลลวง) เพลงนกขมิ้นยังมีทำนองหนึ่งซึ่งมีอัตราชั้นเดียวซึ่งเป็นชั้นเดียวของทำนองนกขมิ้นตัวผู้ เพลงอัตราจังหวะนี้แทรกอยู่ในเพลงเร็วของมอญ ซึ่งมีนักดนตรีไทยนำมาบรรเลงกันทั่วไป
๒.เพลงอัตราสองชั้น ครูเพ็ง ได้นำเพลงนกขมิ้นสองชั้นทำนองเก่าสมัยอยุธยานี้มาแต่งขยา ยเป็นอัตราสามชั้นสำหรับบรรเลงร้องส่งเป็นเพลงสามท่อน เฉพาะในท่อนที่ ๓ ครูเพ็งได้แต่ง ว่าดอก เพื่อเปิดโอกาสได้อวดความสามารถในการขับร้องและบรรเลงเดี่ยวของเครื่องดนตรี เพลงอัตราสามชั้นนี้ได้รวมเข้าชุดและเป็นเพลงสุดท้ายในฉบับตับต้นเพลงฉิ่ง
๓.เพลงเถา นายมนตรี ตราโมท ได้นำทำนองอัตราสามชั้นของครูเพ็งที่มีการว่า ว่าดอก มาแต่งตัดเป็นอัตราสองชั้นและชั้นเดี่ยว บรรเลงติดต่อกันเป็นเพลงเถาเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๖ โดยคงให้มีทำนองและการว่าดอกตามแบบของครูเพ็ง
๔.เพลงทางเดี่ยวมีดนตรีนำทำนองเพลงนกขมิ้นไปแต่งเป็นทางเดี่ยวเฉพาะเครื่องดนตรี เพื่ออวดความรู้ความสามารถของนักดนตรีหลายด้านด้วยกัน เช่น
ทางเดี่ยวของครูเพ็ง ประดิษฐ์ทำนองเดี่ยวสำหรับดนตรีประเภทต่างๆในวงดนตรี
ทางเดี่ยวของพระยาภูมีเสวิน โดยแต่งเป็นทางเดี่ยวสำหรับซอสามสาย
นายสอน วงฆ้อง แต่งเป็นทางเดี่ยวสำหรับเดี่ยวฆ้องวงใหญ่
๘ สุรินทราหู ๓ ชั้น
สุรินทราหูหูสองชั้น เป็นเพลงทำนองเก่า ประเภทหน้าทับปรบไก่ มี ๓ ท่อน ท่อน ๑ มี ๓ จังหวะ ท่อน ๒ และท่อน ๓ มีท่อนละ ๔ จังหวะ มีสำเนียงมอญนิยมร้องส่งมโหรีมาตั้งแต่สมัยอยุธยา เพลงนี้รวมอยู่ในเพลงเรื่องสุรินทราหู ประกอบด้วยเพลงสุรินทราหู จันทราหู ออกด้วยเพลงกระต่ายชมเดือน กระต่ายเต้น กระต่ายกินน้ำค้าง ลูกวอนแม่ และแม่วอนลูก จากนั้นจึงออกด้วยเพลงเร็วและลา ครูทัต นักดนตรีมีชื่อและอยู่ในวงดนตรีของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์(ช่วง บุนนาค) ได้นำทำนองมาแต่งขยายเป็นอัตราสามชั้น เพื่อมอบแด่สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ ในราว พ.ศ. ๒๔๗๖ หลวงประดิษฐไพเราะ(ศร ศิลปบรรเลง)ได้นำทำนองเพลงสุรินทราหูสามชั้นทางของครูทัตมาแต่งตัดเป็นอัตราสองชั้นและชั้นเดียว ครบเป็นเถา ใช้สำหรับบรรเลงรับร้อง ต่อมาราว พ.ศ. ๒๔๙๖ หลวงประดิษฐไพเราะ(ศร ศิลปบรรเลง)จังได้แต่งขยายเพลงสุรินทราหูจากสามชั้นเป็นสี่ชั้น โดยแต่งไว้เป็นทางโกลน มิได้ตกเต่งให้วิจิตรพิสดาร เป็นผลงานเพลงชิ้นสุดท้ายก่อนที่ท่านจะถึงแก่กรรมในวันที่ ๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๙๗
นอกจากเพลงสุรินทราหูเถา ทางหลวงประดิษฐไพเราะ(ศร ศิลปบรรเลง)แล้ว ยังมีผู้แต่งอีกหลายทางคือ นายมนตรี ตราโมท ได้แต่งบทร้องในอัตราสองชั้นและชั้นเดียว รวมกับอัตราสามชั้นของเดิม ครบเป็นเพลงเถาทางหนึ่ง ในพ.ศ. ๒๕๐๗ นายเฉลิม บัวทั่ง ได้นำทำนองมาแต่งเป็นทางมอญทั้งเถาทางหนึ่ง เรียกว่าเพลงสุรินทราหูทางมอญ นอกจากนี้ในอัตราสองชั้นและชั้นเดียว นายสมาน ทองสุโชติ ได้แต่งเป็นทางมอญขึ้นเป็นทางมอญขึ้นอีกทางหนึ่ง
สำหรับเพลงสุรินทราหูทางเดี่ยว มีนักดนตรีนำไปแต่งหลายทางด้วยกัน เช่น ทางของหลวงไพเราะเสียงซอ(อุ่น ดูรยชีวิน) ทางของนายเทวาประสิทธิ์ พาทยโกศล เป็นต้น